26 ธันวาคม 2552

การบ้านปฎิบัติการที่ 6

ข้อที่ 9

เมื่อไหร่จึงใช้ฟังก์ชันที่ไม่ผ่านค่า
- เมื่อต้องการเขียนโปรแกรมที่ต้องการแสดงเพียงสิ่งที่เขียนลงไปเท่านั้น เช่น ข้อความ หรือ ตัวอักษร ที่ไม่มีส่วนของการคำนวณเข้ามาเกี่ยวข้อง

เมื่อไหร่จึงจะใช้ฟังก์ชันที่มีการผ่านค่าตัวแปร
- เมื่อต้องการเขียนโปรแกรมที่มีส่วนของการคำนวณเข้ามาเกี่ยวข้อง


ข้อที่ 12





ผลลัพธ์ข้อที่ 12

29 พฤศจิกายน 2552

แหล่งศึกษาหาความรู้ที่ดี และน่าดู สำหรับผู้ที่อยากสร้าง Home Page

http://www.thaiall.com/learn/htmsld.htm
-แจก slide สอนเขียน html
-สอนการสร้างเว็บเพจอย่างง่าย โดยแบ่งออกเป็นบทๆ

http://realdev.truehits.net/html/charpter1.php
-แหล่งความรู้เพื่อการพัฒนาเว็บไทย
http://www.holy.ac.th/holy/html.htm
-ความรู้พื้นฐานทางภาษา html
http://coolarchive.com/
-อุปกรณ์เขียน Web site1นี่ก็อีกแห่งหนึ่ง ที่มีของฟรีมากมาย
http://www.clipart.com/en/
-อุปกรณ์เขียน Web site2แห่งนี้ก็ฟรีเช่นกัน เลือกดูเอาเองนะคะ
http://www.geocities.com/Tokyo/Towers/8973/learn/learn_javascript.html
-เป็นแหล่งเรียนรู้ SourceCode มากมาย
http://www.aspchapter.com/
-แหล่งความรู้ภาษา ASP
http://www.bcoms.net/
-แหล่งความรู้ภาษา php-html สำหรับ Webmaster เพื่อสร้างเว็บเพจที่ดี
http://www.chanmedia.com/index_main.php
-ศูนย์รวมความรู้เกี่ยวกับภาษาต่างๆ ในการจัดทำเว็บไซด์
http://www.anfyteam.com/
-มีภาพ Effce มากมาย
http://www.geocities.com/Pentagon/2932/jstuep10.html
-สอนการสร้างเว็บเพจ ด้วย ภาษา Java script และมีตัวอย่างด้วย
http://www.iconbazaar.com/
-มีเนื้อหาทุกอย่างที่เกี่ยวกับ web site
http://www.iconbazaar.com/color_tables/
-ตารางค่าสี
http://builder.customix.net/
-แหล่งข้อมูลสำหรับเว็บมาสเตอร์ชาวไทย
http://www.vcharkarn.com/links/approvedsites/index.php?submit=computer
-แหล่งความรู้ในทุกเรื่อง

ที่มา
http://www.ubonratchathani.go.th/link_HTML.html

ปฎิบัติการที่ 4 โปรแกรมภาษา PHP

ข้อที่6
จากประสบการณ์ที่เคยเรียนมาในรายวิชาการเขียนโปรแกรมอื่นๆ
คิดว่าตัวดำเนินการทั้งสองมักจะใช้สถานการณ์ของการกำหนดตัวแปรและการประกาศตัวแปรก่อน
แล้วนำตัวแปรที่กำหนดในการแสดงผลนั้นมาทำการคำนวณโดยสมการที่เราได้กำหนดขึ้นมา
ซึ่งเครื่องหมายที่ใช้ในการคำนวณนั้นเป็นตัวดำเนินการที่ PHP ได้เตรียมไว้ให้ใช้งานอยู่แล้ว


ข้อที่9



แสดงผลลัพธ์ข้อที่9
ข้อที่12


แสดงผลลัพธ์ข้อที่12



ข้อที่15




แสดงผลลัพธ์ข้อที่15







ปฎิบัติการที่ 3 โปรแกรมภาษา PHP

ข้อที่ 4


แสดงผลลัพธ์ข้อที่ 4


ข้อที่ 7




แสดงผลลัพธ์ข้อที่ 7






ข้อที่ 14






แสดงผลลัพธ์ข้อที่ 14




28 พฤศจิกายน 2552

gis เพื่ออุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล

ระบบภูมิสารสนเทศเพื่ออุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล วัตถุประสงค์หลักของการประยุกต์ใช้ระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) ในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล อาจจำแนกออกได้เป็น 3 ส่วนหลัก อันได้แก่
1. เพื่อการวิเคราะห์เพิ่มผลผลิต (Increse Production)
2. ลดค่าใช้จ่ายของวัตถุดิบ (Reduce Input Cost)
3. การบริหารจัดการแปลง ไร่ ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น (Manage Farmland Efficiently)
ข้อมูลอันเกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมน้ำตาลที่อยู่อย่างกระจัดกระจาย ในหลากหลายรูปแบบสามารถนำมารวมในระบบเดียวได้

ข้อมูลดังกล่าวอันได้แก่

• • ข้อมูลแปลงไร่อ้อยของเกษตรกรแต่ละราย ที่ถูกจัดเก็บด้วย GPS
• • ข้อมูลจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
• • ข้อมูลสภาวะอากาศ
• • ข้อมูลคุณภาพดิน
• • ข้อมูลภูมิประเทศบริเวณเพาะปลูก
• • ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน
• • ข้อมูลจำนวนประชากร
• • ภาพถ่ายทางอากาศ
• • ภาพถ่ายจากดาวเทียม


เมื่อข้อมูลจากหลากหลายแหล่งที่ครั้งหนึ่งอยู่อย่างแยกกัน สามารถนำเข้ามารวมกันในระบบเดียวกันได้ จะทำให้วัตถุประสงค์ 3 ประการข้างต้นสามารถบรรลุผลได้ ข้อมูลจะถูกนำมาวิเคราะห์ด้วย Software และบุคลากร ทำให้เกิดคำตอบใหม่ๆ ช่วยแก้ ปัญหาอันเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลได้

การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม Data Collection in the Field

เกษตรกรผู้เพาะปลูก และเจ้าของโรงงานน้ำตาล จะเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดกับการผลิต, เพาะปลูกได้ดีที่สุด อย่างไรก็ตามการขาดข้อมูลเชิงพื้นที่ของบริเวณไร่ จะทำให้การตัดสินใจใดๆ ทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร การเก็บข้อมูลภาคสนามจึงมีความจำเป็น ข้อมูลดังกล่าวอันได้แก่

• • ขนาดของพื้นที่
• • เจ้าของที่และเกษตรกร
• • จำนวนสินเชื่อ
• • ข้อมูลคุณภาพดินภาคสนาม
• • จำนวนผลผลิตที่ได้
• • ประวัติโรคทางพืช

เมื่อข้อมูลเชิงพื้นที่ได้ถูกจัดเก็บรวบรวมอย่างเป็นระบบและทำอย่างต่อเนื่อง การตัดสินใจใดๆจะมีข้อมูลรองรับอย่างสมบูรณ์ครบถ้วน ทำให้ตัดสินใจไม่ผิดพลาด
การวิเคราะห์ข้อมูลและทำความเข้าใจผลของการวิเคราะห์ (Data Analysis and Interpretation Using GIS)
ข้อมูลภาคสนามและข้อมูลจัดหาจากแหล่งอื่นนำมาซ้อนทับ (Overlay) เพื่อสร้างแผนที่ใหม่ที่บอกข่าวสารใหม่ให้แก่เราได้

• ตำแหน่งการเพาะปลูกของเกษตรกรและผลผลิตต่อไร่
• การให้สินเชื่อแก่เกษตรกร และการติดตามผลผลิต
• การวิเคราะห์ผลผลิตโดยใช้หลักทางสถิติ
• การวางแผนการขนส่งสินค้าเกษตร
• การวางแผนป้องกันวัชพืชและโรคพืช
• การวางแผนการผลิตและกำลังการผลิตของโรงงาน

GIS and CAMA

GIS ย่อมาจาก Geographical Information System หรือระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
สามารถนำมาใช้ประกอบการประเมินค่าทรัพย์สินแบบ CAMA หรือ Mass Appraisal ได้
ซึ่งถือเป็นการผสานเทคโนโลยีสำคัญที่จะทำให้การประเมินค่าทรัพย์สินได้รับการพัฒนาให้ก้าวกระโดดไปข้างหน้าอีกก้าวหนึ่ง โดยสามารถมองเห็นภาพประกอบด้วย กรณีที่นำ GIS มาใช้ประกอบในส่วนของการวิเคราะห์ ก็คือการสร้างเส้นแสดงความสูงต่ำของพื้นที่(contour line)ตามราคาที่ดินหรือราคาบ้านที่สูงต่ำแตกต่างกัน เส้นดังกล่าวนี้ช่วยให้เห็นทิศทางการเพิ่มลดของมูลค่าทรัพย์สินในแต่ละทำเล ทำให้เห็นภาพการเชื่อมต่อของราคาในแต่ละจุด ในทางตรงกันข้ามเส้นดังกล่าวนี้ยังช่วยในการพิจารณาว่ามูลค่าทรัพย์สินที่ประเมินได้สอดคล้องกับความเป็นจริงหรือไม่ เช่น ในพื้นที่ชุมชนแออัด ราคาบ้านน่าจะต่ำ แต่หากออกมาสูงก็อาจแสดงว่าข้อมูลหรือแบบจำลองควรได้รับการทบทวน GIS and CAMA ในกระบวนการพัฒนาเมือง การจัดการการใช้ที่ดินและการประเมินค่าทรัพย์สินในปัจจุบันอาศัยเทคโนโลยีระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographical Information System: GIS) มากยิ่งขึ้น เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงกับเครือข่ายแผนที่อย่างเป็นรูปธรรม และในปัจจุบันเทคโนโลยีนี้ยังเชื่อมโยงกับการประเมินค่าทรัพย์สินโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer-Assisted Mass Appraisal: CAMA) เพื่อให้การประเมินมีความเป็นวิทยาศาสตร์และเชื่อถือได้ยิ่งขึ้น ตามมาตรฐานการประเมินค่าทรัพย์สินของสหรัฐอเมริกา กำหนดว่า CAMA หรือ Computer Assisted Mass Appraisal

ประกอบด้วย

1. การกำหนดอสังหาริมทรัพย์ที่พึงประเมิน เช่น เป็นที่อยู่อาศัยหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นใด

2. การกำหนดขอบเขตพื้นที่ เช่น ในเขตเมืองหรือนครหนึ่ง ๆ

3. การกำหนดเงื่อนไขหรือตัวแปรที่น่าจะมีผลต่อมูลค่าตลาดของทรัพย์สิน

4. การพัฒนาโครงสร้างของแบบจำลองทางสถิติ ที่สะท้อนความสัมพันธ์เชิงตัวแปรต่อมูลค่าตลาดของทรัพย์สิน

5. การตรวจวัดความแม่นยำของตัวแปรที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงมูลค่าทรัพย์สิน

6. การนำแบบจำลองนี้ไปปรับใช้ในพื้นที่ เพื่อขยายผลให้สามารถประเมินค่าทรัพย์สินได้อย่างประหยัดและรวดเร็ว

7. การปรับปรุงแบบจำลองแบบต่อเนื่องเพื่อความเหมาะสมกับภาวะตลาดยิ่งขึ้นในอนาคต
ดังนั้นการทำ CAMA จะได้ผลดีหรือไม่จึงขึ้นอยู่กับการกำหนด และดำเนินการตามขั้นตอนข้างต้น โดยเฉพาะกรณีการจัดหาข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ หากข้อมูลไม่ดีพอ ผลที่ได้ก็อาจไม่น่าเชื่อถือ

digital image processing

image processing

คือ เป็นการประยุกต์ใช้งานการประมวลผลสัญญาณบนสัญญาณ 2 มิติ เช่น ภาพนิ่ง (ภาพถ่าย) หรือภาพวีดิทัศน์(วีดิโอ) และยังรวมถึงสัญญาณ 2 มิติอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาพ พูดง่ายๆคือ การเอาภาพมาคิดคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์รู้ว่าภาพนั้นคือภาพอะไร หรือมีสิ่งที่สนใจอยู่ในภาพหรือไม่ โดยที่ไม่ต้องใช้สายตาของคนมาช่วยตัดสินค่ะ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เทคโนโลยีดิจิตอลที่ทันสมัยขึ้น ทั้งยังสามารถจัดการหลายมิติกับระบบสัญญาณช่วงจากวงจรดิจิตอลง่ายๆกับคอมพิวเตอร์ขนานสูงเป้าหมายของการจัดการนี้สามารถแบ่งออกเป็นสามประเภท

* Image ประมวล ภาพ - ภาพ> out

* ภาพ การวิเคราะห์ ใน ภาพ - การ วัด> out

* ภาพการทำความเข้าใจ ในภาพ -> คำอธิบายระดับสูง > out


ทีมา
http://www.imageprocessingplace.com/


http://en.wikipedia.org/wiki/Digital_image_processing

03 พฤศจิกายน 2552

ความแตกต่างระหว่าง analog กะ digital

Analog -> Continuous
Digital -> Discrete

Analog แปลว่า มายังไงไปอย่างนั้น
Digital แปลว่า คัดเอาแต่ที่ดีๆ

Analog แปลว่า สัญญาณแบบต่อเนื่อง
Digital แปลว่า
สัญญาณเชิงเลขแบบไม่ต่อเนื่อง

104315 digital image processing

การเริ่มต้นเขียน blog อีกครั้ง

16 กันยายน 2552

ข้อดีข้อเสีย ระหว่าง Raster และ Vector

ลักษณะ ....................raster.......................... vector

ความแม่นยำ ........................x ........................................../
การเขียนแผนที่ทั่วไป ...............x ........................................../
ระดับข้อมูล .........................x ........................................../
การเชื่อมกันของข้อมูล ..............x ........................................../
การคำนวณ ........................./ ..........................................x
การอัพเดท ........................../ ..........................................x
ความต่อเนื่องของพื้นที่ ............./ ...........................................x
วิเคราะห์ระบบบูรนาการ .........../ ...........................................x
ความไม่ต่อเนื่อง ...................x .........................................../

ArcView GIS 3.3 และ Ms Access

มีความเหมือนกันตรงที่ ArcView GIS 3.3 และ Ms Access มีความสามารถในการเก็บรวบรวมข้อมูลให้อยู่ในรูปของตารางได้และสามารถเรียกใช้ข้อมูลที่เป็นภาษาสำหรับการใช้สอบถามข้อมูลได้เช่นเดียวกัน สามารถนำตารางของข้อมูลที่ไม่ได้เชื่อมโยงกันนำมาทำการเชื่อมโยงกันเพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้ในระบบของการจัดการฐานข้อมูล แต่ความแตกต่างของทั้งสองโปรแกรมนี้ คือ ArcView GIS 3.3 เป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการใช้งานทางด้านพื้นที่มากกว่าโปรแกรม Ms Access มีความสามารถในการสอบถามข้อมูลข้ามชั้นของข้อมูลได้ ดึงข้อมูลข้ามชั้นกันระหว่างชั้นข้อมูลได้ ข้อมูลที่ปรากฏใน ArcView GIS 3.3 มีความสามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งได้ และมีระบบระยะทางบอกระยะห่างหรือระบบพิกัดที่ใช้อ้างอิงตำแหน่งของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในข้อมูลนั้นๆได้ ซึ่งในส่วนนี้โปรแกรม Ms Access ไม่สามารถใช้งานได้ดีเท่ากับโปรแกรม ArcView GIS 3.3 และมีลักษณะการเรียกใช้แบบสอบถามที่แตกต่างกัน คือ มีการใช้ภาษาที่มีความแตกต่างกันและวิธีการใช้งานที่แตกต่างกันด้วย และในโปรแกรม ArcView GIS 3.3 มีการใช้งานและจัดเก็บชั้นของข้อมูลที่เป็นภาพแผนที่พร้อมทั้งสามารถระบุระบบพิกัดและขนาดพื้นที่ สามารถสอบถามถึงปฎิสัมพันธ์ของพื้นที่ได้ ว่ามีความเชื่อมโยงกัน ติดต่อหรือใกล้เคียงกันได้ ซึ่งในโปรแกรม Ms Access นั้นไม่สามารถทำเช่นนั้นได้

15 กันยายน 2552

แหล่งข้อมูลที่น่าสนใจ

OpensourceGIS
-OpensourceGIS
-FreeGIS
-Sketchup Google
-openjump
-SAGA-GIS
-QGIS
-uDig

*************************************************************************************

Spatial Analysis
-Spatial Analysis Online
-Spatial news
-The World a Jigsaw Tessellations in the Sciences

*************************************************************************************

Satellite
-สำนักเฝ้าระวังและเตือนสภาวะอากาศ
-ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรระยะไกล

*************************************************************************************

แผนที่ผ่าน Internet
-Thai GoogleEarth
-Maps Google
-DigitalThailand
-Maps Yahoo
-Maps Live
-Map.Com
-Free Street Maps Online
-National Geographic
-Thailand Maps
-ระบบรายงานสภาพจราจรแบบ Real-Time
-ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ

*************************************************************************************

Free Data
-Free Dem 90 m.
-ภาพถ่ายจากดาวเทียม Landsat Resolution 30 m. Free
-ภาพแผนที่ทางหลวง

*************************************************************************************
นานาสาระ Geo-Informatics
-Geospatial Magazine
-ArcGIS Help
-Geo-Informatics
-LIDAR (LIght Detection and Ranging)
-Remote Sensing
-GIS2ME
-thaigoogleearth
-ThaiGeomatics

*************************************************************************************

E-Books
-Geospatial Magazine
-Avian Influenza
-Climate change
-USGS

*************************************************************************************

Geography for Kids
-Kids Geo

เกี่ยวกับโปรแกรม opensource

OPENJUMP
- ใช้งานง่ายความสามารถในการทำงานกับข้อมูล GIS ในรูปแบบ GML. GMLหรือ "ภูมิศาสตร์ Markup Language" เป็น XML (ข้อความ-based) รูปแบบข้อมูล GIS. เป็นวิธีการอธิบายข้อมูลเชิงพื้นที่ในรูปแบบที่อ่านได้มนุษย์และเป็นที่ยอมรับ "มาตรฐานเปิด" สำหรับข้อมูล GIS. OpenJUMP ขณะนี้สามารถอ่านและเขียนข้อมูล GML และทีมงานหวังในการพัฒนาจำนวนของสาธารณูปโภคที่จะเพิ่มความสามารถ OpenJUMP ไปทำงานกับ GML. ความสามารถในการทำงานกับรูปแบบเปิดเช่น GML มีความสำคัญต่อ implementers บางเพราะให้ทางเลือกในรูปแบบที่ต้องการเป็นเจ้าของไฟล์ Autodesk DWG หรือ ESRI Shapefiles. OpenJUMP คงยังอ่านและเขียน ESRI Shapefiles และสนับสนุน ESRI รูปแบบตาราง Ascii กับปลั๊กอิน OpenJump จากทีม SIGLE. ขณะ OpenJUMP ถือหลักเวกเตอร์ตาม GIS ก็ยังสนับสนุน rasters เป็น TIF ไฟล์หรือด้านบนตาราง ESRI Ascii.

SAGA-GIS
-SAGA โปรแกรมด้านการประมวลผลด้าน GIS เป็นโปรแกรมที่มีการประมวลผล สำหรับงาน วิเคราะห์ภูมิประเทศ raster GIS ตลอดจน Geostatistic และ การแปลภาพดาวเทียม

QGIS
-QGIS สำหรับการดูข้อมูลภูมิสารสนเทศ ตลอดจนข้อมูลจาก WMS (ข้อมูลภาพดาวเทียมและแผนที่ จาก internet) นอกจากนี้ ยังสามารถ เปลี่ยน เส้นโครงแผนที่(Projection)ได้ทันที

uDig
-uDig สามารถใช้ เวกเตอร์สำหรับการทำงานที่ซับซ้อนและยัง embeds JGRASS และเครื่องมืออุทกวิทยาเฉพาะจากเครื่อง Horton. มันสนับสนุน shapefiles, PostGIS, WMS และหลายแหล่งข้อมูลอื่นๆ natively.

11 กันยายน 2552

ค้นคว้าเพิ่มเติม

ความหมายของ HTML

HTML คืออะไร

HTML (ชื่อเต็มคือ Hypertext Markup Language ภาษามาร์กอัปข้อความหลายมิติ) คือภาษามาร์กอัปออกแบบมาเพื่อใช้ในการสร้างเว็บเพจ หรือข้อมูลอื่นที่เรียกดูผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ เริ่มพัฒนาโดย ทิม เบอร์เนอรส์ ลี (Tim Berners Lee) สำหรับภาษา SGML ในปัจจุบัน HTML เป็นมาตรฐานหนึ่งของ ISO ซึ่งจัดการโดย World Wide Web Consortium (W3C) ในปัจจุบัน ทาง W3C ผลักดัน รูปแบบของ HTML แบบใหม่ ที่เรียกว่า XHTML ซึ่งเป็นลักษณะของโครงสร้าง XML แบบหนึ่งที่มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดโครงสร้างของโปรแกรมที่มีรูปแบบที่มาตรฐานกว่า มาทดแทนใช้ HTML รุ่น 4.01 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

10 กันยายน 2552

วิธีการสร้างฟอร์ม

การสร้างฟอร์มนั้นมี 3 วิธี

**ยึดตามตารางหรือแบบสอบถามเดียวโดยการใช้ฟอร์มอัตโนมัติ ฟอร์มอัตโนมัติจะสร้างฟอร์มซึ่งแสดงเขตข้อมูลและระเบียนทั้งหมดในตารางต้นแบบ หรือในแบบสอบถามต้นแบบ และถ้าแหล่งระเบียนที่คุณเลือกมีตารางหรือแบบสอบถามที่สัมพันธ์กัน ฟอร์มจะรวมเขตข้อมูลและระเบียนทั้งหมดจากแหล่งระเบียนเหล่านั้นด้วย

1. ในหน้าต่างฐานข้อมูล ให้คลิก ฟอร์ม ภายใต้ วัตถุ
2. คลิกปุ่ม สร้าง บนแถบเครื่องมือของหน้าต่างฐานข้อมูล
3. ในกล่องโต้ตอบ การสร้างฟอร์ม ให้คลิกเลือกตัวช่วยสร้างหนึ่งตัวดังต่อไปนี้
-ฟอร์มอัตโนมัติ: แบบเรียงเป็นแนวตรง แต่ละเขตข้อมูลจะแสดงอยู่บนบรรทัดแยกกันพร้อมกับมีป้ายชื่อทางด้านซ้าย
-ฟอร์มอัตโนมัติ: แบบตาราง เขตข้อมูลในแต่ละระเบียนจะแสดงอยู่บนบรรทัดเดียวกันพร้อมกับมีป้ายชื่อแสดงที่ด้านบนของฟอร์ม
-ฟอร์มอัตโนมัติ: แผ่นข้อมูล เขตข้อมูลในแต่ละระเบียนจะแสดงในรูปแบบของแถวและคอลัมน์ โดยจะแสดงหนึ่งระเบียนต่อหนึ่งแถว และหนึ่งเขตข้อมูลต่อหนึ่งคอลัมน์ โดยชื่อของเขตข้อมูลจะแสดงอยู่ด้านบนของแต่ละคอลัมน์
-ฟอร์มอัตโนมัติ: PivotTable ฟอร์มจะเปิดในมุมมอง PivotTable คุณสามารถเพิ่มเขตข้อมูลโดยการลากเขตข้อมูลจากรายการเขตข้อมูลไปยังพื้นที่อื่นในมุมมองนั้น
-ฟอร์มอัตโนมัติ: PivotChart ฟอร์มจะเปิดในมุมมอง PivotChart คุณสามารถเพิ่มเขตข้อมูลโดยการ


**ลากเขตข้อมูลจากรายการเขตข้อมูลไปยังพื้นที่อื่นในมุมมองนั้น
ยึดตามตารางหนึ่งตารางหรือแบบสอบถามหนึ่งแบบสอบถาม หรือมากกว่านั้นด้วยตัวช่วยสร้าง ตัวช่วยสร้างจะถามคุณเกี่ยวกับรายละเอียดของแหล่งระเบียน เขตข้อมูล เค้าโครง และรูปแบบที่คุณต้องการ และสร้างฟอร์มจากคำตอบของคุณ


1. ในหน้าต่างฐานข้อมูล ให้คลิก ฟอร์ม ภายใต้ วัตถุ
2. คลิกปุ่ม สร้าง บนแถบเครื่องมือของหน้าต่างฐานข้อมูล
3. ในกล่องโต้ตอบ การสร้างฟอร์ม ให้คลิกตัวช่วยสร้างที่คุณต้องการใช้ คำอธิบายของตัวช่วยสร้างจะปรากฏอยู่ทางด้านซ้ายของกล่องโต้ตอบ
4. คลิกชื่อของตารางหรือแหล่งระเบียนอื่นที่มีข้อมูลที่คุณต้องการให้ฟอร์มของคุณยึดตาม
หมายเหตุ คุณไม่จำเป็นต้องทำขั้นตอนเหล่านี้ถ้าคุณเลือกตัวช่วยสร้างฟอร์มหรือตัวช่วยสร้าง PivotTable ในขั้นตอนที่ 3 ซึ่งคุณสามารถระบุแหล่งระเบียนสำหรับฟอร์มได้ภายหลัง
5. คลิก ตกลง
6. ทำตามขั้นตอนในตัวช่วยสร้าง

**ถ้าผลลัพธ์ของฟอร์มไม่เป็นอย่างที่คุณต้องการ คุณสามารถเปลี่ยนลักษณะของฟอร์มได้ในมุมมองออกแบบ มุมมอง PivotTable หรือมุมมอง PivotChart

1. สร้างด้วยตนเองบนมุมมองออกแบบของคุณ คุณสร้างฟอร์มพื้นฐานแล้วกำหนดฟอร์มนั้นในมุมมองออกแบบในหน้าต่างฐานข้อมูล ให้คลิก ฟอร์ม ภายใต้ วัตถุ
2. คลิกปุ่ม สร้าง บนแถบเครื่องมือในหน้าต่างฐานข้อมูล
3. ในกล่องโต้ตอบ การสร้างฟอร์ม ให้คลิก มุมมองออกแบบ
4. คลิกชื่อของตาราง หรือแหล่งระเบียนอื่น ๆ ที่มีข้อมูลที่คุณต้องการใช้เป็นต้นแบบสำหรับฟอร์มของคุณ ถ้าฟอร์มจะไม่มีข้อมูล (ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องการจะสร้างฟอร์มเพื่อใช้เป็นสวิตช์บอร์ดเพื่อเปิดฟอร์ม หรือรายงานอื่น หรือคุณต้องการสร้างกล่องโต้ตอบกำหนดเอง) ไม่ต้องเลือกอะไรจากรายการนี้
5. คลิก ตกลง



แบบสอบถาม

แบบสอบถาม (Query)

คือ การกรองข้อมูลเฉพาะที่ต้องการ ให้แสดงผล จากข้อมูลที่มีจำนวนมาก การใช้ Query จะช่วยให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็ว ลักษณะของแบบสอบถาม : มีลักษณะคล้ายกับตัวกรอง (Filter) แต่จะมีประสิทธิภาพดีกว่า เนื่องจากสามารถดึงข้อมูลจากหลายตาราง
และยังขอดูข้อมูลจากเงื่อนไขเดิม กี่ครั้งก็ได้

ประเภทของแบบสอบถาม

แบบสอบถามแบบใช้เลือกข้อมูล ( Select Query )


- ใช้ในการเลือกข้อมูลจากตารางหนึ่งหรือมากกว่า ซึ่งตรงกับเงื่อนไขที่กำหนด นำมาไว้ในตาราง ของแบบสอบถามอีกชุดหนึ่ง
แบบสอบถามแบบแท็บไขว้ ( Cross Tab Query )


- ใช้เพื่อสอบถามความสัมพันธ์ระหว่าง 2 เขตข้อมูล หรือมากกว่า เหมาะสำหรับการแสดงข้อมูล
ในรูปแผนภูมิ
แบบสอบถามแบบใช้ตาราง ( Make-Table Query )


- เป็นแบบสอบถามที่ใช้ในการสร้างตารางใหม่ จากข้อมูลที่แบบสอบถามได้ทำการเลือกไว้
แบบสอบถามแบบใช้ปรับปรุงข้อมูล ( Update Query )


- ทำหน้าที่ปรับปรุงกลุ่มของระเบียน และเปลี่ยนให้มีค่าตามที่กำหนด
แบบสอบถามแบบใช้ผนวกข้อมูล ( Append Query )


- การนำข้อมูลที่แบบสอบถามเลือกไว้ เพื่อเพิ่มเป็นระเบียนต่อท้ายในตารางที่กำหนด
แบบสอบถามแบบใช้ลบข้อมูล ( Delete Query )


- ทำหน้าที่ลบระเบียนในตารางที่กำหนด ซึ่งตรงกับระเบียนที่แบบสอบถามเลือกเอาไว้
แบบสอบถามแบบพารามิเตอร์ ( Parameter Query )


- แบบสอบถามอันเดียว ใช้หลายๆครั้ง โดยเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ในแต่ละครั้ง
แบบสอบถามแบบ ระบุเป็นภาษาSQL. ( Structures Query Language)


- แบบสอบถามที่สร้างโดยข้อความ SQL. ซึ่งเป็นภาษามาตรฐาน ด้านฐานข้อมูลชนิดหนึ่ง

03 กันยายน 2552

ภาษา SQL

โครงสร้างของภาษาเอสคิวแอล

ภาษา SQL (สามารถอ่านออกเสียงได้ 2 แบบ คือ “เอสคิวแอล” (SQL) หรือ “ซีเควล” (Sequel)) ย่อมาจาก Structured Query Language หรือภาษาในการสอบถามข้อมูล เป็นภาษาทางด้านฐานข้อมูล ที่สามารถสร้างและปฎิบัติการกับฐานข้อมูลแบบสัมพันธ์(relational database)โดยเฉพาะ และ เป็นภาษาที่มีลักษณะคล้ายกับภาษาอังกฤษ ภาษา SQLถูกพัฒนาขึ้นจากแนวคิดของ relational calculus และ relational algebra เป็นหลัก ภาษา SQL เริ่มพัฒนาครั้งแรกโดย almaden research center ของบริษัท IBM โดยมีชื่อเริ่มแรกว่า “ซีเควล” (Sequel) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น“เอสคิวแอล” (SQL) หลังจากนั้นภาษา SQLได้ถูกนำมาพัฒนาโดยผู้ผลิตซอฟแวร์ด้านระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จนเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยผู้ผลิตแต่ละรายก็พยายามที่จะพัฒนาระบบจัดการฐานข้อมูลของตนให้มีลักษณะเด่นเฉพาะขึ้นมา ทำให้รูปแบบการใช้คำสั่ง SQL มีรูปแบบที่แตกต่างกันไปบ้าง เช่น ORACLE ACCESS SQL Base ของ Sybase INGRES หรือ SQL Server ของ Microsoft เป็นต้น ดังนั้นในปี ค.ศ. 1986 ทางด้าน American National Standards Institute (ANSI) จึงได้กำหนดมาตรฐานของ SQL ขึ้น อย่างไรก็ดี โปรแกรมฐานข้อมูลที่ขายในท้องตลาด ได้ขยาย SQL ออกไปจนเกินข้อกำหนดของ ANSI โดยเพิ่มคุณสมบัติอื่นๆ ที่คิดว่าเป็นประโยชน์เข้าไปอีกแต่โดยหลักทั่วไปแล้วก็ยังปฏิบัติตามมาตราฐานของ ANSI ในการอธิบายคำสั่งต่างๆของภาษา SQL

ทดลองสร้างฐานข้อมูลด้วย MS Access

ทดลองการสร้างตารางด้วยข้อมูลจริง





10 กรกฎาคม 2552

DML

คือ ภาษาจัดการข้อมูล ซึ่ง DMLย่อมาจาก Data Manipulation Language
เป็นภาษาใช้สำหรับจัดการข้อมูลภายในฐานข้อมูล ได้แก่การเรียกค้น เพิ่ม ลบ และปรับปรุงฐานข้อมูล ภาษาจัดการข้อมูล (DML) มี ประเภทหลักๆ คือเป็นภาษาที่ผู้ใช้กำหนดโครงสร้างหรือแบบแผนในการเก็บข้อมูล เช่น กำหนดหัวข้อและลักษณะของคอลัมน์ของตารางต่าง ๆ ที่จะใช้บันทึกข้อมูล ภาษากำหนดข้อมูล จะทำให้เกิดตารางที่จะจัดเก็บข้อมูลที่สำคัญต่อการทำงานของ DBMS ขึ้นมาชุดหนึ่ง ตารางนี้มีชื่อว่า พจนานุกรมข้อมูล (data dictionary) ซึ่งระบบจัดการฐานข้อมูลจะอาศัยโครงสร้างจากแฟ้มข้อมูลนี้เสมอ เช่น ดัชนี (index) ต่าง ๆ เป็นต้น การเรียกดูข้อมูลออกจากฐานข้อมูลจะต้องผ่านคำสั่งหรือข้อความของภาษาจัดการข้อมูลหาข้อความ ซึ่งกลุ่มของข้อความเหล่านั้นมีลักษณะเป็นการถามระบบข้อมูลเพื่อให้ระบบจัดการฐานข้อมูลหาคำตอบจากข้อมูลที่เก็บไว้และตอบกลับมา กลุ่มของข้อความเหล่านั้นเรียกว่า ภาษาคำถาม (query language) แต่โดยทั่วไปแล้วคำว่า DML และ ภาษาคำถาม จะใช้แทนกันเสมอ เช่น

SELECT EMPLOYEE-NAME

FROM EMPLOYEE-FILE

WHERE SEX = “FEMALE” AND SALARY GREATER THAN 5000

เป็นการไปเรียกดูข้อมูลชื่อของลูกจ้างที่เป็นผู้หญิงและมีเงินเดือนมากกว่า 5,000 จากฐานข้อมูลชื่อ EMPLOYEE-FILE

-------------------------------------------------------------------------------------------------

ข้อดีข้อเสียของโครงสร้างฐานข้อมูลประเภทต่างๆ


DATA MODEL แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ

ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย

-ข้อดี

- ข้อเสีย

ฐานข้อมูลแบบเชิงลำดับขั้น

-ข้อดี


-ข้อเสีย

ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์

-ข้อดี

-ข้อเสีย

ฐานข้อมูลเชิงวัตถุ

-ข้อดี

-ข้อเสีย

ฐานข้อมูลเชิงวัตถุ - สัมพันธ์

-ข้อดี

-ข้อเสีย

ศึกษาในเชิงลึกเรื่องของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์

ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ฐานข้อมูลแบบนี้แสดง การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบของตาราง ที่มีลักษณะเป็นสองมิติ คือ แถว (Row) และคอลัมน์ (Column) ซึ่งในการเชื่อมโยงกันระหว่างข้อมูลในตาราง 2 ตาราง หรือมากกว่า จะเชื่อมโยงโดยใช้แอททริบิวต์ที่มีอยู่ในตารางที่ต้องการเชื่อมโยงข้อมูลกัน โดยที่แอททริบิวต์จะแสดงคุณสมบัติของรีเลชั่นต่าง ๆ ซึ่งรีเลชั่นต่าง ๆ ได้ผ่านกระบวนการทำรีเลชั่นให้เป็นบรรทัดฐาน (Normalized) ในระหว่าง การออกแบบเพื่อละความซ้ำซ้อน เพื่อให้การจัดการฐานข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่าง เป็นตารางรายชื่อนักศึกษาและตารางโปรแกรมวิชา ถ้าต้องการทราบว่านักศึกษารหัส 441031138 เป็นนักศึกษาของโปรแกรมวิชาใด ก็ต้องนำรหัสโปรแกรมวิชาในตารางนักศึกษาไปตรวจสอบกับตารางโปรแกรมวิชา ซึ่งมีรหัสของโปรแกรมวิชาซึ่งเรียกว่าเป็นดรรชนี และดึงข้อมูลออกมา

16 มิถุนายน 2552

DaTa MoDel

แบบจำลองข้อมูล (Data Model)
ข้อมูลในฐานข้อมูลส่วนใหญ่มักจะมีรายละเอียดของข้อมูลมากมายมหาศาล ซึ่งการจัดเก็บและเลือกใช้ให้มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องอาศัยเทคนิคต่างๆ เข้ามาช่วย และรายละเอียดบางอย่างที่ยุ่งยากซับซ้อนมากก็ควรจะถูกซ่อนไว้จากผู้ใช้ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน รูปแบบที่จัดเก็บรายละเอียดของข้อมูลนี้ แบ่งได้เป็น ๓ ระดับด้วยกัน ได้แก่

1.แบบจำลองข้อมูลระดับโครงสร้าง หรือระดับล่าง
แบบจำลองข้อมูลระดับโครงสร้าง หรือระดับล่าง (Physical Data Model หรือ Low-Level Data Model) วิธีการที่ใช้ในการอธิบายรายละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์ซึ่งก็คือ โครงสร้างของข้อมูลทั้งหมดในฐานข้อมูลนั่นเอง

2.แบบจำลองข้อมูลระดับสูง (Conceptual Data Mode)
แบบจำลองข้อมูลระดับสูง (Conceptual Data Mode) วิธีการในการจัดเก็บข้อมูลสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป

3.แบบจำลองข้อมูลระดับพัฒนา (Implementation Data Model)
แบบจำลองข้อมูลระดับพัฒนา (Implementation Data Model) วิธีการในการจัดเก็บข้อมูลซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าใจได้ และสามารถเห็นรายละเอียดของการจัดเก็บข้อมูลบางส่วนได้ด้วย

12 มิถุนายน 2552

สรุปความหมายของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์


ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์(Geographic Information System : GIS)

ซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟฟิกที่มีความสามารถ ในการเก็บ ข้อมูลด้านแผนที่หรือข้อมูลในลักษณะที่เป็นภาพต่างๆ เช่น ภาพดาวเทียม (Satellite images) ภาพถ่ายทางอากาศ (Arial photographs) เป็นต้น ซึ่งซอฟต์แวร์ดังกล่าว นี้สามารถนำ เข้าข้อมูลแผนที่หรือข้อมูลภาพต่างๆของพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งซึ่งข้อมูลแต่ละด้านจะ ถูกจัดเก็บไว้ใน โปรแกรมในลักษณะของข้อมูลเฉพาะเรื่อง (Layer) หรือการซ้อนทับข้อมูล (Overlays) หรือชั้นข้อมูล (Coverages) แล้วสามารถนำเอาข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ประมวลผลร่วมกัน เพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับข้อมูลในพื้นที่ กลุ่มของระบบสารสนเทศกลุ่มหนึ่ง ที่มีความแตกต่างจากระบบสารสนเทศอื่นๆ โดยที่องค์ประกอบที่เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ชี้ให้เห็นความแตกต่างดังกล่าวคือข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กับการอ้างอิงตำแหน่งบนโลกที่เรียกว่า ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data) ฉะนั้นระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จะเกี่ยวโยงกับการพัฒนาความรู้ในแขนงสาขาต่างๆที่เกี่ยวกับข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งสิ้น ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือระบบ GIS เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data) โดยข้อมูลลักษณะต่างๆในพื้นที่ที่ทำการศึกษา จะถูกนำมาจัดให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันและกัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับชนิดและรายละเอียดของข้อมูลนั้นๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดตามต้องการ

คำสำคัญ...[Keyword]

Spatial Distribution
        การแจกกระจายเชิงพื้นที่ เช่นการอพยพของผู้คนที่จะแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ คือ พื้นที่ใดมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การประกอบอาชีพพื้นที่นั้นก็จะมีการอพยพเข้าไปอยู่อาศัยของประชากรที่มากกว่าพื้นที่อื่นทำให้เกิดการแจกกระจายของประชากรที่แตกต่างกัน
Spatial Differentiation
        ความแตกต่างเชิงพื้นที่ อย่างเช่น พื้นที่หนึ่งที่มีลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกันและที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ หรือความแตกต่างกันนั้นอาจจะเป็นในเรื่องของความอุดมสมบูรณ์ก็ได้ หรือจะเป็นความแตกต่างกันทางด้านภูมิอากาศของแต่ละพื้นที่
Spatial Diffusion
        การแพร่กระจายเริ่มต้นยังงัยแล้วไปที่ไหนหรือทราบแหล่งที่มาและแหล่งที่รับได้อย่างชัดเจน อย่างเช่น การแพร่กระจายของเชื้อโรคต่างๆที่แพร่กระจายจากอีกทวีปหนึ่งไปยังอีกทวีปหนึ่ง หรืออย่างเช่นการปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมไหลไปสู่แม่น้ำลำคลอง
Spatial Interaction
        ปฎิสัมพันธ์กันเชิงพื้นที่ เช่น ความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน เช่น พื้นที่นี้สามารถเพาะปลูกดอกลิลี่ได้ดีเพราะพื้นที่นี้มีอากาศที่หนาวเย็น  และพื้นที่นี้สามารถปลูกข้าวได้ดีเพราะพื้นที่นั้นเป็นดินเหนียว
Spatial Temporal
            การเปลี่ยนแปลงของเวลาในเชิงพื้นที่ เช่นการเปลี่ยนแปลงของเวลาในพื้นที่หนึ่งทำให้เกิดเรื่องราวต่างๆหรือประวัติศาสตร์กลายเป็นการเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลาของสถานที่ต่างๆนั่นเอง

06 มิถุนายน 2552

ข้อแตกต่างระหว่าง Data กับ Information

Data

ข้อมูลเป็น ข้อมูลดิบ คือข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ก็ได้. ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความถูกต้องแม่นยำ และเป็นปัจจุบัน เช่น ปริมาณ ระยะทาง ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ คะแนนของนักเรียน รายงาน บันทึก ฯลฯ ยังไม่มีกระบวนการของการตีความหมายเข้ามา เป็นข้อมูลที่ยังไม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับที่จะนำไปใช้ประโยชน์ ไม่มีโครงสร้างเป็นข้อมูลที่เหมาะสำหรับคอมพิวเตอร์เพื่อที่จะทำการตีความต่อไป

Information

จากการวิเคราะห์ สารสนเทศหรือ Information ในที่นี้เป็นข้อมูลที่มีการตีความหมายหรือวิเคราะห์ความหมายแล้ว ผ่านการคิดและเข้าใจ
สามารถที่จะนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในทางด้านต่างๆได้แล้ว สรุปก็คือเป็นข้อมูลที่ผ่านกระบวนการมาแล้วนั่นเอง

03 มิถุนายน 2552

งานค้นคว้า....เพื่อหาความหมาย




ข้อมูล (DATA)

ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ต้องป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์ พร้อมกับโปรแกรมที่นักคอมพิวเตอร์เขียนขึ้นเพื่อผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ มี 5 ประเภท คือ ข้อมูลตัวเลข ข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลเสียง ข้อมูลภาพ และข้อมูลภาพเคลื่อนไหว

ฐานข้อมูล
คือ ชุดของสารสนเทศที่มีโครงสร้างสม่ำเสมอ ชุดของสารสนเทศใด ๆ ก็อาจเรียกว่าเป็นฐานข้อมูลได้ ถึงกระนั้น คำว่าฐานข้อมูลนี้มักใช้อ้างถึงข้อมูลที่ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ และถูกใช้ส่วนใหญ่เฉพาะในวิชาการคอมพิวเตอร์ บางครั้งคำนี้ก็ถูกใช้เพื่ออ้างถึงข้อมูลที่ยังมิได้ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์เช่นกัน ในแง่ของการวางแผนให้ข้อมูลดังกล่าวสามารถประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ได้

ระบบจัดการฐานข้อมูล

ซอฟต์แวร์สำหรับจัดการฐานข้อมูลนั้น โดยทั่วไปเรียกว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล หรือ ดีบีเอ็มเอส สถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ของดีบีเอ็มเอสอาจมีได้หลายแบบ เช่น สำหรับฐานข้อมูลขนาดเล็กที่มีผู้ใช้คนเดียว บ่อยครั้งที่หน้าที่ทั้งหมดจะจัดการด้วยโปรแกรมเพียงโปรแกรมเดียว ส่วนฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีผู้ใช้จำนวนมากนั้น ปกติจะประกอบด้วยโปรแกรมหลายโปรแกรมด้วยกัน และโดยทั่วไปส่วนใหญ่จะใช้สถาปัตยกรรมแบบรับ-ให้บริการ โปรแกรมส่วนหน้า ของดีบีเอ็มเอส (ได้แก่ โปรแกรมรับบริการ) จะเกี่ยวข้องเฉพาะการนำเข้าข้อมูล, การตรวจสอบ, และการรายงานผลเป็นสำคัญ ในขณะที่โปรแกรมส่วนหลัง ซึ่งได้แก่ โปรแกรมให้บริการ จะเป็นชุดของโปรแกรมที่ดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุม, การเก็บข้อมูล, และการตอบสนองการร้องขอจากโปรแกรมส่วนหน้า โดยปกติแล้วการค้นหา และการเรียงลำดับ จะดำเนินการโดยโปรแกรมให้บริการ รูปแบบของระบบฐานข้อมูล มีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน นับตั้งแต่การใช้ตารางอย่างง่าย ที่เก็บในแฟ้มข้อมูลแฟ้มเดียว ไปจนกระทั่งฐานข้อมูลขนาดใหญ่มาก ที่มีระเบียนหลายล้านระเบียน ซึ่งเก็บในห้องที่เต็มไปด้วยดิสก์ไดรฟ์ หรืออุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์รอบข้าง อื่น ๆ

สารสนเทศ (information)
เป็นผลลัพธ์ของกระบวนการและการจัดการข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมาย
ปัจจุบันผู้คนพูดเกี่ยวกับยุคสารสนเทศว่าเป็นยุคที่นำไปสู่ยุคแห่งองค์ความรู้หรือปัญญา นำไปสู่สังคมอุดมปัญญา หรือสังคมแห่งสารสนเทศ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่าเมื่อพูดถึงสารสนเทศ เป็นคำที่เกี่ยวข้องในศาสตร์สองสาขา คือ
วิทยาการสารสนเทศ และ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งคำว่า "สารสนเทศ" ก็ถูกใช้บ่อยในความหมายที่หลากหลายและกว้างขวางออกไป และมีการนำไปใช้ในส่วนของ เทคโนโลยีสารสนเทศ และ การประมวลผลสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ( Geographic Information System )
GIS"ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้าย ถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมาย