16 มิถุนายน 2552

DaTa MoDel

แบบจำลองข้อมูล (Data Model)
ข้อมูลในฐานข้อมูลส่วนใหญ่มักจะมีรายละเอียดของข้อมูลมากมายมหาศาล ซึ่งการจัดเก็บและเลือกใช้ให้มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องอาศัยเทคนิคต่างๆ เข้ามาช่วย และรายละเอียดบางอย่างที่ยุ่งยากซับซ้อนมากก็ควรจะถูกซ่อนไว้จากผู้ใช้ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน รูปแบบที่จัดเก็บรายละเอียดของข้อมูลนี้ แบ่งได้เป็น ๓ ระดับด้วยกัน ได้แก่

1.แบบจำลองข้อมูลระดับโครงสร้าง หรือระดับล่าง
แบบจำลองข้อมูลระดับโครงสร้าง หรือระดับล่าง (Physical Data Model หรือ Low-Level Data Model) วิธีการที่ใช้ในการอธิบายรายละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์ซึ่งก็คือ โครงสร้างของข้อมูลทั้งหมดในฐานข้อมูลนั่นเอง

2.แบบจำลองข้อมูลระดับสูง (Conceptual Data Mode)
แบบจำลองข้อมูลระดับสูง (Conceptual Data Mode) วิธีการในการจัดเก็บข้อมูลสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป

3.แบบจำลองข้อมูลระดับพัฒนา (Implementation Data Model)
แบบจำลองข้อมูลระดับพัฒนา (Implementation Data Model) วิธีการในการจัดเก็บข้อมูลซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าใจได้ และสามารถเห็นรายละเอียดของการจัดเก็บข้อมูลบางส่วนได้ด้วย

12 มิถุนายน 2552

สรุปความหมายของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์


ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์(Geographic Information System : GIS)

ซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟฟิกที่มีความสามารถ ในการเก็บ ข้อมูลด้านแผนที่หรือข้อมูลในลักษณะที่เป็นภาพต่างๆ เช่น ภาพดาวเทียม (Satellite images) ภาพถ่ายทางอากาศ (Arial photographs) เป็นต้น ซึ่งซอฟต์แวร์ดังกล่าว นี้สามารถนำ เข้าข้อมูลแผนที่หรือข้อมูลภาพต่างๆของพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งซึ่งข้อมูลแต่ละด้านจะ ถูกจัดเก็บไว้ใน โปรแกรมในลักษณะของข้อมูลเฉพาะเรื่อง (Layer) หรือการซ้อนทับข้อมูล (Overlays) หรือชั้นข้อมูล (Coverages) แล้วสามารถนำเอาข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ประมวลผลร่วมกัน เพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับข้อมูลในพื้นที่ กลุ่มของระบบสารสนเทศกลุ่มหนึ่ง ที่มีความแตกต่างจากระบบสารสนเทศอื่นๆ โดยที่องค์ประกอบที่เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ชี้ให้เห็นความแตกต่างดังกล่าวคือข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กับการอ้างอิงตำแหน่งบนโลกที่เรียกว่า ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data) ฉะนั้นระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จะเกี่ยวโยงกับการพัฒนาความรู้ในแขนงสาขาต่างๆที่เกี่ยวกับข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งสิ้น ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือระบบ GIS เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data) โดยข้อมูลลักษณะต่างๆในพื้นที่ที่ทำการศึกษา จะถูกนำมาจัดให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันและกัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับชนิดและรายละเอียดของข้อมูลนั้นๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดตามต้องการ

คำสำคัญ...[Keyword]

Spatial Distribution
        การแจกกระจายเชิงพื้นที่ เช่นการอพยพของผู้คนที่จะแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ คือ พื้นที่ใดมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การประกอบอาชีพพื้นที่นั้นก็จะมีการอพยพเข้าไปอยู่อาศัยของประชากรที่มากกว่าพื้นที่อื่นทำให้เกิดการแจกกระจายของประชากรที่แตกต่างกัน
Spatial Differentiation
        ความแตกต่างเชิงพื้นที่ อย่างเช่น พื้นที่หนึ่งที่มีลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกันและที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ หรือความแตกต่างกันนั้นอาจจะเป็นในเรื่องของความอุดมสมบูรณ์ก็ได้ หรือจะเป็นความแตกต่างกันทางด้านภูมิอากาศของแต่ละพื้นที่
Spatial Diffusion
        การแพร่กระจายเริ่มต้นยังงัยแล้วไปที่ไหนหรือทราบแหล่งที่มาและแหล่งที่รับได้อย่างชัดเจน อย่างเช่น การแพร่กระจายของเชื้อโรคต่างๆที่แพร่กระจายจากอีกทวีปหนึ่งไปยังอีกทวีปหนึ่ง หรืออย่างเช่นการปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมไหลไปสู่แม่น้ำลำคลอง
Spatial Interaction
        ปฎิสัมพันธ์กันเชิงพื้นที่ เช่น ความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน เช่น พื้นที่นี้สามารถเพาะปลูกดอกลิลี่ได้ดีเพราะพื้นที่นี้มีอากาศที่หนาวเย็น  และพื้นที่นี้สามารถปลูกข้าวได้ดีเพราะพื้นที่นั้นเป็นดินเหนียว
Spatial Temporal
            การเปลี่ยนแปลงของเวลาในเชิงพื้นที่ เช่นการเปลี่ยนแปลงของเวลาในพื้นที่หนึ่งทำให้เกิดเรื่องราวต่างๆหรือประวัติศาสตร์กลายเป็นการเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลาของสถานที่ต่างๆนั่นเอง

06 มิถุนายน 2552

ข้อแตกต่างระหว่าง Data กับ Information

Data

ข้อมูลเป็น ข้อมูลดิบ คือข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ก็ได้. ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความถูกต้องแม่นยำ และเป็นปัจจุบัน เช่น ปริมาณ ระยะทาง ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ คะแนนของนักเรียน รายงาน บันทึก ฯลฯ ยังไม่มีกระบวนการของการตีความหมายเข้ามา เป็นข้อมูลที่ยังไม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับที่จะนำไปใช้ประโยชน์ ไม่มีโครงสร้างเป็นข้อมูลที่เหมาะสำหรับคอมพิวเตอร์เพื่อที่จะทำการตีความต่อไป

Information

จากการวิเคราะห์ สารสนเทศหรือ Information ในที่นี้เป็นข้อมูลที่มีการตีความหมายหรือวิเคราะห์ความหมายแล้ว ผ่านการคิดและเข้าใจ
สามารถที่จะนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในทางด้านต่างๆได้แล้ว สรุปก็คือเป็นข้อมูลที่ผ่านกระบวนการมาแล้วนั่นเอง

03 มิถุนายน 2552

งานค้นคว้า....เพื่อหาความหมาย




ข้อมูล (DATA)

ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ต้องป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์ พร้อมกับโปรแกรมที่นักคอมพิวเตอร์เขียนขึ้นเพื่อผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ มี 5 ประเภท คือ ข้อมูลตัวเลข ข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลเสียง ข้อมูลภาพ และข้อมูลภาพเคลื่อนไหว

ฐานข้อมูล
คือ ชุดของสารสนเทศที่มีโครงสร้างสม่ำเสมอ ชุดของสารสนเทศใด ๆ ก็อาจเรียกว่าเป็นฐานข้อมูลได้ ถึงกระนั้น คำว่าฐานข้อมูลนี้มักใช้อ้างถึงข้อมูลที่ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ และถูกใช้ส่วนใหญ่เฉพาะในวิชาการคอมพิวเตอร์ บางครั้งคำนี้ก็ถูกใช้เพื่ออ้างถึงข้อมูลที่ยังมิได้ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์เช่นกัน ในแง่ของการวางแผนให้ข้อมูลดังกล่าวสามารถประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ได้

ระบบจัดการฐานข้อมูล

ซอฟต์แวร์สำหรับจัดการฐานข้อมูลนั้น โดยทั่วไปเรียกว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล หรือ ดีบีเอ็มเอส สถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ของดีบีเอ็มเอสอาจมีได้หลายแบบ เช่น สำหรับฐานข้อมูลขนาดเล็กที่มีผู้ใช้คนเดียว บ่อยครั้งที่หน้าที่ทั้งหมดจะจัดการด้วยโปรแกรมเพียงโปรแกรมเดียว ส่วนฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีผู้ใช้จำนวนมากนั้น ปกติจะประกอบด้วยโปรแกรมหลายโปรแกรมด้วยกัน และโดยทั่วไปส่วนใหญ่จะใช้สถาปัตยกรรมแบบรับ-ให้บริการ โปรแกรมส่วนหน้า ของดีบีเอ็มเอส (ได้แก่ โปรแกรมรับบริการ) จะเกี่ยวข้องเฉพาะการนำเข้าข้อมูล, การตรวจสอบ, และการรายงานผลเป็นสำคัญ ในขณะที่โปรแกรมส่วนหลัง ซึ่งได้แก่ โปรแกรมให้บริการ จะเป็นชุดของโปรแกรมที่ดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุม, การเก็บข้อมูล, และการตอบสนองการร้องขอจากโปรแกรมส่วนหน้า โดยปกติแล้วการค้นหา และการเรียงลำดับ จะดำเนินการโดยโปรแกรมให้บริการ รูปแบบของระบบฐานข้อมูล มีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน นับตั้งแต่การใช้ตารางอย่างง่าย ที่เก็บในแฟ้มข้อมูลแฟ้มเดียว ไปจนกระทั่งฐานข้อมูลขนาดใหญ่มาก ที่มีระเบียนหลายล้านระเบียน ซึ่งเก็บในห้องที่เต็มไปด้วยดิสก์ไดรฟ์ หรืออุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์รอบข้าง อื่น ๆ

สารสนเทศ (information)
เป็นผลลัพธ์ของกระบวนการและการจัดการข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมาย
ปัจจุบันผู้คนพูดเกี่ยวกับยุคสารสนเทศว่าเป็นยุคที่นำไปสู่ยุคแห่งองค์ความรู้หรือปัญญา นำไปสู่สังคมอุดมปัญญา หรือสังคมแห่งสารสนเทศ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่าเมื่อพูดถึงสารสนเทศ เป็นคำที่เกี่ยวข้องในศาสตร์สองสาขา คือ
วิทยาการสารสนเทศ และ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งคำว่า "สารสนเทศ" ก็ถูกใช้บ่อยในความหมายที่หลากหลายและกว้างขวางออกไป และมีการนำไปใช้ในส่วนของ เทคโนโลยีสารสนเทศ และ การประมวลผลสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ( Geographic Information System )
GIS"ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้าย ถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมาย