16 กันยายน 2552

ข้อดีข้อเสีย ระหว่าง Raster และ Vector

ลักษณะ ....................raster.......................... vector

ความแม่นยำ ........................x ........................................../
การเขียนแผนที่ทั่วไป ...............x ........................................../
ระดับข้อมูล .........................x ........................................../
การเชื่อมกันของข้อมูล ..............x ........................................../
การคำนวณ ........................./ ..........................................x
การอัพเดท ........................../ ..........................................x
ความต่อเนื่องของพื้นที่ ............./ ...........................................x
วิเคราะห์ระบบบูรนาการ .........../ ...........................................x
ความไม่ต่อเนื่อง ...................x .........................................../

ArcView GIS 3.3 และ Ms Access

มีความเหมือนกันตรงที่ ArcView GIS 3.3 และ Ms Access มีความสามารถในการเก็บรวบรวมข้อมูลให้อยู่ในรูปของตารางได้และสามารถเรียกใช้ข้อมูลที่เป็นภาษาสำหรับการใช้สอบถามข้อมูลได้เช่นเดียวกัน สามารถนำตารางของข้อมูลที่ไม่ได้เชื่อมโยงกันนำมาทำการเชื่อมโยงกันเพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้ในระบบของการจัดการฐานข้อมูล แต่ความแตกต่างของทั้งสองโปรแกรมนี้ คือ ArcView GIS 3.3 เป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการใช้งานทางด้านพื้นที่มากกว่าโปรแกรม Ms Access มีความสามารถในการสอบถามข้อมูลข้ามชั้นของข้อมูลได้ ดึงข้อมูลข้ามชั้นกันระหว่างชั้นข้อมูลได้ ข้อมูลที่ปรากฏใน ArcView GIS 3.3 มีความสามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งได้ และมีระบบระยะทางบอกระยะห่างหรือระบบพิกัดที่ใช้อ้างอิงตำแหน่งของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในข้อมูลนั้นๆได้ ซึ่งในส่วนนี้โปรแกรม Ms Access ไม่สามารถใช้งานได้ดีเท่ากับโปรแกรม ArcView GIS 3.3 และมีลักษณะการเรียกใช้แบบสอบถามที่แตกต่างกัน คือ มีการใช้ภาษาที่มีความแตกต่างกันและวิธีการใช้งานที่แตกต่างกันด้วย และในโปรแกรม ArcView GIS 3.3 มีการใช้งานและจัดเก็บชั้นของข้อมูลที่เป็นภาพแผนที่พร้อมทั้งสามารถระบุระบบพิกัดและขนาดพื้นที่ สามารถสอบถามถึงปฎิสัมพันธ์ของพื้นที่ได้ ว่ามีความเชื่อมโยงกัน ติดต่อหรือใกล้เคียงกันได้ ซึ่งในโปรแกรม Ms Access นั้นไม่สามารถทำเช่นนั้นได้

15 กันยายน 2552

แหล่งข้อมูลที่น่าสนใจ

OpensourceGIS
-OpensourceGIS
-FreeGIS
-Sketchup Google
-openjump
-SAGA-GIS
-QGIS
-uDig

*************************************************************************************

Spatial Analysis
-Spatial Analysis Online
-Spatial news
-The World a Jigsaw Tessellations in the Sciences

*************************************************************************************

Satellite
-สำนักเฝ้าระวังและเตือนสภาวะอากาศ
-ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรระยะไกล

*************************************************************************************

แผนที่ผ่าน Internet
-Thai GoogleEarth
-Maps Google
-DigitalThailand
-Maps Yahoo
-Maps Live
-Map.Com
-Free Street Maps Online
-National Geographic
-Thailand Maps
-ระบบรายงานสภาพจราจรแบบ Real-Time
-ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ

*************************************************************************************

Free Data
-Free Dem 90 m.
-ภาพถ่ายจากดาวเทียม Landsat Resolution 30 m. Free
-ภาพแผนที่ทางหลวง

*************************************************************************************
นานาสาระ Geo-Informatics
-Geospatial Magazine
-ArcGIS Help
-Geo-Informatics
-LIDAR (LIght Detection and Ranging)
-Remote Sensing
-GIS2ME
-thaigoogleearth
-ThaiGeomatics

*************************************************************************************

E-Books
-Geospatial Magazine
-Avian Influenza
-Climate change
-USGS

*************************************************************************************

Geography for Kids
-Kids Geo

เกี่ยวกับโปรแกรม opensource

OPENJUMP
- ใช้งานง่ายความสามารถในการทำงานกับข้อมูล GIS ในรูปแบบ GML. GMLหรือ "ภูมิศาสตร์ Markup Language" เป็น XML (ข้อความ-based) รูปแบบข้อมูล GIS. เป็นวิธีการอธิบายข้อมูลเชิงพื้นที่ในรูปแบบที่อ่านได้มนุษย์และเป็นที่ยอมรับ "มาตรฐานเปิด" สำหรับข้อมูล GIS. OpenJUMP ขณะนี้สามารถอ่านและเขียนข้อมูล GML และทีมงานหวังในการพัฒนาจำนวนของสาธารณูปโภคที่จะเพิ่มความสามารถ OpenJUMP ไปทำงานกับ GML. ความสามารถในการทำงานกับรูปแบบเปิดเช่น GML มีความสำคัญต่อ implementers บางเพราะให้ทางเลือกในรูปแบบที่ต้องการเป็นเจ้าของไฟล์ Autodesk DWG หรือ ESRI Shapefiles. OpenJUMP คงยังอ่านและเขียน ESRI Shapefiles และสนับสนุน ESRI รูปแบบตาราง Ascii กับปลั๊กอิน OpenJump จากทีม SIGLE. ขณะ OpenJUMP ถือหลักเวกเตอร์ตาม GIS ก็ยังสนับสนุน rasters เป็น TIF ไฟล์หรือด้านบนตาราง ESRI Ascii.

SAGA-GIS
-SAGA โปรแกรมด้านการประมวลผลด้าน GIS เป็นโปรแกรมที่มีการประมวลผล สำหรับงาน วิเคราะห์ภูมิประเทศ raster GIS ตลอดจน Geostatistic และ การแปลภาพดาวเทียม

QGIS
-QGIS สำหรับการดูข้อมูลภูมิสารสนเทศ ตลอดจนข้อมูลจาก WMS (ข้อมูลภาพดาวเทียมและแผนที่ จาก internet) นอกจากนี้ ยังสามารถ เปลี่ยน เส้นโครงแผนที่(Projection)ได้ทันที

uDig
-uDig สามารถใช้ เวกเตอร์สำหรับการทำงานที่ซับซ้อนและยัง embeds JGRASS และเครื่องมืออุทกวิทยาเฉพาะจากเครื่อง Horton. มันสนับสนุน shapefiles, PostGIS, WMS และหลายแหล่งข้อมูลอื่นๆ natively.

11 กันยายน 2552

ค้นคว้าเพิ่มเติม

ความหมายของ HTML

HTML คืออะไร

HTML (ชื่อเต็มคือ Hypertext Markup Language ภาษามาร์กอัปข้อความหลายมิติ) คือภาษามาร์กอัปออกแบบมาเพื่อใช้ในการสร้างเว็บเพจ หรือข้อมูลอื่นที่เรียกดูผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ เริ่มพัฒนาโดย ทิม เบอร์เนอรส์ ลี (Tim Berners Lee) สำหรับภาษา SGML ในปัจจุบัน HTML เป็นมาตรฐานหนึ่งของ ISO ซึ่งจัดการโดย World Wide Web Consortium (W3C) ในปัจจุบัน ทาง W3C ผลักดัน รูปแบบของ HTML แบบใหม่ ที่เรียกว่า XHTML ซึ่งเป็นลักษณะของโครงสร้าง XML แบบหนึ่งที่มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดโครงสร้างของโปรแกรมที่มีรูปแบบที่มาตรฐานกว่า มาทดแทนใช้ HTML รุ่น 4.01 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

10 กันยายน 2552

วิธีการสร้างฟอร์ม

การสร้างฟอร์มนั้นมี 3 วิธี

**ยึดตามตารางหรือแบบสอบถามเดียวโดยการใช้ฟอร์มอัตโนมัติ ฟอร์มอัตโนมัติจะสร้างฟอร์มซึ่งแสดงเขตข้อมูลและระเบียนทั้งหมดในตารางต้นแบบ หรือในแบบสอบถามต้นแบบ และถ้าแหล่งระเบียนที่คุณเลือกมีตารางหรือแบบสอบถามที่สัมพันธ์กัน ฟอร์มจะรวมเขตข้อมูลและระเบียนทั้งหมดจากแหล่งระเบียนเหล่านั้นด้วย

1. ในหน้าต่างฐานข้อมูล ให้คลิก ฟอร์ม ภายใต้ วัตถุ
2. คลิกปุ่ม สร้าง บนแถบเครื่องมือของหน้าต่างฐานข้อมูล
3. ในกล่องโต้ตอบ การสร้างฟอร์ม ให้คลิกเลือกตัวช่วยสร้างหนึ่งตัวดังต่อไปนี้
-ฟอร์มอัตโนมัติ: แบบเรียงเป็นแนวตรง แต่ละเขตข้อมูลจะแสดงอยู่บนบรรทัดแยกกันพร้อมกับมีป้ายชื่อทางด้านซ้าย
-ฟอร์มอัตโนมัติ: แบบตาราง เขตข้อมูลในแต่ละระเบียนจะแสดงอยู่บนบรรทัดเดียวกันพร้อมกับมีป้ายชื่อแสดงที่ด้านบนของฟอร์ม
-ฟอร์มอัตโนมัติ: แผ่นข้อมูล เขตข้อมูลในแต่ละระเบียนจะแสดงในรูปแบบของแถวและคอลัมน์ โดยจะแสดงหนึ่งระเบียนต่อหนึ่งแถว และหนึ่งเขตข้อมูลต่อหนึ่งคอลัมน์ โดยชื่อของเขตข้อมูลจะแสดงอยู่ด้านบนของแต่ละคอลัมน์
-ฟอร์มอัตโนมัติ: PivotTable ฟอร์มจะเปิดในมุมมอง PivotTable คุณสามารถเพิ่มเขตข้อมูลโดยการลากเขตข้อมูลจากรายการเขตข้อมูลไปยังพื้นที่อื่นในมุมมองนั้น
-ฟอร์มอัตโนมัติ: PivotChart ฟอร์มจะเปิดในมุมมอง PivotChart คุณสามารถเพิ่มเขตข้อมูลโดยการ


**ลากเขตข้อมูลจากรายการเขตข้อมูลไปยังพื้นที่อื่นในมุมมองนั้น
ยึดตามตารางหนึ่งตารางหรือแบบสอบถามหนึ่งแบบสอบถาม หรือมากกว่านั้นด้วยตัวช่วยสร้าง ตัวช่วยสร้างจะถามคุณเกี่ยวกับรายละเอียดของแหล่งระเบียน เขตข้อมูล เค้าโครง และรูปแบบที่คุณต้องการ และสร้างฟอร์มจากคำตอบของคุณ


1. ในหน้าต่างฐานข้อมูล ให้คลิก ฟอร์ม ภายใต้ วัตถุ
2. คลิกปุ่ม สร้าง บนแถบเครื่องมือของหน้าต่างฐานข้อมูล
3. ในกล่องโต้ตอบ การสร้างฟอร์ม ให้คลิกตัวช่วยสร้างที่คุณต้องการใช้ คำอธิบายของตัวช่วยสร้างจะปรากฏอยู่ทางด้านซ้ายของกล่องโต้ตอบ
4. คลิกชื่อของตารางหรือแหล่งระเบียนอื่นที่มีข้อมูลที่คุณต้องการให้ฟอร์มของคุณยึดตาม
หมายเหตุ คุณไม่จำเป็นต้องทำขั้นตอนเหล่านี้ถ้าคุณเลือกตัวช่วยสร้างฟอร์มหรือตัวช่วยสร้าง PivotTable ในขั้นตอนที่ 3 ซึ่งคุณสามารถระบุแหล่งระเบียนสำหรับฟอร์มได้ภายหลัง
5. คลิก ตกลง
6. ทำตามขั้นตอนในตัวช่วยสร้าง

**ถ้าผลลัพธ์ของฟอร์มไม่เป็นอย่างที่คุณต้องการ คุณสามารถเปลี่ยนลักษณะของฟอร์มได้ในมุมมองออกแบบ มุมมอง PivotTable หรือมุมมอง PivotChart

1. สร้างด้วยตนเองบนมุมมองออกแบบของคุณ คุณสร้างฟอร์มพื้นฐานแล้วกำหนดฟอร์มนั้นในมุมมองออกแบบในหน้าต่างฐานข้อมูล ให้คลิก ฟอร์ม ภายใต้ วัตถุ
2. คลิกปุ่ม สร้าง บนแถบเครื่องมือในหน้าต่างฐานข้อมูล
3. ในกล่องโต้ตอบ การสร้างฟอร์ม ให้คลิก มุมมองออกแบบ
4. คลิกชื่อของตาราง หรือแหล่งระเบียนอื่น ๆ ที่มีข้อมูลที่คุณต้องการใช้เป็นต้นแบบสำหรับฟอร์มของคุณ ถ้าฟอร์มจะไม่มีข้อมูล (ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องการจะสร้างฟอร์มเพื่อใช้เป็นสวิตช์บอร์ดเพื่อเปิดฟอร์ม หรือรายงานอื่น หรือคุณต้องการสร้างกล่องโต้ตอบกำหนดเอง) ไม่ต้องเลือกอะไรจากรายการนี้
5. คลิก ตกลง



แบบสอบถาม

แบบสอบถาม (Query)

คือ การกรองข้อมูลเฉพาะที่ต้องการ ให้แสดงผล จากข้อมูลที่มีจำนวนมาก การใช้ Query จะช่วยให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็ว ลักษณะของแบบสอบถาม : มีลักษณะคล้ายกับตัวกรอง (Filter) แต่จะมีประสิทธิภาพดีกว่า เนื่องจากสามารถดึงข้อมูลจากหลายตาราง
และยังขอดูข้อมูลจากเงื่อนไขเดิม กี่ครั้งก็ได้

ประเภทของแบบสอบถาม

แบบสอบถามแบบใช้เลือกข้อมูล ( Select Query )


- ใช้ในการเลือกข้อมูลจากตารางหนึ่งหรือมากกว่า ซึ่งตรงกับเงื่อนไขที่กำหนด นำมาไว้ในตาราง ของแบบสอบถามอีกชุดหนึ่ง
แบบสอบถามแบบแท็บไขว้ ( Cross Tab Query )


- ใช้เพื่อสอบถามความสัมพันธ์ระหว่าง 2 เขตข้อมูล หรือมากกว่า เหมาะสำหรับการแสดงข้อมูล
ในรูปแผนภูมิ
แบบสอบถามแบบใช้ตาราง ( Make-Table Query )


- เป็นแบบสอบถามที่ใช้ในการสร้างตารางใหม่ จากข้อมูลที่แบบสอบถามได้ทำการเลือกไว้
แบบสอบถามแบบใช้ปรับปรุงข้อมูล ( Update Query )


- ทำหน้าที่ปรับปรุงกลุ่มของระเบียน และเปลี่ยนให้มีค่าตามที่กำหนด
แบบสอบถามแบบใช้ผนวกข้อมูล ( Append Query )


- การนำข้อมูลที่แบบสอบถามเลือกไว้ เพื่อเพิ่มเป็นระเบียนต่อท้ายในตารางที่กำหนด
แบบสอบถามแบบใช้ลบข้อมูล ( Delete Query )


- ทำหน้าที่ลบระเบียนในตารางที่กำหนด ซึ่งตรงกับระเบียนที่แบบสอบถามเลือกเอาไว้
แบบสอบถามแบบพารามิเตอร์ ( Parameter Query )


- แบบสอบถามอันเดียว ใช้หลายๆครั้ง โดยเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ในแต่ละครั้ง
แบบสอบถามแบบ ระบุเป็นภาษาSQL. ( Structures Query Language)


- แบบสอบถามที่สร้างโดยข้อความ SQL. ซึ่งเป็นภาษามาตรฐาน ด้านฐานข้อมูลชนิดหนึ่ง

03 กันยายน 2552

ภาษา SQL

โครงสร้างของภาษาเอสคิวแอล

ภาษา SQL (สามารถอ่านออกเสียงได้ 2 แบบ คือ “เอสคิวแอล” (SQL) หรือ “ซีเควล” (Sequel)) ย่อมาจาก Structured Query Language หรือภาษาในการสอบถามข้อมูล เป็นภาษาทางด้านฐานข้อมูล ที่สามารถสร้างและปฎิบัติการกับฐานข้อมูลแบบสัมพันธ์(relational database)โดยเฉพาะ และ เป็นภาษาที่มีลักษณะคล้ายกับภาษาอังกฤษ ภาษา SQLถูกพัฒนาขึ้นจากแนวคิดของ relational calculus และ relational algebra เป็นหลัก ภาษา SQL เริ่มพัฒนาครั้งแรกโดย almaden research center ของบริษัท IBM โดยมีชื่อเริ่มแรกว่า “ซีเควล” (Sequel) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น“เอสคิวแอล” (SQL) หลังจากนั้นภาษา SQLได้ถูกนำมาพัฒนาโดยผู้ผลิตซอฟแวร์ด้านระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จนเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยผู้ผลิตแต่ละรายก็พยายามที่จะพัฒนาระบบจัดการฐานข้อมูลของตนให้มีลักษณะเด่นเฉพาะขึ้นมา ทำให้รูปแบบการใช้คำสั่ง SQL มีรูปแบบที่แตกต่างกันไปบ้าง เช่น ORACLE ACCESS SQL Base ของ Sybase INGRES หรือ SQL Server ของ Microsoft เป็นต้น ดังนั้นในปี ค.ศ. 1986 ทางด้าน American National Standards Institute (ANSI) จึงได้กำหนดมาตรฐานของ SQL ขึ้น อย่างไรก็ดี โปรแกรมฐานข้อมูลที่ขายในท้องตลาด ได้ขยาย SQL ออกไปจนเกินข้อกำหนดของ ANSI โดยเพิ่มคุณสมบัติอื่นๆ ที่คิดว่าเป็นประโยชน์เข้าไปอีกแต่โดยหลักทั่วไปแล้วก็ยังปฏิบัติตามมาตราฐานของ ANSI ในการอธิบายคำสั่งต่างๆของภาษา SQL

ทดลองสร้างฐานข้อมูลด้วย MS Access

ทดลองการสร้างตารางด้วยข้อมูลจริง