13 มีนาคม 2553

การประมาณค่าเชิงพืื้นทีี่

การประมาณค่าเชิงพื้นที่(Spatial Interpolation) หมายถึงกระบวนการของการใช้ข้อมูลจุดที่ทราบค่าเพื่อประมาณค่าที่ยังไม่ทราบของจุด(พื้นที่)อื่นๆ

ข้อมูลที่นิยมใช้ในการประมาณค่าเชิงพื้นที่
• ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา (Meteorological Data) เช่นนํ้าฝน อุณหภูมิ และการระเหย
• ภูมิประเทศ (Topography) เช่น ความสูงต่ำ
• การสะสมของหิมะ (Snow Accumulation)
• ระดับนํ้า (Water Table)
• ความหนาแน่นประชากร (Population Density)

ประเภทของการประมาณค่าเชิงพื้นทีี่
• Global Method เป็นการประมาณค่าโดยการใช้ค่าของจุดควบคุมเพื่อสร้างสมการหรือแบบจำลอง สำหรับการคำนวณหรือการประมาณค่าไปยังจุดที่ยังไม่ทราบค่า การประมาณค่าแบบโลกมี 2 วิธีการคือ Trend Surface Analysis และRegression Model
• Local Method เป็นการใช้ค่าตัวอย่างของจุดควบคุมเพืื่อคำนวณค่าของจุดที่ต้องการทราบ ดังนั้นจำนวนการสุ่มตัวอย่างจึงมีความสำคัญ การประมาณค่าแบบท้องถิ่นมี 5 วิธีการที่นิยม
ใช้คือ Thiessen Polygon, Density Estimation, Inverse Distance Weight, Thin-plate Splines (Regularized Spline หรือ Regularized Spline with Tension), Kriging


การประมาณค่าเชิงพื้นที่แบบ Global Method
Trend Surface Analysis
• เป็นการประมาณค่าโดยใช้สมการ Polynomial (เรียกสมการนี้ว่า Trend Surface Model)
• สมการ Polynomial อาจเป็นแบบ a first-order trendsurface หรือ a higher-order trend surface (เช่น acubic หรือ third-order)

Regression Models
• เป็นการประมาณค่าโดยใช้ตัวแปรอิสระชุดหนึ่งเพื่อประมาณค่า(ของตัวแปรตาม)
• การประมาณค่าแบบนี้สามารถใช้สำหรับการคำนวณหรือการพยากรณ์ได้
• ข้อมูลคุณลักษณะที่ไม่ใช่เชิงพืน้ ที่ (Non-spatial attributes)เช่น รายได้ และการศึกษา ไม่สามารถนำมาพิจารณาในการประมาณค่าเชิงพืน้ ที่
• ตัวอย่างเช่น SWE = b0 + b1EAST + b2 SOUTH + b3 ELEV

การประมาณค่าเชิงพืน้ ที่แบบ Local Method
Thiessen Polygons
• เป็นการประมาณค่าโดยใช้การสร้างโพลิกอน Thiessenล้อมรอบชุดตัวอย่างที่ทราบค่าข้อมูล
• คำนวณโดยการสร้างพื้นที่สามเหลี่ยมจากจุดที่ทราบค่าแล้วลากเส้นตั้งฉากกับกึึ่งกลางของแต่ละด้านภายในสามเหลี่ยม
• บางครั้งเรียก Thiessen Polygons ว่า Voronoi Polygon

Density Estimation
• เป็นการประมาณค่าโดยวัดความหนาแน่นภายในกริดหนึ่งๆ จากการกระจายของจุดและค่าที่ทราบ
• Cell Density = Total point value / Cell Size

Inverse Distance Weight
• เป็นการประมาณค่าบนสมมติฐานที่ว่าจุดที่ยังไม่ทราบค่านั้นควรมีอิทธิพลจากจุดควบคุมที่อยู่ใกล้มากกว่าจุดควบคุมทีี่อยู่ไกล
• ระดับของอิทธิพล (Degree of Influence, or the Weight)แสดงในรูปผลกลับ (Inverse) ของระยะทางระหว่างจุด ซึ่งเพิ่มขึน้ ตามค่ากำลัง (Power Number)
• ค่ากำลังแสดงถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงค่าจากจุดใกล้ไปยังจุดไกล (ถ้าค่ากำาลังเท่ากับ 1 แสดงว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงคงที่ระหว่างจุดต่างๆ เรียก Linear Interpolation)

Thin-plate Splines
• เป็นการประมาณค่าบนพืน้นผิวโดยการผ่านจุดควบคุมและมีการเปลี่ยนแปลงด้านความชันของทุกจุดน้อยที่สุด หรือเป็นการ fit จุดควบคุมต่างๆ ด้วย a minimum-curvature surface
• ปัญหาสำคัญของ Thin-plate splines คือ steep gradients indata-poor areas จึงมีการพัฒนาวิธีการ Thin-plate Splinesเพื่อลดผลดังกล่าว ซึ่งมี 3 วิธีการ คือ Thin-plate splines withTension, Regularized Splines, Regularized Splines withTension
• วิธีการ Splines ให้การประมาณค่าพื้นผิวที่เรียบและต่อเนื่อง จึงเหมาะสำหรับการประมาณค่า Elevation, Water Table และ Precipitation

Kriging
• เป็นการประมาณค่าโดยใช้วิธีการภูมิสถิติ (a geo-statisticalmethod) โดยมีสมมติฐานที่ว่าความผันแปรเชิงพื้นที่ของ
ข้อมูลคุณลักษณะมีความเป็นอิสระมากกว่าการกำหนดวัดได้

www.map.nu.ac.th/web/PDFGIS/106532-8.pdf

สถิติศาสตร์ กับงาน GIS

ในงาน GIS ได้มีการนำเอาทฤษฎีของสถิติมาประยุกต์ใช้ในวิชา GIS หรือที่เรียกว่า GEOSTATISTICS ทำให้ก่อให้เกิดความรู้ที่จะอธิบายความเป็นไปบนโลก ได้มากกว่าการวิเคราะห์แค่เชิงพื้นที่(Spatial Analysis)

ที่เห็นได้ชัดๆ ในการนำสถิติศาสตร์มาใช้ในงาน GIS ก็คือ การประมาณค่าแบบ Kriging ที่แรกเริ่มมาจาก การประมาณค่าในวงการธรณีวิทยา โดยอาศัยแนวความคิดที่ว่า จุดที่สำรวจมาเป็นตัวอย่าง ไม่สามารถนำมาคาดเดาประชากรส่วนใหญ่ได้ทั้งหมด ซึ่งเราเรียกสถิติแบบสมมุติฐานนี้ว่า Stochastic ต่างจากอีกวิธีหนึ่ง ที่ถือว่า จุดที่สำรวจมาสามารถนำมาคาดเดาประชากรส่วนใหญ่ได้ ซึ่งเราเรียกสถิติแบบสมมุติฐานนี้ว่า Deterministic

วิธีการ Stochastic นี้ อธิบายง่ายๆ เช่น ในวงการแพทย์ การรักษาวิธีเหมือนกัน อาจไม่สามารถรักษาให้คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคเดียวกัน ให้มีผลลัพธ์เดียวกันได้

12 มีนาคม 2553

ประตูสู่ลาวและกลุ่มประเทศอินโดจีน

ประตูสู่ลาวและกลุ่มประเทศอินโดจีน


เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขงเชื่อม จ. หนองคายกับเมืองเวียงจันทน์เมืองหลวงของประเทศลาว และสามารถเดินทางต่อไปยังหลวงพระบางและคำม่วนได้ ทั้งยังมีเส้นทางเชื่อมต่อไปถึงเวียดนามอีกด้วยบริเวณเชิงสะพานฝั่งไทยเป็นย่านบริษัทนำเที่ยว ส่วนฝั่งลาวมีร้านจำหน่ายสินค้าปลอดภาษี


ประวัติ



สะพานนี้ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 30 ปี จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2537 ด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศไทย ลาว ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดสะพานแห่งนี้ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2537 หลังเสร็จพระราชพิธี พระองค์เสด็จฯ ไปประทับแรม ณ หอคำ พระบรมมหาราชวังของเจ้ามหาชีวิตหรือกษัตริย์ลาวในอดีตเป็นเวลา 1 คืน ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับ


สิ่งน่าสนใจ


สะพานมิตรภาพไทย-ลาว
ชาวอีสานและชาวลาวเรียกว่า “ขัวมิดตะพาบ” (ขัวหมายถึงสะพาน) สะพานแห่งนี้กว้าง 15 ม. ยาวประมาณ 1,200 ม. สร้างเชื่อมระหว่างบ้านจอมมณี ต. มีชัย อ. เมืองหนองคาย ไปยังบริเวณท่านาแล้ง แขวงนครเวียงจันทน์ มีทางเดินรถสองช่องทาง ช่วงกลางสะพานออกแบบไว้สำหรับรางรถไฟ เพื่อเตรียมขยายเส้นทางรถไฟจากหนองคายไปลาวนักท่องเที่ยวสามารถเดินเที่ยวชมบนสะพานได้ โดยมีช่อง ทางขึ้นอยู่ใต้สะพาน ในช่วงเย็นทัศนียภาพแม่น้ำโขงจะสวยงามน่าชมมาก

Spatial Data Infrastructures

ในโลกยุคโลกาวิวัฒน์นี้ ข้อมูลข่าวสารเป็นเรื่องที่สำคัญ เราต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา ข้อมูลภูมิสารสนเทศ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือข้อมูลแผนที่และ GIS หรือข่าวสารข้อมูลที่ต้องผ่านกรรมวิธี เช่น ภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ ผู้ใช้ก็ต้องสามารถเข้าถึงได้เช่นเดียวกับข้อมูลข่าวสารชนิดต่างๆ

การที่จะทำให้ให้ข้อมูลภูมิสารสนเทศ บรรลุถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าว จำเป็นต้องมีโครงสร้างข้อมูลภูมิสารสนเทศ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ผลิตข้อมูลดังกล่าวเดินไปตามแนวทางมาตรฐานเดียวกัน โดยที่ถ้าเป็นโครงสร้างข้อมูลภูมิสารสนเทศระดับชาติเราเรียกว่า NSDI หรือ National Spatial Data Infrastructures ถ้าเป็นระดับโลกก็เรียกว่า Global Spatial Data Infrastructures

ในการดำเนินการจัดทำโครงสร้างข้อมูลภูมิสารสนเทศ จะต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการโครงสร้างข้อมูลภูมิสารสนเทศหรือเรียกว่า FGDI หรือ The Federal Geographic Data Committee เพื่อกำหนดโครงสร้างของข้อมูลภูมิสารสนเทศ ซึ่งในกรอบการทำงานจะเป็นดังนี้

1.จัดทำข้อมูลพื้นฐานหรือที่เรียกว่า FGDS Fundamental Geographic Data Set ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่จำเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาประเทศและมีหน่วยงานรับผิดชอบอยู่แล้ว

2.ขั้นตอนการกำหนด Metadata: Describing geospatial data เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างตรงความต้องการ โดยเฉพาะการเข้าถึงข้อมูลผ่านทางระบบ Internet ข้อมูลทุกชนิดจะต้องมี Metadata เพื่ออธิบาย เพื่อให้ระบบจัดหาข้อมูลได้ตรงกับความต้องการผู้ใช้

3.ขั้นตอนการทำให้ข้อมูลสามารถค้นหาได้ง่าย หรือ Data Catalog: Making data discoverable การรวมข้อมูลเป็นหมวดหมู่ หรือ catalog ย่อมทำให้การสืบค้นมีความง่ายขึ้น

4.ขั้นตอนการทำให้ข้อมูลแผนที่ปรากฏในระบบ online ซึ่งในระบบดังกล่าวผู้ใช้สามารถได้ข้อมูลภูมิสารสนเทศ เมื่อมีการเชื่อมต่อ ซึ่งอาจจะเป็นการ online ผ่านระบบ internet หรือ intranet นั่นเอง

5.ขั้นตอน การเข้าถึงข้อมูลหรือการ download ข้อมูลชุดเต็ม Open Access To Data เมื่อมีความต้องการข้อมูลเหล่านั้นมาไว้ที่เครื่องหรือหน่วยงานตนเอง ซึ่งจะมีระบบป้องกันความปลอดภัยเข้ามาเกี่ยวข้อง

เหล่านี้คือขั้นตอนหลักๆ ของคณะกรรมการ FGDI ที่จะต้องดำเนินการและแนวทางดังกล่าวก็ต้องสอดคล้องกับโครงสร้างข้อมูลภูมิสารสนเทศที่ชาติต่างๆ จัดทำขึ้น เพื่อในอนาคต ข้อมูลสารสนเทศจะเป็นข้อมูลสากล และก้าวไปสู่ โครงสร้างภูมิสารสนเทศระดับโลกหรือที่เรียกว่า GSDI


ที่มา http://www.gsdi.org/pubs/cookbook/Default.htm

11 มีนาคม 2553

บันทึกการสำรวจและบุกเบิกในดินแดนสยาม

บันทึกเล่มนี้ เป็นบันทึกของเจมส์ แมคคาร์ธี (พระวิภาคภูวดล เจ้ากรมแผนที่คนแรก) โดยมี ร.อ.หญิง สุมาลี วีระวงศ์ (ยศในขณะนั้น) เป็นผู้แปล ลงตีพิมพ์ในวารสารแผนที่ ฉบับพิเศษ ครบรอบ 200 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ เป็นเอกสารที่ให้คุณค่าทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์ ประเทศไทยตั้งแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 5

บันทึกเล่มนี้ค่อนข้างจะยาว เกือบ 200 หน้า ได้คัดลอกเสร็จเรียบร้อยแล้ว เชิญชวนอ่านบันทีกเล่มนี้ได้ที่ http://resgat.net/explorings.html

Mobile GPS Tracking

การที่เราสามารถติดต่อสื่อสารแบบไร้สาย มากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นการติดต่อผ่านทางโทรศัพท์มือถือ หรือการดูข้อมูล internet ผ่านทางมือถือในระบบ GPRS ฯลฯ เหล่านี้ล้วนแต่นำมาซึ่งความสะดวกสบายในการติดต่อสื่อสาร ในระบบติดตามการเคลื่อนที่หรือเรียกว่า tracking system ก็เช่นเดียวกัน ถ้าเราสามารถติดตั้งเครื่อง GPS หรือระบบ indoor GPS สำหรับการใช้หาพิกัดในอาคาร ลงในโทรศัพท์มือถือก็เป็นไปได้ที่ค่าพิกัดของโทรศัพท์มือถือเรา จะสามารถแสดงตำแหน่งบนแผนที่ให้ผู้ติดต่อเราทราบว่าเราอยู่ตำแหน่งแห่งหนใดบนโลกนี้บ้าง

ในต่างประเทศเริ่มมีการให้บริการด้านนี้กันแล้วครับ นั่นคือจะมีบริการแสดงตำแหน่งของโทรศัพท์มือถือของเพื่อน หรือคนในครอบครัวของเราทุกครั้งที่มีการติดต่อเข้ามาผ่านทางระบบอินเตอร์เนท โดยจะต้องมีการลงทะเบียนและผ่านทางเครือข่ายกับโทรศัพท์ที่มีบริการด้านนี้ไว้แล้ว

เหล่านี้ล้วนแต่จะเป็นเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้ มองในแง่ดี ก็ดีครับ มองในแง่ความเป็นส่วนตัวก็คงจะไม่ค่อยดีนัก แต่ถ้ามองทางด้านงานค้นคว้าวิจัย ก็น่าจะทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาที่เป็นแบบท้าทายน่าจะเป็นที่ชื่นชอบในงานศึกษาสมัยใหม่

แต่ถ้าย้อนกลับมามองระบบการศึกษาบ้านเรา ที่ยังเป็นติดยึดกับรูปแบบมากกว่าการมองกันที่ผลิตผลของวิชาการหรือตัวผู้ที่จบออกมา เทคโนโลยีเราคงตามเขาไปอยู่เรื่อยๆ...มั่ง



ที่มา http://www.mologogo.com/

ระบบงานทางโฟโตแกรมเมตรี

ระบบงานทางโฟโตแกรมเมตรี สามารถแบ่งออกเป็นสองงานหลัก คือ

1) การจัดทำและเตรียมภาพรวมทั้งข้อมูลสนับสนุน และ

2) การประมวลผลภาพเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ

งานแรกเป็นกระบวนตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดคุณลักษณะ วางแผน บินถ่ายภาพ หรือรับข้อมูลภาพจากแหล่งข้อมูล ประมวลผลเบื้องต้นเพื่อเตรียมภาพสำหรับใช้ในระบบประมวลผลขั้นต่อไป และ เตรียมข้อมูลสนับสนุน เช่น การรวบรวมข้อมูลจุดควบคุมภาคพื้นด้วย ส่วนงานที่สองจะรวมถึงการตัดสินใจเลือกระบบประมวลผลทางโฟโตแกรมเมตรีสำหรับ สร้างผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ โดยทั่วไปแล้วงานทางโฟโตแกรมเมตรี สามารถแบ่งกว้าง ๆ ออกตามระบบที่ใช้ในการถ่ายภาพเป็นงานที่ใช้ภาพดาวเทียม งานที่ใช้ภาพจากอากาศยาน และงานที่ใช้ภาพจากกล้องที่ถ่ายระยะใกล้ ๆ โดยงานส่วนใหญ่เป็นงานที่ใช้ภาพจากกล้องถ่ายภาพอากาศที่มีความแม่นยำสูง และผ่านกระบวนการเทียบมาตรฐานแล้ว

กล้องถ่ายภาพทางอากาศมีส่วนประกอบที่ค่อนข้างซับซ้อน แต่เราสามารถอธิบายลักษณะทางเรขาคณิตของกล้องถ่ายภาพได้ไม่ยาก โดยพิจารณากล้องที่ประกอบด้วยเลนส์หลายชิ้นเป็นเพียงจุด ๆ หนึ่ง เรียกว่าจุดศูนย์กลางการฉาย โดยทั่ว ๆ ไปแล้วการถ่ายภาพทางอากาศมักถ่ายในลักษณะที่แกนของกล้องอยู่ในแนวดิ่ง ทำให้ภาพครอบคลุมพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส การบินถ่ายภาพสำหรับการทำแผนที่มักทำเป็นแนวโดยแต่ละแนวห่างกันในระยะที่ทำ ให้เกิดส่วนเหลื่อมระหว่างแนวบินประมาณร้อยละ 25 ของความกว้างของพื้นที่ที่ครอบคลุมโดยภาพ ภายในแต่ละแนวบินก็จะมีส่วนเหลื่อมระหว่างภาพประมาณร้อยละ 60 การถ่ายภาพให้มีส่วนเหลื่อมนี้มีวัตถุประสงค์หลักสามประการ คือ

1) ให้พื้นที่ที่สนใจทั้งหมดปรากฏบนภาพอย่างน้อยสองภาพที่ถ่ายทีละจุด เพื่อประโยชน์ในการมองภาพสามมิติ

2) สามารถใช้เพียงบริเวณส่วนกลางของภาพในการติดต่อหรือโมเสคภาพ และ

3)สามารถใช้ส่วนเหลื่อมเล็กๆระหว่างภาพในการขยายจุดบังคับภาพพื้น

ดินด้วยวิธีการทางโฟโตแกรมเมตรี

ภาพที่ได้จากระบบถ่ายภาพจะใช้เป็นข้อมูลนำเข้าสู่ระบบประมวลผล ซึ่งอาจเป็นระบบที่สามารถประมวลผลได้ทีละภาพหรือทีละหลายภาพพร้อมกัน ระบบในแบบหลังมักเป็นระบบที่สามารถใช้มองภาพสามมิติได้ เครื่องมือเหล่านี้ในอดีตเรียกว่า เครื่องเขียนงานโฟโตแกรมเมตรี ซึ่งใช้ภาพที่อยู่ในรูปของฟิล์ม ส่วนในปัจจุบันระบบประมวลผลจะเป็นโปรแกรมเฉพาะทางที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ ประสิทธิภาพสูง เรียกว่า เป็นสถานีงานโฟโตแกรมเมตรี ซึ่งทำงานกับภาพเชิงเลขจึงสามารถประมวลผลโดยใช้ภาพหลายภาพได้ ไม่ว่าจะเป็นระบบในอดีตหรือปัจจุบันต่างก็มีความสามารถพื้นฐาน ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุบนโลกและภาพของวัตถุเพื่อใช้ในการเก็บ ข้อมูลจากภาพได้เช่นเดียวกัน

การประยุกต์ใช้งานทางงานโฟโตแกรมเมตรีงานโฟโตแกรมเมตรีเป็นงานที่มีความสำคัญและเอื้อประโยชน์ต่องานต่างๆ หลายด้าน ตัวอย่างของงานเหล่านั้น ได้แก่


-การทำแผนที่ภูมิประเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนและการก่อสร้างทางวิศวกรรม เช่น การก่อสร้างทางหลวง

-การสำรวจทรัพยากร ทั้งการทำเหมืองแร่ การเกษตรกรรม และการชลประทาน เป็นต้น
-การศึกษาพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์
-การศึกษาการใช้ที่ดิน
-การศึกษาสิ่งต่าง ๆ บนดาวดวงอื่น เช่น การหาพื้นที่ลงจอด และ การสำรวจทางธรณี
-การสำรวจที่ดิน
-การแพทย์มีการใช้หลักการทางโฟโตแกรมเมตรีในการวิเคราะห์ภาพจากเครื่องมือถ่ายภาพ
-การสร้างข้อมูลเพื่อนำเข้าสู่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นต้น


ที่มา http://www.rtsd.mi.th

ทำความรู้จักวิชาโฟโตแกรมเมตรี

หัวข้อเบื้องต้นของวิชาโฟโตแกรมแมตรี

วิชาโฟโตแกรมเมตรีเป็นวิขาที่ศึกษาเกี่ยวกับภาพถ่ายและตำแหน่งของวัตถุที่ปรากฏบนภาพถ่าย ตัวอย่างของสิ่งที่ศึกษาในวิชาโฟโตแกรมเมตรีในเบื้องต้นมีดังนี้

-ภาพถ่ายทางอากาศเกิดจากการฉายแบบทัศนมิติ โดยแบบจำลองง่ายๆของการถ่ายภาพคือกล้องรูเข็ม
-ปัจจัยสำคัญสองประการที่มีผลโดยตรงกับตำแหน่งของวัตถุบนภาพ คือ ความสูงต่ำของผิวโลก และ การเอียงของกล้อง
-บนภาพถ่ายดิ่งมาตราส่วนของภาพถ่ายแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระยะบนภาพกับระยะบนผิวโลก
-ความสูงต่ำของผิวโลกทำให้เกิดการเลื่อนตำแหน่งของจุดตามแนวรัศมีจากจุดเนเดอร์บนภาพ
-การเอียงของกล้องทำให้มาตราส่วนแต่ละส่วนของภาพไม่เท่ากัน และ ทำให้ ณ จุดหนึ่งบนภาพมาตราส่วนในแต่ละทิศทางไม่เท่ากันด้วย
-ระบบพิกัดบนภาพถ่ายเป็นระบบพิกัดสามมิติที่มีจุดกำเนิดอยู่ที่ศูนย์กลางทัศนมิติ
-การเลื่อนตำแหน่งของวัตถุบนภาพจากการสูงต่ำของวัตถุสามารถนำมาใช้หาความสูงของวัตถุบนพื้นโลกได้
-การถ่ายภาพสองภาพของพื้นที่เดียวกันจากคนละตำแหน่ง ทำให้เกิดแพรัลแลกซ์ และ ค่าแพรัลแลกซ์สามารถนำมาใช้หาความสูงของวัตถุบนพื้นโลกได้
-การมองเห็นภาพทรวดทรงสามมิติอาศัยการรับรู้ระยะลึกจากการมองภาพด้วยตาทั้งสองข้าง โดยอาศัยหลักการเดียวกับเรื่องแพรัลแลกซ์
-ภาพทรวดทรงสามารถสร้างขึ้นได้จากภาพเหลื่อมซ้อน โดยแสดงภาพหนึ่งสำหรับตาซ้าย และ อีกภาพหนึ่งสำหรับตาขวา

10 มีนาคม 2553

ทบทวนเทคนิคการปรับแก้ข้อมูลภาพถ่ายเชิงเลขเพื่อให้เป็นแผนที่

ปัจจุบันข้อมูลภาพถ่ายเชิงเลขไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายทางอากาศหรือภาพถ่ายดาวเทียม ในความที่เป็นตัวเลขทำให้ง่ายต่อการดัดแก้เพื่อแก้ไขข้อมูลเชิงภาพให้มีความถูกต้องเหมือนแผนที่ กล่าวกันว่าความผิดภาพของภาพถ่ายเชิงเลขอยู่ที่การแปลงข้อมูลให้มีการกำเนิดภาพแบบ orthoprojection การดัดแก้ดังกล่าวจะมีความสะดวกหลายประการเมื่อกระทำผ่านโปรแกรมที่ต้องการข้อมูลเป็นลักษณะเชิงเลข

การปรับแก้ข้อมูลภาพถ่ายเชิงเลขแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่คือ การดัดแก้แบบมีไม่มีระบบ และการดัดแก้แบบมีระบบ การดัดแก้แบบไม่มีระบบ เราไม่ต้องการข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับตัว sensor ในการรับภาพ แต่การดัดแก้แบบมีระบบเราต้องการข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับตัว sensor ในการรับภาพ

เทคนิคการดัดแก้แบบไม่มีระบบ ที่ใช้เป็นส่วนใหญ่จะเป็นการสมการ polynomial เป็นหลัก ส่วนปรับแก้แบบมีระบบต้องทราบคุณลักษณะของตัว sensor ว่าเป็นภาพดาวเทียมหรือภาพถ่ายทางอากาศ ซึ่งการกำเนิดภาพก็ไม่เหมือนกัน ภาพถ่ายทางอากาศมีการกำเนิดภาพแบบ central projection ขณะที่ภาพถ่ายดาวเทียมมีการกำเนิดภาพแบบ scanline หรือ multi central projection เหล่านี้ล้วนทำให้การดัดแก้ภาพมีความซับซ้อนและยุ่งยากมากในทางทฤษฏี

มีการเสนองานวิจัยเทคนิคที่นำไปสู่การปรับแก้แบบมีระบบและสามารถใช้ได้กับ sensor ข้อมูลภาพถ่ายเชิงเลขจากดาวเทียมนี้เรียกว่า RMF หรือ the Rational Function sensor Model และการนำข้อมูล DEM เข้าร่วมการดัดแก้ก็ทำให้ข้อมูลภาพถ่ายเชิงเลข ก้าวไปสู่การดัดแก้ที่สมบูรณ์

เหล่านี้ล้วนจะทำให้ข้อมูลภาพถ่ายเชิงเลข ดัดแก้ได้อย่างสมบูรณ์และมีความรวดเร็ว ส่งผลต่อข้อมูลความเป็นไปบนโลกได้รับการปรับแก้ด้วยความรวดเร็ว

หาอ่านเทคนิดการปรับแก้ข้อมูลภาพถ่ายเชิงเลข ได้จาก


http://www.gisdevelopment.net/magazine/years/2006/july/36_1.htm


พ.อ.ศุภฤกษ์ ชัยชนะ

เปิดกรุแผนที่โบราณในราชสำนักสยาม..ตามหารากเหง้าชนเผ่าไทย

"แผนที่โบราณ" ซึ่งเก็บงำความลับของบ้านเมือง "แผนที่โบราณ" ซึ่งแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต "แผนที่โบราณ" ซึ่งสะท้อนถึงความประณีตหลักแหลมของคนไทย ขณะนี้กำลังอวดโฉมภายใต้ชื่อนิทรรศการ "แผนที่โบราณในราชสำนักสยาม"

ท ี่มูลนิธิ เจมส์ เอช ดับเบิลยู ทอมป์สัน และบริษัทสำนักพิมพ์ริเวอร์ บุ๊คส์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯพระราชทานพระราชานุญาตให้นำแผนที่สำคัญ 5 ระวาง จากทั้งหมด 17 ระวาง จากห้องสมุดส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นำมาจัดแสดงตั้งแต่วันนี้ ไปจนถึง 31 มีนาคม 2549 ที่ศูนย์แสดงศิลปะบ้านจิม ทอมป์สัน

แผนที่ขนาดใหญ่ทั้ง 5 ระวาง ถูกแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อหลัก ใน 2 ห้องการแสดง คือ การสงคราม และการค้าสำเภาระหว่างไทย-จีน ซึ่งทั้งหมดเป็นการวาดด้วยมือและลงสีบนผืนผ้าฝ้ายในรูปแบบศิลปะไทยโบราณ เป็นเส้นทางการเดินทัพระหว่างสงครามและเส้นทางการค้าในช่วงสมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2325-2394) สันนิษฐานว่าวาดโดยช่างฝีมือชาวสยาม และอาจมีชาวจีนร่วมด้วยในบางแผนที่ แผนที่ทั้งหมดถูกค้นพบที่ตำหนักพระองค์เจ้าอัพภันตรีปชา ในพระบรมมหาราชวัง หรือเป็นที่รู้จักในนามตำหนักคลัง เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2539 เมื่อความทราบถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาให้กรมศิลปากรทำการบูรณะซ่อมแซม ให้กรมแผนที่ทหารจัดทำสำเนา 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อไว้ใช้ทำการศึกษา หลังจากนั้นทรงพระกรุณาให้ ดร.สันทนีย์ ผาสุข ไปศึกษาวิจัยแผนที่โบราณ ซึ่งขณะนี้ค้นคว้าเสร็จสิ้นแล้ว 9 ระวาง จากทั้งสิ้น 17 ระวาง และโปรดเกล้าฯ ให้เผยแพร่งานวิจัยโดยมอบสำนักพิมพ์ริเวอร์ บุ๊คส์จัดพิมพ์ในชื่อหนังสือว่า Royal Siamese Maps - War and Trade in Nineteenth Century Thailand โดยมีผู้แต่งคือ ดร.สันทนีย์ และศาสตราจารย์ฟิลิปส์ สต็อต ต่อมาผู้วิจัยและ ม.ร.ว.นริศรา จักรพงษ์ ขอพระราชทานพระราชานุญาตจัดนิทรรศการเพื่อเผยแพร่ให้นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการและสาธารณชนได้ชื่นชมในความสามารถของบรรพบุรุษไทย และเป็นอีกทางที่จะได้รับข้อมูลเพิ่มเติมหรือความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์และ สร้างสรรค์จากนักวิชาการและผู้รู้ทั้งหลายที่อาจจะนำมาปรับปรุง เพิ่มเติมงานวิจัยที่จะทำต่อไปอีกได้

ม.ร.ว.นริศรา เผยรายละเอียดของแผนที่ที่นำมาจัดแสดงว่า ในส่วนหัวข้อยุทธศาสตร์ได้เลือกแผนที่มา 3 ระวาง ได้แก่ "แผนที่เมืองทวาย" แผนที่ที่ใหญ่ที่สุด มีขนาดถึง 517x388 เมตร และอาจกล่าวได้ว่าสวยที่สุดใน 17 ระวาง ที่เรียงไล่สถานที่ตั้งแต่ เขตแดนไทยด้านตะวันตก โดยเฉพาะ จ.กาญจนบุรี ไปจรดอ่าวเมาะตะมะ ของพม่า "แผนที่ผังเมืองไทรบุรี" แสดงอาณาบริเวณ "รัฐเคดาห์" ประเทศมาเลเซีย สมัยตกเป็นเมืองขึ้นของไทย "แผนที่เขมรในนี้" แสดงพื้นที่กัมพูชาส่วนบน คือพระตะบอง เสียมราฐและศรีโสภณในยุคที่เป็นเมืองขึ้นของไทยเช่นกัน รายละเอียดที่ปรากฏบนแผนที่หัวข้อนี้ นอกจากเส้นทางการเดินทางไปรบ สภาพทางภูมิศาสตร์ ภูเขาแม่น้ำ ต้นไม้ ศาสนสถานและแหล่งโบราณคดีก็ได้วาดไว้ด้วย

ส่วนหัวข้อที่สองคือการค้าสำเภาระหว่างไทย-จีน มีด้วยกัน 2 ระวาง คือ "แผนที่เมืองจีน" แสดงเส้นทางเดินเรือตั้งแต่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา เลียบอ่าวไทย จรดมาเลเซียตอนใต้ ชายฝั่งกัมพูชา แหลมญวน เวียดนาม จีน ไปจนถึง ญี่ปุ่น เกาหลี ความยาวแผนที่ถึง 4 เมตร และ "แผนที่เมืองกวางตุ้ง" บ่งบอกความสำคัญของการค้าไทย-จีน การค้าสำเภา ที่เห็นเมืองกวางตุ้ง เกาะมาเก๊า

เป็นที่น่าสนใจว่าในจำนวน 17 ระวางนี้ มีแผนที่ 3 ระวาง ที่ถูกวาดสำเนาขนาบขึ้นมาอย่างคล้ายคลึงกัน แต่มีความแตกต่างทางด้านรายละเอียด ช่วยให้การศึกษาแผนที่โบราณคืบหน้าไปอย่างน่าสนใจ แสดงคุณลักษณะความรอบคอบของคนไทยเราด้วย เท่าที่ผ่านมา กล่าวกันว่าสำหรับในภูมิภาคที่อากาศร้อน อาทิเช่นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ข้อมูลทางด้านแผนที่ที่เจ้าของถิ่นทำขึ้นหรือวาดขึ้นมักไม่ค่อยหลงเหลือหลัก ฐานให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชม ทั้งนี้ สันนิษฐานว่าสาเหตุส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะสภาพของภูมิอากาศที่ร้อนและชื้นในภ ูมิภาคนี้ แผนที่ที่เห็นส่วนใหญ่จึงเป็นแผนที่ของชาวต่างชาติที่เดินเรือเพื่อหาแหล่งส ินค้าและอาณานิคมที่มักจะวาดแสดงข้อมูลเฉพาะบริเวณพื้นที่ริมทะเลและมหาสมุท รเท่านั้น การค้นพบครั้งนี้เป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่มาก

"แผนที่ทั้งหมดมีความสวยเหลือเกิน จึงขอพระราชทานพระราชานุญาตจัดงานครั้งนี้ พระองค์ท่านทรงพระเมตตาและเต็มพระทัยให้มาจัดแสดง แต่เนื่องด้วยสถานที่ไม่สามารถแสดงได้หมด จึงต้องมีการเลือกนำมาแสดง ชื่อที่เรียกแผนที่นี้ไม่ได้ตั้งขึ้นเอง มีการเขียนระบุไว้ที่ด้านหลังทุกระวางเมื่อค้นพบ ตัวอักษรบนแผนที่เขียนเป็นภาษาไทยหมด ยกเว้นแผนที่เมืองจีน ที่บอกมาตรวัดภาษาไทยโบราณแต่มีภาษาจีนกำกับ" ม.ร.ว.นริศรา กล่าว

ด้าน ดร.สันทนีย์ ผู้ทำการวิจัยแผนที่โบราณนี้กล่าวว่า เธอได้ศึกษาแผนที่ที่ใหญ่ที่สุดอย่างเมืองทวายอย่างละเอียด ถึงขนาดลงไปสำรวจพื้นที่จริงมาแล้ว โดยได้ใช้เครื่องมือ GPS และแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 และ 1:250,000 พร้อมขอคณะสำรวจของกรมแผนที่ทหารร่วมทำการสืบค้นด้วย และได้ค้นพบความน่าทึ่งยิ่งนักจากช่างฝีมือแผนที่โบราณนี้

"เราไปสำรวจที่เมืองกาญจน์ ตามรอยเส้นทางเดินทัพของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อคราวเสด็จไปรบทวายผ่านวังปอ และพบว่า วังปอคือ เมืองซินบ่าในปัจจุบันของพม่า และเส้นทางเขาสูงที่ยากลำบากที่บันทึกไว้ในพงศาวดารคือ บริเวณบ้านอีต่อง อ.ทองผาภูมิ ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังพบว่า คุณสมบัติของแผนที่ระวางนี้คงทิศทางมาก สภาพภูมิศาสตร์ที่วาดบนแผนที่ เช่น รูปร่างของภูเขาก็มีจริง และปัจจุบันก็ยังอยู่ แลนมาร์คต่างๆ ในแผนที่ก็มีหลายที่ที่เราคุ้นเคยอย่างเขาเม็ง เขาขนไก่ และยังมีการพบเจดีย์ทรงมอญพร้อมสระบัวเล็กๆ ชื่อพระเจดีย์โบอ่อง ปัจจุบันก็ยังอยู่ที่ตอนบนเขื่อนวชิราลงกรณ์ (เขื่อนเขาแหลมเดิม) พร้อมด้วยการพบสถานที่ใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีในแผนที่กรมทหารมาก่อน อย่างสระสี่มุม ในบริเวณอำเภอไทรโยค" ดร.สันทนีย์ กล่าว

ขณะที่ ดร.เฮนรี นักวิจัยที่ทำการค้นคว้าวรรณคดีไทย ให้มุมมองด้านศิลปะเสริมว่า แผนที่โบราณเมืองทวายและเมืองกวางตุ้ง มีรายละเอียดเหมือนในสมุดข่อย ซึ่งคลับคล้ายฝีมือของจิตรกรไทยโบราณ ที่มักนิยมเขียนพืช สัตว์ ต่างๆ อีกทั้งวิธีเขียนน้ำก็ใช้สไตล์การเขียนแบบศิลปะไทยโบราณ ทั้งนี้ แผนที่เมืองจีนเมื่อนำมาเทียบกับแผนที่ในประเทศจีนยุคดึกดำบรรพ์แล้ว พบว่ามีอิทธิพลศิลปะจีนสูงมาก เป็นไปได้ว่าอาจเป็นฝีมือช่างชาวจีน

การค้นพบครั้งนี้ จึงเป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่ยังมีจุดหมายปลายทางอันยิ่งใหญ่รออยู่เบื้องหน้า


ที่มา คมชัดลึก ฉบับ วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

การหาข้อมูลความสูงภูมิประเทศจากข้อมูลภาพถ่ายเรดาร์(SAR Interferometry )

ข้อดีอีกประการหนึ่งในการใช้ข้อมูลภาพเรดาร์ ก็คือ การหาค่าความสูงภูมิประเทศ ตามหลักการของ Graham (1972), Zebker and Goldstein (1986), Li and Goldstein (1990), Rodriguez and Martin (1992), and Zebker et al. (1994b) กล่าวว่า ถ้ามีการรับสัญญานคลื่นสะท้อนกลับจากสัญญาณเรดาร์ สองตำแหน่ง พร้อมกันจากวัตถุเดียวกันบนผิวโลก ความสูงภูมิประเทศอาจจะคำนวณได้จาก การพิสูจน์ดังต่อไปนี้



โดยที่ A1 และ A2 คือจุดที่เสาอากาศรับสัญญาณคลื่นสะท้อนกลับจาก RADAR(โดยที่เสาอากาศจุดใดจุดหนึ่งจะทำหน้าที่ทั้งส่งและรับคลื่นในเวลาเดียวกัน ขณะเสาอากาศอีกจุดหนึ่งจะรับคลื่นแต่เพียงอย่างเดียว) โดยระยะห่างจากจุดบนภูมิประเทศจุดเดียวกันคือ , +

และ z (y) คือความสูงของภูมิประเทศ

Z (y) = h - rcosq-----------------(1)

ขั้นตอนของ Interferometry มีดังนี้

เลือกรูปคู่จากข้อมูลภาพถ่ายเรดาร์ ที่ซ้อนทับกัน

ทำ georeferenece ทั้งสองภาพ

Interferogram generation

Phase unwrapping

การหาความสูงจาก Phase unwrapping
ขั้นตอนการเลือกภาพคู่จากข้อมูลภาพถ่ายเรดาร์ที่ซ้อนทับกันและการทำ georefernece จะไม่ขออธิบาย เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่คิดว่า ทุกคนคงทราบกันดีแล้ว

ขั้นตอนการทำ Interferogram

เนื่องจากจุดภาพของแต่ละภาพจะแสดงค่าสัญญาณคลื่นสะท้อนกลับ โดยในหลักการบริเวณที่จุดเดียวกัน ทั้งสองภาพจะมีค่าสัญญาณที่ไม่เท่ากัน การนำค่าทั้งสองภาพมาหาค่าความแตกต่างระหว่างสัญญาณคลื่นสะท้อนกลับนี้เรียกว่า Interferogram generation ฉะนั้นในขั้นตอนนี้ ภาพคู่จากข้อมูลภาพถ่ายเรดาร์จะรวมกันเป็นภาพเดียว

ขั้นตอนการทำ Phase unwrapping

เป็นการหาระยะจากจุดบนภูมิประเทศถึงเสาอากาศรับสัญญาณ หรือความสูงภูมิประเทศจากภาพที่ได้จากขั้นตอนการทำ Interferogram มาทำ Phase unwrapping ผลที่ได้ จะได้ภาพใหม่ ที่บริเวณที่มีความสูงไม่แตกต่างกัน เช่น บริเวณพื้นราบ ค่า Digital number หรือ DN จะมีค่าใกล้เคียงกัน แต่ถ้าเป็นบริเวณที่มีความสูงแตกต่างกันจะได้ค่า DN ที่มีค่าแตกต่างกัน

การหาความสูงจาก Phase unwrapping

เป็นขั้นตอนสุดท้าย ที่เราจะได้ค่าความสูงภูมิประเทศหรือ DEM โดยข้อมูลที่ได้มาจากการทำ Phase unwrapping ซึ่งมีวิธีการทำที่นิยมกัน 3 วิธี

Normal baseline method

Integrated incidence angle method

Baseline rotation method.
เหล่านี้คงเป็น การเกริ่นแบบคร่าวๆ ที่จะทำให้ท่านมองเห็นขั้นตอนของการทำ SAR Interferometry หรือ IFSAR นั่นเอง

หาอ่าน เรื่องราวเกี่ยวกับ SAR Interferometry เพิ่มเติมได้ที่

SAR Interferometry and Surface Change Detection

"SAR Interferometry for DEM Generation"

09 มีนาคม 2553

Gravity,GEOID และ ellipsoid

เป็นที่ทราบดีว่า โลกอันมีมวลอันมหาศาล มีแรงดึงดูดหรือ gravitation ทำให้สรรพสิ่งที่อยู่บนโลกนี้ ไม่ปลิวออกจากนอกโลกด้วยแรงเหวี่ยงจากศูนย์กลางหรือ centrifugal potential แรงดึงดูดตามผิวโลกนี้จะไม่เท่ากันตามบริเวณผิวโลก จะมากน้อยขึ้นอยู่กับว่า ภายใต้ผิวโลกมีแร่ธาตุอะไรอยู่

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาความเป็นไปของโลก โคยรังวัดค่าแรงดึงดูดของโลกโดยอาศัยหลักการของ Newton เริ่มจากการใช้ลูกบอลวัดระยะทางและเวลา





โดยที่ Ma คือมวลของโลก G คือค่าคงที่ของแรงดึงดูดของโลก Mb คือมวลของวัตถุ r คือระยะห่างหรือระยะทางที่วัตถุตกลงมา ซึ่งเราเรียกการรังวัดค่าแรงดึงดูดแบบนี้ว่า การรังวัดแบบสัมบูรณ์หรือ Absolute แต่ถ้าเป็นการรังวัดแบบปัจจุบันเราใช้การรังวัดแบบสัมพันธ์ นั่นคือเราใช้สปริงไปวางไว้หมุดที่ทราบค่าแรงดึงดูด แล้ว จากนั้นนำไปวางยังหมุดที่ไม่ทราบค่าเพื่อดูว่า สปริงเคลื่อนไปจากหมุดที่ทราบค่าเท่าไร แล้วนำไปคำนวณค่าแรงดึงดูดของโลก

ได้มีความพยายามที่จะใช้function ทางคณิตศาสตร์เพื่อคำนวณค่าของแรงดึงดูดทั่วโลก โดยใช้แนวความคิด ที่เปรียบเทียบกับโลกสมมุติ โลกสมมุติที่ว่านี่ก็คือ รูปทรงรี หรือ รูปทรง ellipsoid ที่มีลักษณะมวลเดียวกันทั้งโลกทำให้สามารถคำนวณค่าแรงดึงดูดจากพื้นทรงรี ได้ทั้งโลกโดยการใช้สูตรดังนี้

gn = 978031.85 (1.0 + 0.005278895 sin2(lat) + 0.000023462 sin4(lat)) (mgal)

where lat is latitude

ซึ่ง ค่า gn นี้เราเรียกว่า Normal gravity โดยมีสมมุติฐานว่าไม่มีแรงเหวี่ยงเข้ามาเกี่ยวข้อง เรานำค่าแรงดึงดูดที่รังวัดได้โดยวิธีสัมพันธ์มาแปลงลงบนพื้น ellipsoid (สมัยก่อนเนื่องจาก เราไม่ทราบค่า ความสูงเหนือพื้น ellipsoid (h) เราจึงใช้ค่าความสูงเหนือระดับน้ำทะเล(H) มาแทน) ค่าความต่างระหว่างค่าแรงดึงดูดที่รังวัดได้แปลงลงบนพื้น ellipsoid กับค่า Normal gravity นี้เราเรียกว่า Gravity anomaly

ดังสูตร

gfa = gobs - gn+ 0.3086h (mgal)

โดยที่ gobs คือค่าแรงดึงดูดที่รังวัดได้ , 0.3086h คือค่าแปลงลงมาที่พื้น ellipsoid

ซึ่งเราเรียก Gravity anomaly นี้ว่าเป็น Free Air Gravity anomaly(ถ้าเป็นทางธรณีวิทยาจะใช้ค่า anomaly ที่เรียกว่า Bouguer anomaly)

ค่าแรงต่างระหว่างระหว่างโลกจริงกับโลกสมมุตินี้เราเรียกว่า disturbing potential ค่าต่างนี้ ทำให้เกิดโลกสมมุติอีกโลกหนึ่งที่เราเรียกว่า Geoid

Geoid คือพื้นผิว ที่มีแรงดึงดูดเท่ากันทั้งรูปทรงหรือที่เราเรียกกันว่า equipotential surface ฉะนั้นอธิบายง่ายๆก็คือ พื้นผิว Geoid คือพื้นผิวขอบเขตที่ทำให้ค่าแรงดึงดูดที่เป็น disturbing potential มีค่าเป็นศูนย์

Stokes และ Helmert ได้ค้นคิดวิธีการที่จะหาค่า disturbing potential โดยแนวความคิดของเขาก็คือ ถ้าบนพื้นผิว Geoid เป็นพื้นผิวที่ไม่มีแรงเหวี่ยง หรือ บรรยากาศห่อหุ้ม จะทำให้ ค่า disturbing potential(Th) มีลักษณะสมการเป็น laplace equation

ซึ่งจะทำให้ disturbing potential มีลักษณะเป็นสมการ harmonic นั่นคือมีการซ้ำรูปเมื่อครบรอบ

เหล่านี้เอง ทำให้เรานำค่า FreeAir gravity anomaly ที่รังวัดได้ มาเป็นค่าสังเกต ในการย้อนรอยหาค่าตัวแปรที่จะนำให้เราใช้มาคำนวณหาค่า disturbing potential ทั้งโลกได้(EGM96 เป็นตัวอย่าง) ส่งผลให้เราสามารถนำค่า disturbing potential ไปหาค่า ความสูงต่างระหว่างพื้นผิว Geoid กับพื้นผิว ellipsoid หรือ ค่า N ตามสูตรของ Brun

N = T/g

โดยที่ T คือ disturbing potential

g คือ ค่า Normal gravity

อาจจะเข้าใจยากหน่อยนะคะ แต่นี่คือเนื้อหาวิชา ยีออฟิสิกส์ ที่เป็นไม้เบื่อไม้เบา สำหรับคนที่เรียนสาขาวิชาแผนที่


พ.อ.ศุภฤกษ์ ชัยชนะ

การจำแนกประเภทข้อมูลแบบไม่ควบคุมโดยใช้สมการ ISODATA

การจำแนกประเภทข้อมูลแบบไม่ควบคุมโดยใช้สมการ ISODATA

เป็นการจำแนกประเภทข้อมูลที่มีลักษณะคล้ายกับแบบ K Means โดยเฉพาะการรวมกลุ่มข้อมูล (Combining), การตัดแบ่งข้อมูล (Splitting) รวมทั้งการยกเลิก (Discarding) กลุ่มข้อมูลขนาดเล็ก โดยมีการกำหนดปัจจัยกำหนด (Parameters) เพิ่มเติมจากจำนวนประเภทข้อมูล, จำนวนรอบสูงสุดของการคำนวณซ้ำ ดังนี้

Minimum Standard Deviation เป็นเงื่อนไขที่ใช้ในการตัดแบ่งกลุ่มข้อมูลขนาดใหญ่ออกจากกันหากมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมากกว่าค่าที่กำหนด

Minimum Distance to Combine เป็นเงื่อนไขที่ใช้ในการรวมกลุ่ม 2 กลุ่มเข้าด้วยกัน หากค่าระยะทาง
ระหว่างศูนย์กลางกลุ่มข้อมูล (Class Center) น้อยกว่าค่า Threshold Distance ที่กำหนด 2 จุด

Minimum Cluster Cells เป็นจำนวนจุดภาพที่น้อยที่สุดสำหรับการสร้างกลุ่มข้อมูลประเภท
หนึ่ง ดังนั้นกลุ่มข้อมูลใดๆ ที่มีจำนวนจุดภาพน้อยกว่าค่าที่กำหนด จะถูกสลายกลุ่ม (Discarding) ไปรวมกับกลุ่มข้อมูลที่มีขนาดใหญ่กว่า

Minimum Distance for Chaining เป็นค่าที่ใช้ในการกำหนดตำแหน่งของศูนย์กลางกลุ่มข้อมูลเริ่มต้น
(Initial Class center) ซึ่งจะช่วยกำหนดค่าระยะทางต่ำสุดระหว่าง ค่าเฉลี่ยของกลุ่มข้อมูล 2 กลุ่มออกจากการทำงานจำแนกประเภทข้อมูล

การประมวลผลสัญญาณดิจิทัล


การประมวลผลสัญญาณดิจิทัล หรือ ที่เรียกกันติดปากสั้น ๆ ว่า ดีเอสพี (DSP - digital signal processing) เป็นการศึกษาการประมวลผลสัญญาณที่อยู่ในรูปดิจิทัล (digital)

โดยทั่วๆ ไป การประมวลผลสัญญาณ อาจแบ่งได้ตาม:

รูปแบบของตัวแทนสัญญาณ : การประมวลผลสัญญาณดิจิทัล (digital signal processing) และ การประมวลผลสัญญาณแอนะล็อก (analog signal processing)

คุณสมบัติของสัญญาณ : การประมวลผลสัญญาณไม่สุ่ม (deterministic signal processing) และ การประมวลผลสัญญาณสุ่ม (stochastic/statistical signal processing)

ลักษณะการประมวลสัญญาณ : เชิงเส้น (linear signal processing) และ ไม่เป็นเชิงเส้น (nonlinear signal processing)

และ อื่นๆ ที่แบ่งตามคุณลักษณะเฉพาะของสัญญาณ หรือ ลักษณะเฉพาะของการประมวลผล เช่น adaptive signal processing, mutlirate/multiresolution signal processing, chaotic signal processing ฯลฯ

ดีเอสพีนี้อาจแบ่งออกได้เป็นในส่วนของซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ หรือตามการประยุกต์เป็น การประมวลผลสัญญาณเสียง (audio signal processing) การประมวลผลภาพดิจิทัล (digital image processing) และ การประมวลผลคำพูด (speech processing)

ถึงแม้ว่าในดีเอสพีนั้น สัญญาณที่เราพิจารณากันจะเป็นดิจิทัล แต่โดยทั่วไปสัญญาณเหล่านี้จากแหล่งกำเนิด จะอยู่ในรูปเดิมที่เป็นแอนะล็อก การได้มาซึ่งสัญญาณดิจิทัลซึ่งเป็นตัวแทนสัญญาณแอนะล็อกที่เราสนใจนี้ จะต้องผ่านกระบวนการแปลงสัญญาณแอนะล็อกเป็นดิจิทัล (Analog-to-Digital Conversion - ADC) หรือการดิจิไทซ์ (digitization) ซึ่งประกอบด้วยการสุ่มตัวอย่าง (sampling) (อย่าสับสนกับคำว่า สุ่ม ที่มาจาก random หรือ stochastic) และการควอนไทซ์ (quantization) ให้อยู่ในรูปดิจิทัลก่อนที่จะทำการประมวลผลต่อไป


http://th.wikipedia.org/

เครื่องมือตรวจวัด (Sensor)

เครื่องมือวัดในเทคโนโลยีรีโมทเซนชิง คือเครื่องมือที่วัดพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เครื่องมือซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีคือกล้องถ่ายรูป กล้องถ่ายวีดีโอ และเรดาร์ โดยเครื่องมือวัดจะประกอบด้วยส่วนสำคัญสามส่วนคือ

ส่วนรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (receiver)

เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับ และขยายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าให้มีความเข้มเพียงพอที่จะทำให้อุปกรณ์วัดสามารถรับรู้ได้ ตัวอย่างของส่วนเครื่องมือนี้คือ เลนส์ของกล้อง และส่วนรับคลื่นวิทยุ (antenna) ซึ่งอาจเป็นเส้นเหมือนเสาวิทยุ หรือเป็นจานกลม (แบบจานรับสัญญาณดาวเทียม) ทั้งนี้รูปแบบ ขนาด และวัสดุที่ใช้ของอุปกรณ์ส่วนนี้จะขึ้นอยู่กับช่วงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ต้องการตรวจวัด และรายละเอียดของข้อมูลของสิ่งที่ต้องการสำรวจ เช่นในช่วงคลื่นแสง ส่วนที่รับมักจะเป็นเลนส์ที่ทำจากผลึก quartz โดยมีขนาดและรูปทรงขึ้นอยู่กับว่าต้องการกำลังขยายภาพเท่าใด ในช่วงคลื่นวิทยุ ส่วนที่รับมักจะเป็นจานวิทยุ หรือเสาวิทยุ โดยมีขนาดใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับว่าสิ่งที่เล็กที่สุดที่ต้องการให้มองเห็นมีขนาดเท่าใด

ส่วนที่ทำการวัดพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Detector)

เป็นส่วนที่แปลงพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ต้องการวัด ให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องมือวัดจะเปรียบเทียบค่าได้ ซึ่งการวัดพลังงานอาจใช้
ปฏิกิริยาเคมี โดยการเคลือบสารที่ทำปฏิกิริยากับแสง (เช่น silver nitrate) ลงบนแผ่นฟิล์ม ซึ่งขนาดของปฏิกิริยาเคมีที่เกิดกับสารที่เคลือบจะแปรผันตามความเข้มของแสงที่ตกกระทบ
การเปลี่ยนพลังงานเป็นสัญญาณไฟฟ้า โดยใช้อุปกรณ์ประเภทสารกึ่งตัวนำ (semiconductor) ซึ่งจะให้ความเข้มของสัญญาณไฟฟ้าแปรผันตามความเข้มแสงที่ตกกระทบ
นอกจากนั้นส่วน detector อาจเป็นแผ่นมีมิติกว้าง-ยาว เช่นแผ่นฟิล์ม ซึ่งสามารถบันทึกภาพได้ทั้งภาพในครั้งเดียว หรืออาจเป็น scanner ซึ่งมักจะประกอบขึ้นจากแถวของอุปกรณ์รับแสง ที่จะบันทึกภาพด้วยการกวาดอุปกรณ์รับแสงนี้ไปที่ละส่วนของภาพ (คล้ายกับการทำงานของเครื่องถ่ายเอกสาร ที่จะค่อยๆ กวาดภาพจากหัวกระดาษไปยังท้ายกระดาษจึงจะได้ภาพทั้งภาพ)

ส่วนที่ทำการบันทึกค่าพลังงานที่วัดได้ (Recorder)

อาจเป็นตัวแผ่นฟิล์มเองในกรณีการใช้แผ่นฟิล์มเป็นส่วนทำการวัดพลังงาน แต่ถ้าเป็นการวัดโดยแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่วนนี้อาจจะเป็นแถบแม่เหล็ก (เช่นเดียวกับที่ใช้ในกล้องถ่ายวีดีโอ) หรืออาจใช้หน่วยเก็บความจำอื่น เช่นฮาร์ดดิสก์ หรือ RAM เช่นเดียวกับที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์
ในส่วนของเครื่องมือวัดยังมีส่วนที่จะต้องพิจารณาอีกส่วนหนึ่งคือแหล่งกำเนิดของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ใช้ในการสำรวจ โดยจำแนกได้เป็นสองกลุ่มคือ

Active sensor เป็นระบบที่เครื่องมือวัดเป็นแหล่งกำเนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเองด้วย ในระบบรีโมทเซนซิงที่วัดจากระยะไกลมาก คลื่นกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้จะจำกัดอยู่ในช่วงคลื่นวิทยุเท่านั้น เนื่องจากปัญหาของแหล่งพลังงาน
Passive sensor เป็นระบบที่อาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดอื่น เช่นใช้แสงจากดวงอาทิตย์ หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สิ่งที่ต้องการสำรวจแผ่รังสีออกมาเอง (มักจะเป็นช่วงอินฟราเรดความร้อน) ในกรณีที่ใช้แสงจากดวงอาทิตย์ เครื่องมือวัดจะทำงานได้เฉพาะในเวลากลางวันเท่านั้น นอกจากการศึกษารูปแบบของเมฆในทางอุตุนิยมวิทยา การตรวจวัดยังต้องการท้องฟ้าที่ปลอดโปร่ง ไม่มีเมฆ หรือฝนในช่วงที่ทำการตรวจวัดด้วย


http://www.gisthai.org/about-gis/sensor.html

Data Classification

เป็นกระบวนการสร้างโมเดลจัดการข้อมูลให้อยู่ในกลุ่มที่กำหนดมาให้ เพื่อแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่าง class หรือ กลุ่มของข้อมูลได้ และเพื่อทำนายว่าข้อมูลนี้ ควรจัดอยู่ใน classใด ซึ่งโมเดลที่ใช้จำแนกข้อมูลออกเป็นกลุ่มตามที่ได้กำหนดไว้ จะขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์เซตของข้อมูลทดลอง (Training data) โดยนำ Training data มาสอนให้ระบบเรียนรู้ว่ามีข้อมูลใดอยู่ในclass เดียวกันบ้าง

ผลลัพธ์ที่ได้จากการเรียนรู้ คือ โมเดลจัดประเภทข้อมูล ( classifier model ) โมเดลนี้ สามารถแทนได้ในหลายรูปแบบ เช่น Classification (IF-THEN) rules, Decision Tree, Mathematical formulae หรือ Neural networks และจะนำข้อมูลส่วนที่เหลือจาก training data เป็นข้อมูลที่ใช้ทดสอบ ( testing data ) ซึ่งเป็นกลุ่มที่แท้จริงของข้อมูลที่ใช้ทดสอบนี้จะถูกนำมาเปรียบเทียบกับกลุ่มที่หามาได้จากโมเดลเพื่อทดสอบความถูกต้อง โดยเราจะปรับปรุงโมเดลจนกว่าจะได้ค่าความถูกต้องในระดับที่น่าพอใจ หลังจากนั้นเมื่อมีข้อมูลใหม่เข้ามา เราจะนำข้อมูลผ่านโมเดล โดยโมเดลจะสามารถทำนายกลุ่มของข้อมูลนี้ได้


# Data Classification มี 2 ขั้นตอนคือ #


1. Learning : ข้อมูลทดลอง (Trainning Data) จะถูกวิเคราะห์โดย algorithm ของ classification และ Learning model ถูกแทนในรูปของ classification rules

2. Classification เมื่อได้ classification rules จะมีการตรวจสอบว่ากฎที่ได้สามารถทำนายได้ถูกต้องแม่นยำหรือไม่ โดยการนำเอา test data ที่เราทราบแล้วว่ามันอยู่ในกลุ่มใด ไปเปรียบเทียบกับ learning model จากข้อ 1 5ถ้าหากว่าผลที่ได้มีความถูกต้อง ก็จะสามารถนำ model หรือกฎที่ได้ไปทำนาย credit_rating ของข้อมูลลูกค้าที่เข้ามาใหม่ได้


http://www2.cs.science.cmu.ac.th/alumni/comp18/Seminar/DataMining/dataclassification.htm

ประเภทของระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศจำแนกตามโครงสร้างองค์การ (Classification by Organizational Structure)
การจำแนกประเภทนี้เป็นการจำแนกตามโครงสร้างขององค์การ ตั้งแต่ระดับหน่วยงานย่อยระดับองค์การทั้งหมด และระดับระหว่างองค์การ


สารสนเทศของหน่วยงานย่อย (Departmental information system)

หมายถึงระบบสารสนเทศที่ออกมาเพื่อใช้สำหรับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งขององค์การ โดยแต่ละหน่วยงานอาจมีโปรแกรมประยุกต์ใช้งานใดงานหนึ่งของตนโดยเฉพาะ เช่น ฝ่ายบุคลากรอาจจะมีโปรแกรมสำหรับการคัดเลือกบุคคลหรือติดตามผลการโยกย้ายงานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน โดยโปรแกรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องของฝ่ายบุคลากรจะมีชื่อว่าระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human resources information systems)


ระบบสารสนเทศของทั้งองค์การ (Enterprise information systems)

หมายถึงระบบสารสนเทศของหน่วยงานที่มีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่ทั้งหมดภายในองค์การ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือองค์การนั้นมีระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงทั้งองค์การ


ระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงระหว่างองค์การ (Interorganizational information systems-IOS)

เป็นระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงกับองค์การอื่นๆ ภายนอกตั้งแต่ 2 องค์การขึ้นไป เพื่อช่วยให้การติดต่อสื่อสาร หรือการประสานงานร่วมมือมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการผ่านระบบ IOS จะช่วยทำให้การไหลของสารสนเทศระหว่างองค์การหรือทั้งซัพพลายเชน (Supply chain) เป็นไปโดยอัตโนมัติ เพื่อใช้ในการวางแผน ออกแบบ การพัฒนา การผลิต และการส่งสินค้าและบริการ


การจำแนกตามหน้าที่ขององค์การ (Classification by Functional Area)

การจำแนกระบบสารสนเทศประเภทนี้จะเป็นการสนับสนุนการทำงานตาหน้าที่หรือการทำกิจกรรมต่างๆ ขององค์การ (Turban et al.,2001) โดยทั่วไปองค์การมักใช้ระบบสารสนเทศในงานที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ต่างๆ เช่น

• ระบบสารสนเทศด้านบัญชี (Accounting information system)
• ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (Finance information system)

• ระบบสารสนเทศด้านการผลิต (Manufacturing information system)

• ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (Marketing information system)

• ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human resource management information system)



การจำแนกตามการให้การสนับสนุนของระบบสารสนเทศ (Classification by Support Provided)
การจำแนกตามการให้การสนับสนุนของระบบสารสนเทศ แบ่งเป็น 3 ประเภทย่อย คือ ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ (Transaction Processing Systems) ระบบสารสนเทศแบบรายงานเพื่อการจัดการ (Management Reporting Systems) และระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems)

ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ (Transaction Processing Systems -TPS)

Sorry, your browser doesn't support Java(tm).

เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์การ เช่น การซื้อขายสินค้า การบันทึกจำนวนวัสดุคงคลัง เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า

วัตถุประสงค์ของ TPS
1) มุ่งจัดหาสารสนเทศทั้งหมดที่หน่วยงานต้องการตามนโยบายของหน่วยงานหรือตามกฎหมาย เพื่อช่วยในการปฏิบัติงาน

2) เพื่อเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานประจำให้มีความรวดเร็ว

3) เพื่อเป็นหลักประกันว่าข้อมูลและสารสนเทศของหน่วยงานมีความถูกต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและรักษาความลับได้

4) เพื่อเป็นสารสนเทศที่ป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการตัดสินใจอื่น เช่น MRS หรือ DSS


หน้าที่ของ TPS

หน้าที่ของ TPS มีดังนี้ (Haag et al.,2000:50)

1) การจัดกลุ่มของข้อมูล (Classification) คือ การจัดกลุ่มข้อมูลลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกัน

2) การคิดคำนวณ (Calculation) การคิดคำนวณโดยใช้วิธีการคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ เช่น การคำนวณภาษีขายทั้งหมดที่ต้องจ่ายในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

3) การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting) การจัดเรียงข้อมูลเพื่อทำให้การประมวลผลง่ายขึ้น เช่น การจัดเรียง invoices ตามรหัสไปรษณีย์เพื่อให้การจัดส่งเร็วยิ่งขึ้น

4) การสรุปข้อมูล (Summarizing) เป็นการลดขนาดของข้อมูลให้เล็กหรือกะทัดรัดขึ้น เช่น การคำนวณเกรดเฉลี่ยของนักศึกษาแต่ละคน

5) การเก็บ (Storage) การบันทึกเหตุการณ์ที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน อาจจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลไว้ โดยเฉพาะข้อมูลบางประเภทที่จำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ตามกฎหมาย ที่จริงแล้ว TPS เกี่ยวข้องกับงานทุกระดับในองค์การ แต่งานส่วนใหญ่ของ TPS จะเกิดขึ้นในระดับปฏิบัติการมากกว่า แม้ว่า TPS จะจำเป็นในการปฏิบัติงานในองค์การแต่ระบบ TPS ก็ไม่เพียงพอในการสนับสนุนในการตัดสินใจของผู้บริหาร ดังนั้นองค์การจึงจำเป็นต้องมีระบบอื่นสำหรับช่วยผู้บริหารด้วย ดังจะกล่าวต่อไป


ลักษณะสำคัญของระบบสารสนเทศแบบ TPS

ลักษณะที่สำคัญของระบบ TPS มีดังนี้ (Turban et al.,2001:277)

• มีการประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก

• แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่มาจากภายในและผลที่ได้เพื่อตอบสนองต่อผู้ใช้ภายในองค์การเป็นหลัก อย่างไรก็ตามในปัจจุบันหุ้นส่วนทางการค้าอาจจะมีส่วนในการป้อนข้อมูลและอนุญาตให้หน่วยงานที่เป็นหุ้นส่วนใช้ผลที่ได้จาก TPS โดยตรง

• กระบวนการประมวลผลข้อมูลมีการดำเนินการเป็นประจำ เช่น ทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกสองสัปดาห์

• มีความสามารถในการเก็บฐานข้อมูลจำนวนมาก

• มีการประมวลผลข้อมูลที่รวดเร็ว เนื่องจากมีปริมาณข้อมูลจำนวนมาก

• TPS จะคอยติดตามและรวบรวมข้อมูลภายหลังที่ผลิตข้อมูลออกมาแล้ว

• ข้อมูลที่ป้อนเข้าไปและที่ผลิตออกมามีลักษณะมีโครงสร้างที่ชัดเจน (structured data)

• ความซับซ้อนในการคิดคำนวณมีน้อย

• มีความแม่นยำค่อนข้างสูง การรักษาความปลอดภัย ตลอดจนการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลมีความสำคัญเกี่ยวข้องโดยตรงกับ TPS

• ต้องมีการประมวลผลที่มีความน่าเชื่อถือสูง


กระบวนการของ TPS

กระบวนการประมวลข้อมูลของ TPS มี 3 วิธี คือ (Stair & Reynolds, 1999)

1) Batch processing การประมวลผลเป็นชุดโดยการรวบรวมข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมที่เกิดขึ้นและรวมไว้เป็นกลุ่มหรือเป็นชุด (batch) เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง หรือจัดลำดับให้เรียบร้อยก่อนที่จะส่งไปประมวลผล โดยการประมวลผลนี้จะกระทำเป็นระยะๆ (อาจจะทำทุกคืน ทุก 2-3 วัน หรือทุกสัปดาห์)

2) Online processing คือ ข้อมูลจะได้รับการประมวลผลและทำให้เป็นเอาท์พุททันทีที่มีการป้อนข้อมูลของธุรกรรมเกิดขึ้น เช่น การเบิกเงินจากตู้ ATM จะประมวลผลและดำเนินการทันที เมื่อมีลูกค้าใส่รหัสและป้อนข้อมูลและคำสั่งเข้าไปในเครื่อง

3) Hybrid systems เป็นวิธีการผสมผสานแบบที่ 1) และ2) โดยอาจมีการรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นทันทีแต่การประมวลผลจะทำในช่วงกระยะเวลาที่กำหนด เช่น แคชเชียร์ที่ป้อนข้อมูล การซื้อขายจากลูกค้าเข้าคอมพิวเตอร์ ณ จุดขายของ แต่การประมวลผลข้อมูลจากแคชเชียร์ทุกคนอาจจะทำหลังจากนั้น (เช่น หลังเลิกงาน)


Customer Integrated Systems (CIS)



เป็นระบบสารสนเทศซึ่งพัฒนามาจาก TPS โดยลูกค้าสามารถป้อนข้อมูลและทำการประมวลผลด้วยตนเองได้ เช่น ATM (Automated teller machines) ซึ่งช่วยให้ลูกค้า สามารถติดต่อกับธนาคารได้ทุกที่และทุกเวลา ATM ทำให้ลูกค้ามีความคล่องตัวในการเข้าถึง มากขึ้น และทำให้ธนาคารไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงานจำนวนมากอีกต่อไป ซึ่งช่วยให้ธนาคารประหยัดเงินได้จำนวนหลายล้านบาทต่อปี ดังนั้นบางธนาคารจึงได้ส่งเสริมให้ลูกค้าในการใช้ ATM โดยการคิดค่าธรรมเนียมหากลูกค้าติดต่อกับพนักงานในการเบิกถอนเงินในลักษณะที่สามารถเบิกถอนได้กับเครื่อง ATM (Haag et al.,2000)

นอกจากงานของธนาคารแล้ว ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้นำระบบ CIS มาใช้เพื่อให้นักศึกษาสามารถลงทะเบียน โดยผ่านเครื่องโทรศัพท์ นอกจากนี้ CIS ยังช่วยให้ประชาชนสามารถจ่ายค่าน้ำค่าไปจากคอมพิวเตอร์ที่บ้านก็ได้


หน้าที่ การทำงานของ TPS

งานเงินเดือน (Payroll)

- การติดตามเวลาการทำงานของพนักงาน
- การคิดเงินเดือน โดยมีการหักภาษี ค่าประกัน หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ

- การออกเช็คเงินเดือนหรือการโอนเงินเดือนเข้าบัญชีให้กับลูกจ้าง

การสั่งซื้อสินค้า (Purchasing)

- การสั่งซื้อหรือบริการต่างๆ
- การบันทึกข้อมูล การส่งสินค้าหรือบริการจากซัพพลายเออร์

การเงินและการบัญชี

- การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับรายรับ (Finance and Accounting)
- การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับภาษี

- การติดตามค่าใช้จ่ายต่างๆ

การขาย (Sales)

- การบันทึกข้อมูลการขาย
- การออกใบเสร็จรับเงินหรือบิลส่งสินค้า

- การติดตามข้อมูลรายรับ

- การบันทึกการจ่ายหนี้

- การเก็บข้อมูลการส่งสินค้าหรือบริการไปยังลูกค้า

วัสดุคงคลัง

- การติดตามการใช้วัสดุภายในหน่วยงาน (Inventory Management)
- การติดตามระดับปริมาณของวัสดุคงเหลือ

- การสั่งซื้อวัสดุที่จำเป็น

ที่มา ปรับจาม Turban et al. (2001:43)


ระบบสารสนเทศแบบรายงานเพื่อการจัดการ (Management Reporting Systems MRS)

Sorry, your browser doesn't support Java(tm).

ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการทำรายงานตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยการสรุปสารสนเทศที่มีอยู่ไว้ในฐานข้อมูล (Haag et al., 2000:54) หรือช่วยในการตัดสินใจในลักษณะที่โครงสร้างชัดเจนและเป็นเรื่องที่ทราบล่วงหน้า

หน้าที่ของแบบ MRS
1) ช่วยในการตัดสินใจงานประจำของผู้บริหารระดับกลาง

2) ช่วยในการทำรายงาน

3) ช่วยในการตัดสินใจที่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ และมีโครงสร้างแน่นอน เช่น การอนุมัติสินเชื่อให้กับลูกค้า


ลักษณะของ MRS

1) ช่วยในการจัดทำรายงานซึ่งมีรูปแบบที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐานตายตัว

2) ใช้ข้อมูลภายในที่เก็บไว้ในฐานข้อมูล

3) ช่วยในการวางแผนงานประจำ และควบคุมการทำงาน

4) ช่วยในการตัดสินใจที่เกิดขึ้นประจำหรือเกิดขึ้นบ่อยๆ

5) มีข้อมูลในอดีต ปัจจุบัน และวิเคราะห์แนวโน้มอนาคต

6) ติดตามการดำเนินงานภายในหน่วยงานเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับเป้าหมายและส่งสัญญาณหากมีจุดใดที่ต้องการการปรับปรุงแก้ไข


ประเภทของรายงาน MRS

รายงานจาก MRS มีลักษณะต่างๆ ดังนี้

1) รายงานที่จัดทำเมื่อต้องการ (Demand reports) เพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจ เป็นรายงานที่จัดเตรียมรูปแบบรายงานล่วงหน้าและจะจัดทำเมื่อผู้บริหาร ต้องการเท่านั้น

2) รายงานที่ทำตามระยะเวลากำหนด (Periodic reports) โดยกำหนดเวลา และรูปแบบของรายงานไว้ล่วงหน้า เช่น มีการจัดทำรายงานทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน ทุกปี เช่น ตารางเวลาการผลิต

3) รายงานสรุป (Summarized reports) เป็นการทำรายงานในภาพรวม เช่น รายงานยอดขายของพนักงานขาย จำนวนนักศึกษาลงทะเบียนวิชา MIS

4) รายงานเมื่อมีเงื่อนไขเฉพาะเกิดขึ้น (Exception reports) เป็นการจัดทำรายงานเมื่อมีเกณฑ์เงื่อนไขเฉพาะ เพื่อตรวจสอบเงื่อนไขต่างๆ ว่าแตกต่างจากที่วางแผนไว้หรือไม่ เช่น การกำหนดให้เศษของที่เหลือ (scrap) จากการผลิตในโรงงานเป็น 1 เปอร์เซ็นต์ แต่ในการผลิตช่วงหลังกลับมีเศษของที่เหลือ 5 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นอาจมีการเขียนโปรแกรม ในการประมวลผลเพื่อหาว่าเศษของที่เหลือเกินจากที่กำหนดไว้ได้อย่างไร


ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems-DSS)

Sorry, your browser doesn't support Java(tm).

ระบบสารสนเทศแบบ DSS เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจ ซึ่งมีลักษณะมีโครงสร้างไม่ชัดเจน โดยนำข้อมูลมาจากหลายแหล่งช่วยในการนำเสนอและมีลักษณะยืดหยุ่นตามความต้องการ

ลักษณะของ DSS
1) ระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับการสนับสนุนผู้ตัดสินใจทางการบริหารทั้งที่เป็นตัวบุคคลหรือกลุ่ม โดยการตัดสินใจนั้นจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่มีลักษณะเป็นแบบ ไม่มีโครงสร้าง (unstructured situations) โดยจะมีการนำวิจารณญาณของมนุษย์กับข้อมูล จากคอมพิวเตอร์มาใช้ประกอบในการตัดสินใจ

2) ระบบ DSS ช่วยในการตอบสนองความต้องการที่ไม่ได้คาดการณ์มาก่อนโดยผู้ใช้สามารถปรับข้อมูลใน DSS ได้ตลอดเวลาเพื่อจัดการกับเงื่อนไขต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยใช้การวิเคราะห์ที่เรียกว่า Sensitivity Analysis

3) ช่วยในการตัดสินใจที่ต้องการความรวดเร็วสูง เพื่อใช้ประกอบในการกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขัน ดังนั้น DSS จึงมีลักษณะการโต้ตอบได้ (interactive)

4) เสนอทางวิเคราะห์ในทางเลือกต่างๆ ในสถานการณ์ที่มีความซับซ้อน

5) จัดการเก็บข้อมูลซึ่งมาจากหลายแหล่งได้ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน

6) นำเสนอได้ทั้งรายงานที่เป็นข้อความและกราฟฟิค



http://elearning.northcm.ac.th/it/lesson8-1.asp

07 มีนาคม 2553

บันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวในไทย

ข้อมูลจากกรมทรัพยากรธรณี ระบุว่า สถิติการเกิดแผ่นดินไหวขนาดตั้งแต่ 5 ริกเตอร์ขึ้นไป ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ระหว่างปี 2518-2549 รวม 8 ครั้ง ได้แก่

วันที่ 17 ก.พ.2518 แผ่นดินไหวขนาด 5.6 ริกเตอร์ ศูนย์กลางที่ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก รู้สึกได้ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพฯ มีความเสียหายเล็กน้อย

วันที่ 15 เมษายน 2526 แผ่นดินไหวขนาด 5.5 ริกเตอร์ ศูนย์กลางที่ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี รู้สึกแผ่นดินไหวชัดเจนในกรุงเทพฯ

วันที่ 22 เมษายน 2526 แผ่นดินไหวขนาด 5.9 ริกเตอร์ ศูนย์กลางที่ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี รู้สึกแผ่นดินไหวตลอดภาคกลางและภาคเหนือหลายคนตื่นตระหนก เสียหายเล็กน้อยแก่อาคารใน กทม.

วันที่ 22 เมษายน 2526 แผ่นดินไหวขนาด 5.2 ริกเตอร์ ศูนย์กลางที่ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี แผ่นดินไหวเกิดภายหลังของเหตุการณ์แรก

วันที่ 11 กันยายน 2537 แผ่นดินไหวขนาด 5.1 ริกเตอร์ ศูนย์กลางที่อำเภอพาน จ.เชียงราย รู้สึกได้ที่ อ.สรวย อ.พาน จ.เชียงราย มีความเสียหายกับสิ่งก่อสร้างใกล้ศูนย์กลาง เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน วัด ใน อ.พาน จ.เชียงราย

วันที่ 9 ธันวาคม 2538 แผ่นดินไหวขนาด 5.0 ริกเตอร์ ศูนย์กลางที่อำเภอร้องกวาง จ.แพร่ รู้สึกได้ที่ จ.เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ และน่าน เสียหายเล็กน้อยที่ จ.แพร่

วันที่ 21 ธ.ค.2538 แผ่นดินไหวขนาด 5.2 ริกเตอร์ ศูนย์กลางที่อำเภอพร้าว จ.เชียงใหม่ รู้สึกได้ที่ จ.เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา และแม่ฮ่องสอน เสียหายเล็กน้อยใกล้ศูนย์กลาง เสียชีวิต 1 คน เพราะล้มศีรษะกระแทกพื้น และครั้งล่าสุดวันที่

13 ธันวาคม 2549 แผ่นดินไหวขนาด 5.1 ริกเตอร์ ศูนย์กลางที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ รู้สึกที่ อ.แม่ริม อ.สันทราย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และ จ.เชียงราย

16/5/2550 แผ่นดินไหวที่เชียงราย
เมื่อเวลาประมาณ 15.57 น. ของวันที่ 16 พฤษภาคม 2550 กรมอุตุนิยมวิทยาตรวจพบการเกิดแผ่นดินไหว ขนาด 6.1 ริกเตอร์ มีศูนย์กลางอยู่บริเวณพรมแดนลาว-พม่า ห่างจาก จ.เชียงราย ประมาณ 95 กิโลเมตร หรือละติจูดที่ 21.1 องศาเหนือ ลองจิจูดที่ 100.32 องศาตะวันออก มีรายงานความรู้สึกสั่นไหวที่หลายจังหวัดทางภาคเหนือ และบนอาคารสูงในกรุงเทพมหานคร เบื้องต้นไม่มีรายงานความเสียหาย

ลักษณะข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

โลกมีความสลับซับซ้อนมากเกินกว่าที่จะเก็บข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับโลกไว้ในรูปข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จึงต้องเปลี่ยนปรากฏการณ์บน ผิวโลกจัดเก็บในรูปของตัวเลขเชิงรหัส (digital form) โดยแทนปรากฏการณ์เหล่านั้นด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เรียกว่า Feature

ประเภทของ Feature
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นตัวแทนของปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์บนโลกแผนที่กระดาษบันทึกตำแหน่งทางภูมิศาสตร์และแทนสิ่งต่างๆ บนโลกที่เป็นลายเส้นและพื้นที่ด้วยสัญลักษณ์แบบ จุด เส้น พื้นที่และตัวอักษร ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะใช้ feature ประเภทต่างๆ ในการแทนปรากฏการณ์โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
จุด (Point)
เส้น (Arc)
พื้นที่ (Polygon)


จุด (Point)
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่มีตำแหน่งที่ตั้งเฉพาะเจาะจง หรือมีเพียงอย่างเดียว สามารถแทนได้ด้วยจุด (Point Feature)
หมุดหลักเขต
บ่อน้ำ
จุดชมวิว
จุดความสูง
อาคาร ตึก สิ่งก่อสร้าง
ข้อพิจารณาเกี่ยวกับมาตราส่วน
มาตราส่วนแผนที่จะเป็นตัวกำหนดว่าจะแทนปรากฏการณ์บนโลกด้วยจุดหรือไม่
ตัวอย่างลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นจุด
ตัวอย่างเช่น บนแผนที่โลก มาตราส่วนเล็กจะแทนค่าที่ตั้งของเมืองด้วยจุด แม้ว่าในความเป็นจริงเมืองนั้นจะครอบคลุมพื้นที่จำนวนหนึ่งก็ตาม ในขณะเดียวกันบนแผนที่มาตราส่วนที่ใหญ่ขึ้นเมืองดังกล่าวจะปรากฏเป็นพื้นที่และแต่ละอาคารจะถูกแทนค่าด้วยจุด

ข้อมูลค่าพิกัดของจุด
ค่าพิกัด x, y 1 คู่ แทนตำแหน่งของจุด
ไม่มีความยาวหรือพื้นที่


เส้น (Arc)
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่วางตัวไปตามทางระหว่างจุด 2 จุด จะแทนด้วยเส้น (Arc Feature)
ตัวอย่างลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นเส้น
ลำน้ำ
ถนน
โครงข่ายสาธารณูปโภค
เส้นชั้นความสูง
ข้อจำกัดเกี่ยวกับ Arc
Arc 1 เส้น มี Vertex ได้ไม่เกิน 500 Vertex โดย vertex ลำดับที่ 500 จะเปลี่ยนเป็น node และเริ่มต้น เส้นใหม่ด้วยการ identifier ค่าใหม่โดยอัตโนมัติ

ข้อมูลค่าพิกัดของ Arc
Vertex (ค่าพิกัด x, y คู่หนึ่งบน arc) เป็นตัวกำหนดรูปร่างของ arc
arc หนึ่งเส้นเริ่มต้นและจบลงด้าน Node
arc ที่ตัดกันจะเชื่อมต่อกันที่ Node
ความยาวของ arc กำหนดโดยระบบค่าพิกัด



พื้นที่ (Polygon)
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่มีพื้นที่เดียวกันจะถูกล้อมรอบด้วยเส้นเพื่อแสดงขอบเขต ตัวอย่างข้อมูลที่เป็นพื้นที่
เขตตำบล อำเภอ จังหวัด
ขอบเขตอุทยานแห่งชาติ
เขตน้ำท่วม
ข้อพิจารณาเกี่ยวกับมาตราส่วน
มาตราส่วนของแหล่งที่มาของข้อมูลจะเป็นตัวกำหนดการแทนปรากฏการณ์บนโลกแห่งความเป็นจริงด้วย point หรือ polygon ตัวอย่าง เช่น อาคารบนมาตราส่วนขนาดใหญ่ เช่น 1 : 4,000 เป็น polygon ที่ถูกกำหนดขึ้น โดยขอบเขตอาคาร บนแผนที่ 1 : 50,000 ที่มาตราส่วนเล็ก อาคารจะแสดงด้วยจุด

ข้อมูลค่าพิกัดของ Polygon
polygon จะประกอบด้วย arc ตั้งแต่ 1 เส้นขึ้นไป แต่มี 1 Label point
มี Label point 1 point อยู่ภายในพื้นที่ปิดและใช้ในการแยกแยะแต่ละ polygon ออกจากกัน

http://www.gisthai.org/about-gis/data-gis.html

ดิจิทัลไทยแลนด์ (Digital Thailand)

เป็นรูปแบบใหม่ในการให้บริการการ ศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ด้านภูมิสารสนเทศของประเทศไทยแบบไร้พรมแดน ดำเนินงานโดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ กรมแผนที่ทหาร และศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและจัดเตรียมข้อมูล การสำรวจโลกผ่านซอฟต์แวร์ NASA World Wind ซึ่งเป็นซอฟแวร์รหัสเปิด ให้ Source Code สามารถพัฒนาต่อยอดโดยปราศจากค่าใช้จ่ายใด ๆ รูปแบบการใช้งานง่ายๆ และสะดวกต่อการเรียนรู้ โดยทีมพัฒนาได้นำเข้าข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ประเทศไทยที่ทันสมัยและมีรายละเอียดสูง รวมทั้งข้อมูล ต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของคนไทย ได้แก่ ข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมแลนด์แซทที่บันทึกภาพในปี 2549 ทั่วประเทศไทย, ขอบเขตการ ปกครองระดับจังหวัดและอำเภอ ที่ตั้งอำเภอ , เส้นทางคมนาคม และสถานที่สำคัญอื่นๆ รวมถึงข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมรายละเอียด 2.5 เมตร ทั่วประเทศไทย
ลักษณะโดดเด่นอีกประการหนึ่งของ ดิจิทัลไทยแลนด์ คือ สามารถทำงานแบบ
ออฟไลน์เพื่อให้ผู้ที่ สนใจเรียนรู้ได้เข้าถึงเทคโนโลยีสำรวจโลกจากห้วงอวกาศทุกที่ ทุกเวลาโดยไร้ข้อจำกัดทางอินเตอร์เน็ต ผลที่คาดว่าจะได้รับในระยะแรกคือการพัฒนา
สื่อการเรียนรู้ภูมิสารสนเทศในระดับนักเรียนรวมทั้งเผยแพร่เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศที่ทันสมัย เข้าใจง่าย โดยได้เชื่อมโยงข้อมูลเชิงบรรยาย สถานที่สำคัญต่างๆ เช่น เขื่อน ลักษณะภูมิประเทศและภูมิสัณฐานที่โดดเด่น วัดสำคัญๆ อุทยานแห่งชาติและอุทยานประวัติศาสตร์รวมถึงสามารถจำลอง การบินไปจากจุดที่สนใจไปยังอีกจุดหนึ่งในลักษณะภาพสามมิติเสมือนจริง สำหรับการดำเนินการโครงการดิจิทัสไทยแลนด์ แบ่งเป็น 2 ระยะคือระยะ แรก ดำเนินการแจกจ่ายโปรแกรมในรูปแบบ DVD ให้แก่ โรงเรียน
นักเรียนและ ประชาชนทั่วไป เพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้แบบออฟไลน์ ส่วนใน ระยะที่สองจะพัฒนาบริการออนไลน์ผ่านสู่เครือข่ายอินเตอร์เนท



ภาพจากโปรแกรม NASA WorldWind

ข้อมูลภูมิศาสตร์่ที่เผยแพร่จากโปรแกรม NASA World Wind ประกอบไปด้วย ภาพถ่ายจากดาวเทียม LANDSAT5-TM ทั้งประเทศ (รายละเอียดที่ 25เมตรต่อจุดภาพ) ,ภาพถ่ายจากดาวเทียมSPOT5(รายละเอียดที่ 2.5 เมตรต่อจุดภาพ) ,ข้อมูลความสูงของพื้นผิวโลกเป็นข้อมูลของ NASA ได้จัดเตรียมไว้ในโปรแกรม(รายละเอียด 30เมตร ต่อจุดภาพ)


ภาพจากดาวเทียม LANDSAT5-TM บริเวณ ภูกระดึง จังหวัดเลย

ที่มา

http://digitalthailand.gistda.or.th/

TIME LINE ของการทำแผนที่ตามหลักวิชาการในประเทศไทย

เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ การค้นคว้า วิวัฒนาการการทำแผนที่ตามหลักวิชาการในประเทศไทย จึงขอนำเสนอ TIME LINE ของการทำแผนที่ดังนี้

การทำแผนที่ภายในเริ่มเมื่อปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พ.ศ. 2411 ได้มีการทำแผนที่บริเวณ ชายพระราชาอาณาเขตด้านตะวันตกของไทย เพื่อใช้กำหนดแนวเขตพรมแดนไทยกับพม่า


ต่อมา พ.ศ. 2413 ได้ทำแผนที่กรุงเทพฯ และกรุงธนบุรี โดยชาวต่างประเทศเป็นผู้ทำความเจริญในการทำแผนที่ของประเทศไทย เริ่มจริงจังในสมัยรัชกาลที่ 5


พ.ศ. 2418 ได้ทรงตั้งกองทำแผนที่ขึ้นตามคำแนะนำของ นายเฮนรี อาลาบาสเตอร์ ที่ปรึกษาส่วนพระองค์ โดยมุ่งประโยชน์ในการตัดถนนสายต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ การวางสายโทรเลขจากกรุงเทพฯ ไปพระตะบองและทำแผนที่ปากอ่าวเพื่อการเดินเรือ


ใน พ.ศ. 2424 ได้จ้าง ชาวอังกฤษ คือ แมคคาร์ธี มาเป็นเจ้ากรมแผนที่ มีการวางโครงข่ายสามเหลี่ยมจากประเทศไทยไปลาว-เขมร ต่อมาได้ทำแผนที่มาตราส่วน 1 : 2,000,000 แสดงดินแดนประเทศไทย รวมทั้งลาว - เขมร และทำแผนที่บริเวณที่ราบ ภาคกลาง มาตราส่วน 1 : 100,000 งานทำแผนที่ของประเทศไทยระยะต่อมา พอสรุปได้ดังนี้


1. พ.ศ. 2444 เริ่มสำรวจและทำแผนที่โฉนดขึ้นเป็นครั้งแรก


2. พ.ศ. 2447 มีการทำแผนที่ตามแนวพรมแดนด้านลาวและเขมรโดยชาวฝรั่งเศส


3. พ.ศ. 2453 - 2493 ทำแผนที่ทั่วไปภายในประเทศ เป็นแผนที่มาตราส่วน 1 : 50,000 ระยะเวลา 40 ปี นี้ทำแผนที่เสร็จประมาณ 50 %


4. พ.ศ. 2455 เริ่มสำรวจทำแผนที่ทางทะเล


5. พ.ศ. 2466 เริ่มงานสมุทรศาสตร์


6. พ.ศ. 2468 นายชัตตัน (N.Sutton) อาจารย์วิชาภูมิศาสตร์โรงเรียนสวนกุหลาบ ร่วมมือกับกรมแผนที่ทหาร ทำแผนที่เย็บเล่ม ขึ้นเป็นครั้งแรก




7. พ.ศ. 2495 เริ่มโครงการทำแผนที่ประเทศไทย ตามข้อตกลงระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาเป็นการทำแผนที่มาตราส่วน 1: 50,000 ขึ้นใหม่ทั่วประเทศ


8. พ.ศ. 2504 กรมแผนที่ทหารได้ทำแผนที่เฉพาะวิชา มาตราส่วน 1 : 1,000,000 ขึ้น 10 ชนิด


9. พ.ศ. 2507 ปรับปรุงแก้ไขแผนที่เฉพาะให้ทันสมัยขึ้น และย่อส่วนเป็นมาตราส่วน 1 : 2,500,000


10. พ.ศ. 2510 - 2512 เป็นต้นมา ก็ปรับปรุงแก้ไขแผนที่เฉพาะวิชาชุดเดิม แล้วรวบรวมเป็นแผนที่เล่มมีคำอธิบายประกอบแผนที่ ี่เฉพาะแต่ละชนิด ทำให้สะดวกในการศึกษาและใช้เป็นอย่างมา


11. พ.ศ. 2514 ชุดแผนที่ 1:50 000จึงได้เปลี่ยนไปด้วยเป็น L7017 ใช้พื้นหลักฐาน Indian 1975 ครอบคลุมประเทศไทย 830 ระวาง


12.พ.ศ.2546 ชุดแผนที่ 1:50 000จึงได้เปลี่ยนไปด้วยเป็น L7018 ใช้พื้นหลักฐาน WGS84 ครอบคลุมประเทศไทย 830 ระวาง


13.พ.ศ.2551 ชุดแผนที่ 1501 มาตราส่วน 1: 250 000 ที่ใช้พื้นหลักฐาน WGS84 เริ่มให้บริการ จำหน่าย ทั่วประเทศ






ที่มา....พ.อ.ศุภฤกษ์ ชัยชนะ

การหารูปทรงของ GEOID โดยทฤษฎีขอบเขตของ STOKES

การหารูปร่างที่แท้จริงของ GEOID เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ พยายามค้นคว้าหามานาน ถ้าเรารู้ถึงรูปร่างที่แท้จริงของ GEOID ย่อมส่งผลทำให้เราสามารถรู้ถึง โครงสร้างภายในโลกของเรา เพราะโลกของเรามีมวลที่เกิดจากสสารหลายชนิดรวมกัน ในงานสำรวจทาง GEODESY รูปร่าง GEOID มีความเกี่ยวข้องในแง่ที่ว่า GEOID เป็นพื้นอ้างอิงทางดิ่ง นั่นคือ ความสูงภูมิประเทศจะอ้างอิงความสูงเหนือระดับ GEOID ขณะที่ พื้นอ้างอิงทางราบเราใช้รูปทรงของ Ellipsoid นั่นคือ ตำแหน่งพิกัดจะอ้างอิงบนรูปทรง Ellipsoid

หลายท่านอาจสงสัยว่า ทำไม พื้นอ้างอิงทางราบจึงใช้พื้นผิว Ellipsoid แทนที่จะเป็นผิว GEOID คำตอบก็คือ เนื่องจากพื้นผิว Ellipsoid มีลักษณะเป็นรูปทรงทางเรขาคณิต ทำให้มีกฎเกณฑ์ และสูตรสำหรับการกำหนดตำแหน่งได้มากกว่า GEOID ซึ่งมีรูปร่างที่ไม่มีสูตรทางคณิตศาสตร์ในการคำนวณอย่างแน่นอน เนื่องจากเราไม่สามารถทราบความหนาแน่นของมวลสารที่แน่นอนของโลก เนื่องจากความยุ่งยากและสลับซับซ้อนของวิธีการคำนวณหา GEOID บางประเทศจึงได้ใช้ระดับน้ำทะเลปานกลางเป็นผิวระดับอ้างอิงความสูง ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับ GEOID ส่งผลให้พื้นอ้างอิงทางดิ่งของเรา แสดงลักษณะภูมิประเทศสูงต่ำในลักษณะที่บุคคลทั่วไปรับรู้ได้ (พื้นอ้างอิงทางดิ่งทำให้เรารู้การไหลของน้ำ เป็นตัวอย่าง)

การหารูปร่างของ GEOID โดยทฤษฎีขอบเขตของ STOKES อยู่ภายใต้สมมติฐานไม่มีมวลสารใดนอกพื้น GEOID ดังนั้นมวลสารของโลกเหนือ GEOID จะต้องถูกยุบสู่พื้น GEOID จึงทำให้สามารถที่จะคำนวณหา GEOID ได้จากสูตรของสโตกส์ (Stokes’ formula) ซึ่งเชื่อมโยงกับสูตรของบรุน (Brun’s formula) นั่นคือ ความสูงGEOID, N, (geoid undulation) เขียนเป็นสมการได้








ในการคำนวณความสูง GEOID ณ ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งโดยการใช้สมการ (1) นั้นจะต้องใช้ข้อมูลความโน้มถ่วงต่อเนื่องทั่วทั้งบริเวณผิวโลก แต่ในทางปฏิบัตินั้นสามารถคำนวณในบริเวนพื้นที่จำกัด ด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดผลกระทบต่อการคำนวณ จึงต้องมีวิธีการที่สมเหตุสมผลมาทดแทนดังนี้ ประการแรกโครงสร้างความยาวคลื่นช่วงยาวของGEOID ขาดหายไป ซึ่งช่วงคลื่นยาวของ GEOID นี้สามารถคำนวณได้โดยใช้แบบจำลอง GEOID สากล, NEGM, ทดแทน ประการที่สองข้อมูลความโน้มถ่วงถูกวัดเป็นจุดตามแนวถนนทุกๆ 5- 10 กิโลเมตรโดยประมาณและข้อมูลเหล่านี้ขาดความต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องใช้การคำนวณแบบผลรวมอนุกรมแทนการอินทิเกรด ซึ่งจะได้โครงสร้างความยาวคลื่นช่วงปานกลางของ GEOID, NΔg, ส่วนของโครงสร้างความยาวคลื่นช่วงสั้นของ GEOID, NDEM, นั้นจะมาจากการใช้ DEM ที่มีความละเอียดเชิงพื้นที่ประมาณ 90 เมตรหรือสูงกว่า โครงสร้าง GEOID ส่วนนี้เกิดจากการใช้ DEM ในการคำนวณค่าแก้เนื่องจากสภาพภูมิประเทศ (terrain correction) บริเวณรอบตำแหน่งที่คำนวณหาค่า N

ในประเทศไทย ได้เริ่มมีการวิจัยเพื่อที่จะหา LOCAL GEOID ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการวิจัยร่วมระหว่าง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และกรมแผนที่ทหาร โดยการใช้เทคนิค Remove and Restore หาค่า N โดยการเชื่อมโยงกับแบบจำลองGEOID สากล สภาพความโน้มถ่วงอนอมอลลี่ และความสูงจาก DEM ซึ่งสามารถแสดงความสัมพันธ์อย่างง่ายได้ดังสมการที่ (2)

N = NEGM + NΔg + NDEM (2)

และด้วยการเชื่อมโยงสมการที่ (2) เข้ากับข้อมูลการเดินระดับทั่วประเทศของกรมแผนที่ทหารอย่างเหมาะสมที่สุดในทางสถิติ คาดว่าจะทำให้ได้ LOCAL GEOID ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย ส่งผลให้สามารถได้ค่า ระดับจากข้อมูล จากการรังวัด GPS ได้ในระดับ ต่ำกว่าระดับ +/- 10 ซม. โดยเฉลี่ย


ภาพ Animate แสดงรูปร่างของ GEOID










ภาพ Animate แสดงรูปร่างของ GEOID แบบหยาบ ที่ได้จากข้อมูลการวัดความโน้มถ่วงโดยดาวเทียมคู่แฝดที่ชื่อ GRACE (Gravity Recovery And Climate Experiment) ของประเทศสหรัฐอเมริกา (ที่มา: http://www.csr.utexas.edu/grace/gallery/animations/ggm01/index.html)

ดร.พุทธิพล ดำรงชัย

06 มีนาคม 2553

รูปแผนที่โลกอีก 250 ปีข้างหน้า

"Pangea Ultima" will form 250 million years in the Future


ทวีปทั้งหลายจะเคลื่อนตัวมาประชิดรวมกัน จากการเคลื่อนย้ายและยุบตัวของพื้นมหาสมุทรน่าสนใจดีค่ะ ประเทศไทยจะไปอยู่ไหนกัน

ที่มา
http://www.scotese.com/future2.htm

แผนที่โลกใหม่


แผนที่นี้ ภายใต้ชื่อ Future Map Of The World ถูกสร้างขึ้นเนื่องจากเมื่อปี 1978 (พ.ศ. 2521) นาย Gordon ได้มองเห็นภาพอนาคตของโลกเป็นครั้งแรก โดยก็มองเห็นตัวเอง อยู่สูงขึ้นไปในอวกาศแล้วมองกลับลงมาบนโลก หลังจากนั้นอีกหลายปีก็เห็นภาพเดิมอีกครั้ง ทำให้เข้าสามารถสร้าง แผนที่โลกในอนาคตขึ้นมาและพิมพ์ในปี พ.ศ.2525 โดยนาย Grodon เชื่อว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นในระหว่างปี 1998-2012(พ.ศ.2541-พ.ศ.2555) โดยเหตุการณ์จะเกิดจากต้นเหตุสำคัญคือแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิดอันเนื่องมาจาก แผ่นทวีปของเปลือกโลกเคลื่อน โดยสภาพการเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปในแต่ละพื้นที่

Topographic Mapping

Common Mapping Scales




7.5 minute 1:24,000 scale, 1 inch represents 2,000 feet




1:100,000 scale, 1 inch represents about 1.6 miles




1:250,000 scale, 1 inch represents about 4 miles



ที่มา http://egsc.usgs.gov/isb/pubs/booklets/topo/topo.html

การสำรวจทาง GEODETIC

การสำรวจต่างๆที่กระทำบนพื้นโลกในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานแผนที่ จะต้องมีการทอนค่าที่รังวัดลงพื้นหลักฐานที่สามารถนำไปคำนวณได้เนื่องจาก พื้นผิวโลกของเรามีรูปทรงที่ไม่แน่นอนและมิใช่รูปทรงทางเรขาคณิต ที่มีสูตรและการคำนวณที่แน่นอน การสำรวจที่มีการทอนลงพื้นผิวหลักฐานที่แน่นอนเช่น รูปทรงรี WGS84 เราเรียกว่า การสำรวจทาง GEODETIC

การสำรวจทาง GEODETIC ก็คือ การสำรวจ หมุดหลักฐานทางราบ การสำรวจทางดิ่ง และการสำรวจค่า แรงโน้มถ่วงของโลกหรือ Gravity

การสำรวจหมุดหลักฐานทางราบ ปัจจุบัน จะเป็นการสำรวจด้วย เครื่องรังวัดด้วยดาวเทียม GPS การสำรวจทางดิ่ง ก็เป็นการสำรวจโยงยึดจากจุดน้ำทะเลปานกลาง การสำรวจที่กล่าวมานี้ เป็นการสำรวจที่ต้องสำรวจอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากพื้นผิวโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

เหล่านี้ ทำให้เกิดข้อสงสัยหลายประการเนื่องจาก ผิวโลกมีการเปลี่ยนแปลง ค่าน้ำทะเลปานกลางบริเวณเกาะหลัก ก็อาจจะไม่ใช่น้ำทะเลปานกลาง เมื่อ ห้าสิบปีที่แล้ว หมุดหลักฐานทางราบ ที่เขาสะแกกรัง ก็มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีการเลื่อนตัว ของเปลือกโลก

ทั้งหมดนี้ ทำให้การสำรวจค่าแรงโน้มถ่วงของโลกหรือ Gravity มีความสำคัญขึ้นมา เนื่องจาก ค่าแรงโน้มถ่วงของโลก มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ถึงจะมีการเปลี่ยนแปลงบนผิวโลกมากมาย เพราะมวลสารที่อยู่ใต้ผิวโลก ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

ถ้ามีการสำรวจค่าแรงโน้มถ่วงของโลกมากขึ้นในประเทศไทย ค่าเหล่านี้ จะเป็นหลักสำคัญในการหาค่า ความต่างระหว่าง ผิว ellipsoid และผิว Geoid นำไปสู่การสำรวจทางดิ่ง จากค่าที่ได้จากการรังวัดด้วยดาวเทียม GPS และลดการสำรวจทางดิ่ง ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วกว่าค่าแรงโน้มถ่วง อ่านเรื่อง แนวทางการหาความสูงยีออยจากการรังวัดด้วยเครื่องมือ GPS แบบรังวัดจาก http://www.resgat.net/modules.php?name=News&file=article&sid=131

ปัจจุบันเครื่องมือการรังวัด แรงโน้มถ่วง เป็นการรังวัดแบบสัมพันธเป็นส่วนมาก ซึ่งเป็นการรังวัดจุดอื่นแล้วต้องมาบรรจบที่จุดแรกออก ภายในระยะเวลาอันจำกัด อ่านการรังวัด Gravity ที่ http://www.rtsd.mi.th/Geodesy/pdf/4.pdf ทำให้การสำรวจค่าแรงโน้มถ่วงในเมืองไทย ไม่ค่อยมีค่าสำรวจบริเวณป่า ภูเขา ซึ่งถ้ามีการเพิ่มการรังวัดบริเวณป่าภูเขา ในประเทศไทย ย่อมนำไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางแน่นอน


พ.อ.ศุภฤกษ์ ชัยชนะ