23 กุมภาพันธ์ 2553

สรุปภาพรวมที่สำคัญของ ArcGIS 9.2 (Highlights)

มีสภาพแวดล้อมใหม่ที่ครบถ้วนสมบูรณ์เพื่อรองรับการประมวลผลทางภูมิศาสตร์ (Geoprocessing)

การสร้างแบบจำลอง และการเขียนสคริปต์ ซึ่งจะประกอบไปด้วย หน้าต่าง ArcToolbox แบบเคลื่อนย้ายตำแหน่งได้ (Dockable) โดยจะรวบรวมเครื่องมือสำหรับการประมวลผลทางภูมิศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพต่าง ๆ เอาไว้ในทุก ๆ โปรแกรมของ ArcGIS และสามารถเรียกใช้งานได้กับทุกๆ ชนิดข้อมูลใน ArcToolbox ได้ทำการรวมเครื่องมือชื่อว่า “ModelBuilder” เอาไว้เพื่อเชื่อมโยงกระบวนการการประมวลผลทางภูมิศาสตร์ในแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างเป็นแบบจำลองในรูปแบบโต้ตอบกับผู้ใช้งาน ทั้งนี้ยังมีส่วนติดต่อการทำงานรูปแบบใหม่แบบบรรทัดคำสั่ง และทุก ๆ ฟังก์ชั่นของการประมวลผลทางภูมิศาสตร์ (Geoprocessing) สามารถที่จะนำไปสร้างเป็นสคริปต์ เพื่อเรียกใช้งานในรูปแบบของโปรแกรม โดยทำงานร่วมกับภาษาเขียนสคริปต์ของบริษัทภายนอกอื่น ๆ (Third party) นอกจากนั้นไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือ (Tools) แบบจำลอง (Models) และการเขียนสคริปต์ สามารถที่จะนำมาปรับปรุง เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานเฉพาะด้าน โดยสามารถแจกจ่ายและจัดเก็บไว้ภายในโฟลเดอร์ หรือ ฐานข้อมูลภูมิศาสตร์อัจฉริยะ (Geodatabase) ต่าง ๆ ตามที่ต้องการได้


เพิ่มและปรบปรุงเครื่องมือในการแสดงป้ายข้อมูล (Label) บนแผนที่ และ เครื่องมือในการสร้างและแก้ไขข้อมูลตัวอักษร (Annotation)
แถบเครื่องมือป้ายข้อมูล (Label) และข้อมูลตัวอักษร (Annotation) ใหม่ซึ่งเรียกใช้งานใน ArcMap ด้วย ตัวจัดการป้ายข้อมูล (Label) ตัวใหม่นี้คุณจะสามารถกำหนดคุณสมบัติของป้ายข้อมูล (Label) ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเปิดหน้าต่างโต้ตอบ “Layer properties” ของแต่ละชั้นข้อมูลขึ้นมาโดยตรง สำหรับข้อมูลตัวอักษร (Annotation) ใน Geodatabase ชั้นข้อมูลตัวอักษรตั้งแต่หนึ่งชั้นขึ้นไป สามารถที่จะถูกจัดเก็บไว้ภายในชั้นข้อมูลภูมิศาสตร์หนึ่ง ๆ ได้ ซึ่งเรียกว่า Multiple Annotation classes โดยในแต่ละชั้นข้อมูลตัวอักษรหนึ่ง ๆ จะสามารถถูกกำหนดคุณสมบัติเฉพาะของแต่ละชั้นได้ มีเครื่องมือสำหรับการแปลงข้อมูลตัวอักษร (Annotation) จาก Coverage และ CAD ให้เป็นข้อมูลตัวอักษร (Annotation) ของ Geodatabase


ArcCAtalot สามารถจัดการข้อมุล Raster ไดอย่างสมบูรณ์แบบโดยอาศัย ArcCatalog และปัจจุบันข้อมูล Raster ได้ถูกรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ Geodatabase
มีการพัฒนาที่หลากหลาย ได้แก่เครื่องมือใหม่สำหรับการสร้างและทำงานกับ Raster Catalog หากดูใน ArcCatalog จะมีรูป Icon ของ Raster Catalog ใหม่เกิดขึ้นมา และจะมาพร้อมกับตัวคัดเลือก (Browser) ที่แสดงรายละเอียดพิเศษโดยรวมเอาตารางและ “Geographic View” เอาไว้ด้วยกัน มีตัวเลือกสำหรับการแสดง (Rendering) ข้อมูล Raster ใหม่ โดยชุข้อมูล Raster และ Raster catalog จะสามารถถูกจัดเก็บเอาไว้ใน Geodatabase และตารางที่มีข้อมูลบรรยายเพียงอย่างเดียว (Standalone table)



ArcMap ถูกพัฒนาให้มีความสามารถ ประสิทธิภาพและคุณภาพมากขึ้น
การทำงานกับชั้นข้อมูลต่าง ๆ และกับกรอบข้อมูลใน “Table of Content” จะมีความง่ายและสะดวกเร็วมากยิ่งขึ้น มีการแก้ไขปัญหาของโปรแกรมจำนวนมาก การเปิดโปรแกรม ArcMap ขึ้นมาใช้งานรวมถึง การเรียกใช้ หน้าต่างโต้ตอบ “Add Data” ก็รวดเร็วขึ้น มีตัวเลือกสำหรับการส่งออกข้อมูล (Export) เพิ่มขึ้น หน้างต่างโต้ตอบ “Print” และ “Page Setup” ก็ถูกออกแบบใหม่อย่างสมบูรณ์แบบ และในหน้าต่างโต้ตอบ “Advanced Drawing Options” ก็สามารถทำ “Based-Masking” ให้กับชั้นข้อมูลได้


การปรับขนาดระบบ (Scalability) ของ Geodatabase
มีการปรับปรุงพัฒนาจำนวนมากในแง่ของประสิทธิภาพ และความสามารถในการปรับขนาดระบบของ Geodatabase ทุกคนในแบบของผู้ใช้งานหลาย ๆ คนพร้อม ๆ กันจะได้รับผลประโยชน์จากการปรับปรุงเรื่องประสิทธิภาพในหัวข้อนี้อย่างมาก
การและเปลี่ยนข้อมูลแบบเปิดของ Geodatabase โดยใช้ XML
XML คุณสามารถที่จะเลือกส่งออกข้อมูล Geodatabase ทั้งหมด หรือเฉพาะบางส่วนก็ได้ ซึ่งอาจจะได้แก่ ชุดข้อมูลภูมิศาสตร์ (Feature Dataset) และตารางข้อมูล โดยจะส่งออกเป็นไฟล์รูปแบบ XML ผู้ใช้งานคนอื่น ๆ สามารถนำเอาไฟล์ XML ที่ส่งออกมานั้นนำเข้าสู่ระบบ Geodatabase ตัวอื่น ๆ ได้ (Import) และเช่นเดียวกันกับการแก้ไขข้อมูลแบบ Disconnected ที่สามารถโอนย้ายและ “Check-in” ข้อมูลในรูปแบบของ XML ได้ ความสามารถใหม่นี้ได้ทำให้ Geodatabase เป็นฐานข้อมูลที่เปิดและสามารถใช้งานได้กับระบบงานทุกระบบ (Interoperable) เพราะว่า ESRI ได้เผยแพร่ข้อกำหนดต่าง ๆ ของไฟล์ XML นี้สู่สาธารณะแล้ว แถบเครื่องมือ GPS จะเป็นเครื่องมือมาตรฐานที่มาพร้อมกับ ArcMap
ก่อนหน้าเวอร์ชั่น 9.0 นั้น แถบเครื่องมือ GPS ยังเป็นแถบเครื่องมือที่ถูกแยกออกมา โดยสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีทาง เว็บไซต์



Extensions
3D Analyst Extension

ประกอบด้วยโปรแกรมประยุกต์ใหม่ชื่อ ArcGlobe สำหรับการแสดงภาพ 3 มิติ ที่ต้องการประสิทธิภาพสูง มีการขยายความสามารถโดยรองรับสัญลักษณ์และลวดลายแบบ 3 มิติ ที่จะทำให้คุณสามารถสร้างการแสดงผลและสร้างภาพเคลื่อนไหวได้เสมือนจริงมากขึ้น โดยจะมีสัญลักษณ์ และ ลวดลายแบบ 3 มิติ จำนวนมากที่ให้มากพร้อมกับโปรแกรม ในโปรแกรม ArcScene ก็จะรองรับการวาดภาพกราฟิกและตัวอักษรแบบ 3 มิติเช่นกัน


Maplex For ArcGIS Extension
เป็นโปรแกรมเสริมความสามารถให้กับ ArcGIS ด้านการวางตำแหน่งของป้ายข้อมูล (Label) ในงานผลิตแผนที่หัวข้อต่าง ๆ ให้มีคุณภาพสูง


Publisher Extension และ ArcReader

มีตัวเลือกใหม่เพิ่มขึ้นมาใน Publisher Extension นี้เพื่อใช้ในการจัดเตรียมชุดข้อมูล (Data packaging) และกำหนดระยะเวลาที่สามารถใช้งานได้เมื่อเปิดข้อมูลในการโปรแกรม ArcReader นอกจากนั้นก็มีตัวเลือกใหม่สำหรับการพัฒนาโปรแกรม ArcReade ซึ่งช่วยให้ผู้พัฒนาต่าง ๆ สามารถเรียกใช้ Control ของ ArcReade โดยนำมาสร้างเป็นโซลูชั่นเฉพาะด้านที่ทำงานอยู่บนระบบ Desktop ได้และ ArcReade ก็สามารถที่จะทำงานได้บน Sun solaris ได้แล้วในปัจจุบัน
Spatial Analyst Extension มากกว่า 100 คำสั่งใหม่จะสามารถเรียกใช้งานได้ผ่านส่วนติดต่อผู้ใช้ (User Interface) และถูกรวมเข้าไปกับ Geoprocessing Framework ใหม่อย่างสมบูรณ์ ข้อจำกัดในเรื่องของขนาดของไฟล์ “ESRI GRID” ก็ไม่มีอีกต่อไป นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงด้านอื่นอีกมากมาย
เพิ่มโอกาสใหม่ในการเรียกใช้งานบน Desktop และ Server ที่เวอร์ชั่น 9.0 มีสองผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ถูกแยกออกมาต่างหาก ได้แก่ ArcGIS Engine สำหรับการสร้างและการเรียกใช้งานในโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเฉพาะด้าน โดยอยู่บนพื้นฐานความสามารถหลักของ ArcGIS และ ArcGIS Server สำหรับการสร้างระบบงานแบบ Server เพื่อให้เรียกใช้งาน ArcGIS Service และโปรแกรมประยุกต์ผ่านระบบ Intranet และ Internet


แปลจาก “What's New in ArcGIS Desktop 9.0” โดย
ฝ่ายวิจัยและพัฒนา
ฝ่ายสนับสนุนระบบภูมิสารสนเทศ
ฝ่ายอบรมแผนกระบบและบริการ
บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด
ที่มา
http://www.tig-gis.com/

22 กุมภาพันธ์ 2553

ฮับเบิลเผยโฉมพลูโต

ดาวพลูโต ดาวเคราะห์แคระที่อยู่ห่างไกล เคยถูกจัดเป็นหนึ่งในดาวเคราะห์เก้าดวงของระบบสุริยะ ปัจจุบันก็ยังเป็นดาวเคราะห์แคระที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด แต่ด้วยระยะทางที่ไกลแสนไกล ทำให้นักดาราศาสตร์รู้จักดาวพลูโตน้อยมาก ภาพถ่ายของดาวพลูโตที่ดีที่สุดยังมีขนาดเพียงไม่กี่พิกเซลเท่านั้น
ล่าสุดนาซาได้เผยภาพถ่ายดาวพลูโตที่มีรายละเอียดมากที่สุดเท่าที่เคยมีการถ่ายมา ภาพชุดนี้ได้แสดงถึงหลายสิ่งหลายอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก
ดาวพลูโตมีสีแดงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซีกเหนือของดาวก็สว่างกว่าเดิม การเปลี่ยนแปลงนี้คาดว่าน่าจะมาจากการที่น้ำแข็งบนพื้นผิวด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์ละลายไปแล้วไปจับตัวแข็งกันอีกที่อีกด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของดาวพลูโตที่มีคาบยาวนานถึง 248 ปีของโลก
เมื่อเปรียบเทียบภาพที่ได้จากกล้องฮับเบิลที่ถ่ายในปี 2537 กับภาพที่ถ่ายในปี 2545-2546 นักดาราศาสตร์พบว่าพื้นผิวบริเวณขั้วเหนือของดาวพลูโตสว่างขึ้น ส่วนซีกใต้ของดาวกลับดูคล้ำลง
ภาพจากฮับเบิลยืนยันว่าดาวพลูโตเป็นดินแดนแห่งความแปรเปลี่ยน ไม่ใช่เพียงแค่ก้อนหินปนน้ำแข็งธรรมดา บรรยากาศที่นี่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล ฤดูกาลบนดาวพลูโตก็ต่างจากของโลกที่ขับเคลื่อนโดยความเอียงของแกนโลกเพียงอย่างเดียว แต่สำหรับดาวพลูโต ความเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลเป็นผลจากความรีของวงโคจรในระดับที่มากพอ ๆ กับความเอียงของแกนหมุน ความรีมากของวงโคจรยังทำให้ฤดูกาลของพลูโตไม่สมมาตรอย่างโลก ช่วงเปลี่ยนจากฤดูใบไม้ผลิไปเป็นฤดูร้อนของซีกเหนือเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพราะดาวพลูโตในช่วงนั้นเคลื่อนที่เร็วกว่าช่วงอื่นเนื่องจากอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่ามาก
การสำรวจจากภาคพื้นดินในช่วงปี 2531-2545 แสดงว่ามวลของบรรยากาศในขณะนั้นมีมากกว่าปัจจุบันถึงสองเท่า สาเหตุอาจเกิดจากการที่ไนโตรเจนแข็งได้รับความร้อนแล้วหลอมละลาย ภาพใหม่ที่ได้จากฮับเบิลช่วยให้นักดาราศาสตร์เข้าใจถึงลมฟ้าอากาศของพลูโตขึ้นเป็นอย่างมาก
แม้ภาพจากฮับเบิลหยาบเกินกว่าจะมองออกถึงสภาพทางธรณีวิทยาบนดาวพลูโต แต่ในแง่ของสีและความสว่าง ฮับเบิลได้แสดงถึงดินแดนแห่งสีสันที่มีตั้งแต่สีขาว ส้มคล้ำ และพื้นที่สีดำสนิท สีโดยรวมของดาวพลูโตคาดว่าเป็นผลจากรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ทำให้โมเลกุลมีเทนบนพื้นผิวแตกออก ทิ้งไว้เพียงส่วนตกค้างจำพวกคาร์บอนสีแดงและดำ
ภาพดาวพลูโตชุดนี้ของฮับเบิลจะเป็นภาพที่คมที่สุดไปอีกหลายปี จนกระทั่งยานนิวเฮอไรซอนส์ของนาซาไปถึงดาวพลูโตในปี 2558
ภาพจากฮับเบิลชุดนี้จะมีส่วนช่วยในภารกิจของยานนิวเฮอไรซอนส์อีกด้วย นักวิทยาศาสตร์ของนิวเฮอไรซอนส์ใช้ภาพจากฮับเบิลเพื่อคำนวณหาระยะเวลาเปิดหน้ากล้องสำหรับการถ่ายภาพดาวพลูโตให้แม่นยำยิ่งขึ้นได้ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในการถ่ายภาพให้ได้รายละเอียดดีที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากยานนิวเฮอไรซอนจะพุ่งเฉียดดาวพลูโตอย่างรวดเร็ว ยานนิวเฮอไรซอนส์จึงไม่มีเวลาให้ลองผิดลองถูก ต้องคำนวณเวลาไว้ให้ดีล่วงหน้า
นอกจากนี้ภารกิจที่เร่งรีบอย่างมากของนิวเฮอไรซอนส์ทำให้ยานจะถ่ายภาพละเอียดของดาวเคราะห์แคระดวงนี้ได้เพียงซีกเดียวเท่านั้น นักดาราศาสตร์ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับจุดสว่างจุดหนึ่งบนพลูโตที่คาดว่าเป็นบริเวณที่มีคาร์บอนไดออกไซด์แข็งปกคลุมหนาแน่นเป็นพิเศษ ซึ่งจุดนี้ก็ปรากฏในภาพที่ถ่ายโดยฮับเบิลคราวนี้ด้วย

ที่มา:
•Pluto's white, dark-orange, and charcoal-black terrain captured by the Hubble Space Telescope - astronomy.com

ภูมิสารสนเทศดินและการใช้ประโยชน์ที่ดิน

รวมโปรแกรมภูมิสารสนเทศ ของกรมพัฒนาที่ดิน


1. โปรแกรมระบบฐานข้อมูลกลุ่มชุดดิน และชั้นความเหมาะสมของดินสำหรับปลูกพืช
(soilView)

- วางแผนการปลูกพืชให้เหมาะสมกับศักยภาพ ของดิน

- ข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารใน โครงการวางแผนการพัฒนาการเกษตร

- สามารถสืบค้นข้อมูลดินในพื้นที่ต่าง ๆ ได้โดย สะดวดรวดเร็ว

- จัดพิมพ์แผนที่กลุ่มชุดดินและแผนที่ความ เหมาะสมของดินสำหรับการเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ


2. โปรแกรมแผนปฏิบัติการพัฒนาทรัพยากรดิน (LandPlan 3.0)

- วิเคราะห์และจัดระดับความสำคัญของปัญหา การใช้ที่ดิน ที่ไม่เหมาะสม

- วางแผนปฏิบัติการพัฒนาทรัพยากรดินในระดับต่าง ๆ (ตำบล อำเภอ จังหวัด)

- ติดตามการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน


3. โปรแกรมระบบสนับสนุนการจัดการดินปัญหาในประเทศไทย (SoilMan 1.1)

- สนับสนุนการดำเนินการเพื่อแสดงปัญหาดินและชนิดของข้อจำกัดในการใช้ทรัพยากรดิน

- สนับสนุนการจัดการดินปัญหาเพื่อให้เป็นเครื่องมือสนับสนุนงานโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการดินเพื่อ ฟื้นฟูทรัพยากรดิน


4. โปรแกรมการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย (ErosView 1.0)

- แสดงข้อมูลการชะล้างพังทลายของดิน ทั้ง ระดับภาคลุ่มน้ำและจังหวัด

- ใช้ประกอบการกำหนดนโยบายการอนุรักษ์ดินและน้ำและวางแผนการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม

- จัดพิมพ์แผนที่ระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ต่าง ๆ


5. โปรแกรมสนับสนุนการกำหนดเขตปลูกพืชเศรษฐกิจ (AgZone 3.0)

- กำหนดเขตปลูกพืชเศรษฐกิจตามแผนยุทธศาสตร์พืชหลัก ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

- ประเมินความเหมาะสมทางกายภาพของดินต่อการปลูกพืชเศรษฐกิจ


6. โปรแกรมระบบฐานข้อมูลชุดดิน (ThaiPedon 1.0)

- แสดงข้อมูล โปรไฟล์, อนุกรมวิธาน สมบัติ ทางเคมีและฟิสิกส์ของดิน ความเหมาะสมสมบัติของดิน ทั้งทางการเกษตรและวิศวกรรม ทั้งในรูปแบบของตารางและแผนที่การกระจายตัวของสมบัติดิน ต่าง ๆ ข้างต้น

- สืบค้นและแสดงข้อมูลตามเงื่อนไขต่างๆ

- เป็นข้อมูลประกอบงานวิจัย และการเรียนการ สอนที่เกี่ยวข้องกับสาขา ปฐพีศาสตร์

- จัดพิมพ์แผนที่ชุดดินในขนาดต่างๆ


7. โปรแกรมระบบสนับสนุนการจัดทำหมู่บ้านพัฒนาที่ดิน (ConsPlan 2.0)

- ใช้ในการออกแบบโครงสร้างงานอนุรักษ์ดินและน้ำ

- สามารถประเมินการสูญเสียดินก่อนและหลังการจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ

- จัดทำงบประมาณและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน


8. โปรแกรมสืบค้นแผนที่ป่าไม้ถาวร (Permanent Forest 1.0)

- ใช้ในการสืบค้นและการจัดเก็บ

- เป็นข้อมูลเบื้องต้นเพื่อใช้ในการป้องกันการ บุกรุกเขต ป่า ให้แก่เจ้าหน้าที่ภาครัฐบาล และ ประชาชน


9. โปรแกรมประเมินคุณภาพสำหรับพืชเศรษฐกิจ (LandSuit 1.2)

- สามารถเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขและวิธีการประเมินคุณภาพที่ดินได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

- สามารถนำมาใช้วางแผนการใช้ที่ดิน ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจ


10. โปรแกรมประเมินคุณภาพดิน เพื่อการก่อสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็ก(FarmPond 1.0)

- แสดงระดับความสามารถในการกักเก็บน้ำของดิน

- ข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจการเลือกพื้นที่เหมาะสมต่อการก่อสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็ก







http://www.ldd.go.th/gisweb/GIS_allprogram.html

21 กุมภาพันธ์ 2553

กทม.- ป.ป.ส. รุกใช้ระบบแผนที่ระบุพิกัดพื้นที่ยาเสพติด

กทม. และ ป.ป.ส. บรรลุข้อตกลงรุกแผนป้องกันปราบปรามยาเสพติดในกรุงเทพฯ ดึงระบบแผนที่บันทึกสถิติ พร้อมชี้ตำแหน่งพื้นที่ยาเสพติดทุกตารางนิ้ว ทั้งทางบก ทางน้ำ และในอาคาร รวมถึงผู้ค้า และผู้เสพา เฝ้าระวังสถานการณ์ และขับเคลื่อนการแก้ปัญหายาเสพติดให้มีประสิทธิภาพ

นายสิทธิสัตย์ เจียมวงศ์แพทย์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร และนายชาติชาย สุทธิกลม ที่ปรึกษาการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) เป็นตัวแทนลงนามบันทึกข้อตกลงการใช้ข้อมูลแผนที่เชิงรหัสและข้อมูลยาเสพติด ระหว่างกรุงเทพมหานคร และ สำนักงาน ป.ป.ส. ซึ่งเป็นความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ และสนับสนุนการดำเนินงานด้านยาเสพติดเพื่อการวางแผน จัดทำงบประมาณ รวมทั้งการวางระบบเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครของศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดกรุงเทพมหานคร (ศตส.กทม.) ให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด โดยในวันนี้ได้มีการส่งมอบแผนที่เชิงรหัสในรูปแบบของดีวีดี พจนานุกรมข้อมูล และข้อมูลระดับความถูกต้องตามที่กรุงเทพมหานครใช้งานอยู่ในปัจจุบัน

สำหรับบันทึกข้อตกลงการใช้ข้อมูลแผนที่เชิงรหัสและข้อมูลยาเสพติด เป็นการนำข้อมูลแผนที่เชิงรหัส (Digital Map) หรือแผนที่สารสนเทศภูมิศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร มาตราส่วน 1 : 4000 ซึ่งได้มีการพัฒนาฐานข้อมูลอย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจุบัน แสดงถึงการใช้ประโยชน์ที่ดิน เส้นทางคมนาคมทางบก ทางน้ำ อาคารและสิ่งก่อสร้าง รวมถึงเส้นแบ่งเขตการปกครองพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผนวกกับการนำข้อมูลเชิงสถิติเกี่ยวกับยาเสพติดของสำนักงาน ป.ป.ส. มาบูรณาการทำงานร่วมกัน เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดเก็บฐานข้อมูลด้านยาเสพติดในกรุงเทพมหานคร อาทิ สถานการณ์ยาเสพติด สถิติผู้ถูกจับกุมคดียาเสพติด พื้นที่ที่มีผู้กระทำผิดคดียาเสพติด ราคายาเสพติด ตลอดจนการติดตามและเฝ้าระวังผู้มีพฤติการณ์เกี่ยวกับยาเสพติด เพื่อเป็นข้อมูลในการปราบปรามยาเสพติดร่วมกัน ซึ่งความร่วมมือของทั้งสองหน่วยงานจะเชื่อมโยงและขับเคลื่อนให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดกรุงเทพมหานครมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

รองปลัดฯ สิทธิสัตย์ กล่าวด้วยว่า แผนที่เชิงรหัสของกรุงเทพมหานคร มีความชัดเจน ละเอียด สามารถระบุที่ตั้ง และบ้านเลขที่รายบุคคลได้ ซึ่งเมื่อนำข้อมูลของสำนักงาน ป.ป.ส. มาใช้ประโยชน์เพื่อการติดตามจับกุมผู้ติด และนำผู้เสพมาบำบัดฟื้นฟู เนื่องจากปัญหายาเสพติดทำให้เกิดปัญหาสังคม เศรษฐกิจ อาชญากรรม และเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เอช ไอ วี หรือโรคเอดส์ด้วย ซึ่งหากสังเกตพฤติกรรมบุคคลใกล้ชิดเสพยาเสพติด ปรึกษาได้ที่ศูนย์บริการสาธารณสุขของกรุงเทพมหานครทุกแห่ง เพื่อเข้ารับการบำบัดและฟื้นฟูและกลับมาใช้ชีวิตในสังคมดังเดิม

ทั้งนี้ แผนที่เชิงรหัส (Digital Map) หรือแผนที่สารสนเทศภูมิศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร มีการปรับปรุงฐานข้อมูลสม่ำเสมอ เนื่องจากมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนนำไปใช้เพื่อสนับสนุนการบริหารงานในกำกับขององค์กร อาทิ การไฟฟ้านครหลวง กรมสรรพากร ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้ได้นำส่งข้อมูลจากการสำรวจที่มีการเปลี่ยนแปลงส่งมอบต่อกรุงเทพมหานคร เพื่อปรับปรุงระบบแผนที่ให้เป็นปัจจุบันอีกด้วย

ที่มา


http://www.ryt9.com/s/prg/300992

ระบบแผนที่สืบค้นข้อมูลกฎหมายอาคาร (beta)

















ในการออกแบบงานสถาปัตยกรรมนั้นถึงแม้ว่าจะต้องอาศัยจิตนาการและแนวคิดระดับสูงของสถาปนิกผู้ออกแบบเพื่อให้ผลงานนั้นออกมาอย่างสร้างสรรค์และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งาน แต่การสร้างสรรค์นี้จะต้องสอดคล้องกับหรือดำเนินการตามข้อจำกัดต่างๆโดยเฉพาะกฎหมายควบคุมอาคาร

ลักษณะของกฎหมายควบคุมอาคารในบ้านเรานั้นนอกจากที่จะควบคุมรูปแบบของอาคารความสูง ขนาดพื้นที่ และประเภทของการใช้สอยอาคารแล้ว กฎหมายหลายฉบับมีการบังคับรูปแบบและการใช้งานตามตำแหน่งที่ตั้งของอาคารของแต่ละบริเวณอีกด้วย ตัวอย่างกฎหมายพวกนี้เช่น กฎหมายผังเมือง กฎหมายกำหนดเขตห้ามก่อสร้างและดัดแปลงอาคารบ้างลักษณะและบ้างประเภท เป็นต้น

โดยเฉพาะกฎหมายกำหนดเขตห้ามสร้างฯนั้นสร้างปัญหากับสถาปนิกที่จะค้นหาข้อมูลได้อย่างครบถ้วนเพื่อใช้ในการออกแบบไม่ให้ผิดข้อกฎหมายนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก เนื่องจากกฎหมายพวกนี้มักกระจัดกระจายและมีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ในเขตกรุงเทพมหานครเพียงจังหวัดเดียว มีกฎหมายกำหนดเขตห้ามสร้างฯทั้งในรูปของกฎกระทรวงและข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครมากถึง 60 ฉบับเลยทีเดียว

เพื่อบรรเทาปัญหาที่เกิดกับสมาชิกฯ ทางคณะกรรมมาธิการวิชาชีพสมาคมสถาปนิกสยามฯจึงริเริ่มโครงการ “ระบบแผนที่สืบค้นข้อมูลกฎหมายควบคุมอาคาร” โดยคาดว่าระบบนี้จะสามารถแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จสมบูรณ์

ปัจจุบันทางคณะทำงานโครงการระบบแผนที่สืบค้นข้อมูลกฎหมายควบคุมอาคารได้เปิดตัวโปรแกรมระบบนี้ในรุ่นทดสอบขั้นที่สองออกมาเพื่อให้สมาชิกสมาคมฯ ได้ลองใช้งานแล้วไปตั้งแต่เมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยท่านที่สนใจสามารถเข้าไปทดลองใช้งานระบบนี้ได้ที่ http://maplaw.asa.or.th/ ในช่วงต้นได้พัฒนาโครงการบนพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานครฯเป็นจังหวัดแรก

ระบบแผนที่นี้พัฒนาขึ้นโดยใช้โปรแกรมชื่อ Map Server ซึ่งเป็นระบบจัดการแผนที่ จีพีเอส แบบเว็ตเตอร์ ซอฟแวร์นี้เป็นระบบเปิดหรือ Open source ทำให้สมาคมฯประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อซอฟแวร์ไปได้เป็นอย่างมาก สำหรับข้อมูลของแผนที่หลักที่นำมาใช้นั้น ทางสมาคมฯลงทุนจัดซื้อจากหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร ดังนั้นข้อมูลนี้จึงมีความถูกต้อง แม่นยำและเชื่อถือได้พอสมควรเลยทีเดียว

สำหรับข้อมูลส่วนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นขอบเขตผังสี แนวเขตห้ามสร้าง ตัวบท ข้อกฎหมาย ระบบฐานข้อมูลทั้งหมด คณะทำงานฯและกลุ่มทำงานที่กรรมาธิการวิชาชีพฯจัดจ้างมาจากภายนอกนั้นเป็นผู้ดำเนินการจัดทำขึ้นมาใหม่เองทั้งหมด เนื่องจากไม่สามารถหาข้อมูลส่วนนี้ได้จากแหล่งๆเลย

นอกจากนั้นเพื่อให้การทำงานของระบบนี้ มีความรวดเร็วในการใช้งานและไม่ต้องไปรบกวนการทำงานของเว็บอาษาของเดิม ทางคณะทำงานฯจึงได้ลงทุนเช่าพื้นที่และเว็บเซอร์เวอร์ที่มีพื้นที่เก็บข้อมูลขนาดใหญ่และมีประสิทธิภาพสูงเพื่อใช้งานในโครงการนี้เป็นการเฉพาะ แยกต่างหากจากเครื่องที่ทางเว็บอาษาใช้อยู่ในปัจจุบัน

แผนที่ที่จัดทำขึ้นสามารถย่อขยายและเลือกการแสดงผลข้อมูลตามที่ผู้ใช้งานต้องการได้อย่างง่ายดายโดยผ่านระบบเมนูและไอคอนด้านข้าง สำหรับท่านที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงและเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง จะพบว่าระบบนี้สามารถตอบสนองการย่อและขยายแผนที่ได้เป็นอย่างดี และมีความรวดเร็วทันใจพอสมควรเลยทีเดียว

ระบบนี้สามารถแสดงข้อมูลที่เกี่ยวกับผังเมืองและกฎหมายเขตห้ามสร้างหรือควบคุมลักษณะเฉพาะต่างๆได้ทั้งหมด โดยการใช้ไอคอนลูกศรกำหนดลงบนพื้นที่ที่เราต้องการจะทราบข้อมูล ระบบจะแสดงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับจุดนั้นๆปรากฏขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถนำข้อมูลนั้นไปใช้งานได้ในทันที

ทางคณะทำงานฯตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะดำเนินโครงการนี้ในส่วนของกรุงเทพฯให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคมปีนี้ และจัดทำระบบแผนที่ฯในจังหวัดสำคัญๆจำนวนห้าจังหวัดให้เสร็จสิ้นภายในปีนี้ และจะจัดทำระบบให้ครบทุกจังหวัดภายในระยะเวลาไม่เกินสามปี

ในช่วงนี้จนถึงสิ้นปีจะเปิดให้ผู้คนทั่วไปเข้าถึงข้อมูลนี้ได้โดยเสรี แต่เมื่อระบบฯมีความเสถียรและครบถ้วนสมบูรณ์ในปีหน้า ทางสมาคมฯมีนโยบายกำหนดให้ผู้ที่สามารถใช้งานระบบนี้ได้จะต้องเป็นสมาชิกของสมาคมฯเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อสร้างความแตกต่างระหว่างผู้ใช้งานที่เป็นสมาชิกสมาคมฯจากผู้ใช้งานทั่วไปนั่นเอง

คณะทำงานฯขอรบกวนให้สมาชิกฯได้ลองใช้งานระบบนี้แล้วกรุณาส่งคำติชม และข้อคิดเห็นกลับมาให้คณะทำงาฯเพื่อที่ทางคณะทำงานฯจะได้ดำเนินการปรับปรุงระบบให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ต่อไป โดยท่านเพียงคลิ้กที่รูปซองจดหมายบริเวณมุมบนด้านซ้ายมือ แล้วกรอกข้อมูลและความเห็นลงบนแบบฟอร์มที่ทางเราได้จัดเตรียมไว้แล้ว

ทางคณะทำงานโครงการฯและคณะกรรมาธิการวิชาชีพฯหวังว่าคงจะได้รับทราบความเห็นและได้รับความร่วมมือจากท่านสมาชิกฯในครั้งนี้

ที่มา
http://www.asa.or.th/?q=node/99332
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2546-2551 สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
เลขที่ 248/1 ซอยศูนย์วิจัย 4 (ซอย 17) ถนนพระราม9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
โทรศัพท์ 02319-6555 โทรสาร 02319-6555 กด 6
email to ASA Office: office@asa.or.th

ระบบทำแผนที่ภาษี

ระบบแผนที่ภาษีแบ่งรูปแบบเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ
1. ส่วนของข้อมูลที่เป็น ตัวหนังสือ (data)
2. ส่วนของข้อมูลที่เป็น รูปภาพแผนที่ (drawing)

ขั้นตอนการทำงานของระบบ จะแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้
1. การบันทึกข้อมูลพื้นฐาน จากการสำรวจ ได้แก่ทะเบียนทรัพย์สินต่างๆ
2. การรับชำระภาษีต่างๆ
3. การออกรายงานการเก็บภาษีและการค้างชำระต่างๆ

ซึ่งผู้บริหารสามารถเรียกดูรายงานการเก็บภาษีต่างๆ หรือการค้างชำระภาษีต่างๆแยกตามประเภท หรือเขตได้

ระบบแผนที่ภาษี TMS
1. ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยใช้เทคโนโลยีใหม่
2. ทำแผนที่ภาษีที่มีความซับซ้อนสูงได้
3. เชื่อมต่อ หรือขยายระบบ เพื่อให้เป็นระบบใหญ่ที่จะมีต่อไปในอนาคต
4. เป็นระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้อย่างง่าย
5. เป็นระบบที่มีความปลอดภัยสูง ในการรักษาข้อมูลจากไวรัสคอมพิวเตอร์ และบุคคลทั่วไป

ความพิเศษของระบบแผนที่ภาษี TMS นี้
1. ระบบพัฒนาด้วยโปรแกรม JAVA ซึ่งเป็นโปรแกรมสมัยใหม่ ที่ได้รับการยอมรับถึงเรื่องศักยภาพ
และประสิทธิภาพในการทำงาน
2. รูปแบบของระบบ JAVA จะเป็นเป็นระบบที่มีแม่ข่าย (Server) ซึ่งทำงานบน Linux
3. ใช้ระบบการแสกนลายนิ้วมือ เก็บประวัติผู้ชำระภาษี เพื่อความถูกต้องและแม่นยำ
4. ใช้ระบบBarcode บนเอกสารที่แจ้งเรียกเก็บภาษี เพื่อการค้นหาได้ง่ายและรวดเร็ว
5. รองรับการเชื่อมต่อกับส่วนงานอื่นๆของ อบต. เช่น ส่วนงานโยธา

สรุปรายงานการเก็บภาษี ประกอบด้วย

1. ส่วนบริหารจัดการข้อมูลภาษีบำรุงท้องที่ อาทิ
1.1 ) บันทึกรายการผู้ที่มาชำระภาษีบำรุงท้องที่แล้ว จัดทำหนังสือแจ้ง ให้ผู้มีกรรมสิทธิ์
ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน เพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับปีแรกของการตีราคาปานกลางของที่ดิน
หรือ ของปีที่มีการตีราคาปานกลางใหม่
1.2 ) บันทึกการรับยื่นแบบ แสดงรายการที่ดิน เพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่
จัดทำใบรับการยื่นแบบ แสดงรายการที่ดิน เพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่ให้แก่ผู้มา ติดต่อชำระ
1.3 ) จัดพิมพ์รายงานต่างๆ เช่น
(1) รายงานผู้อยู่ในข่ายที่ต้องชำระภาษีบำรุงท้องที่แยกตามตัวอักษร และยอดรวมทั้งหมด
(2) รายงานแสดงยอดภาษีที่เก็บได้แล้ว ในปีงบประมาณเปรียบเทียบ
กับยอดภาษีที่ตั้งไว้แยกตามตัวอักษร และยอดรวมทั้งหมด
(3) รายงานแสดงยอดภาษีที่เก็บได้ ในปีงบประมาณเปรียบเทียบกับยอดภาษีบำรุงท้องที่
ที่เก็บได้ในปีก่อนๆ


2. ส่วนบริหารจัดการข้อมูลภาษีโรงเรือนและที่ดิน อาทิ
2.1 ) บันทึกรายการผู้มาชำระภาษีโรงเรือน และที่ดินแล้ว จัดพิมพ์ใบรับเช็ค กรณีรับชำระค่าภาษีเป็นเช็ค
2.2 ) จัดทำหนังสือแจ้งให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีทราบ เพื่อยื่นแบบแสดงรายการ ทรัพย์สิน
(1) จัดทำทะเบียนการเตือนผู้ค้างชำระภาษีโรงเรือน และที่ดินแยกตามตัวอักษร
(2) จัดทำจดหมายแจ้งให้มายื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือน และ ที่ดิน
(3) จัดทำจดหมายเรียกผู้ค้างชำระภาษีโรงเรือน และที่ดินโดยแสดงจำนวนเงิน ค่าภาษีที่ค้างชำระ
และเงินเพิ่มจัดพิมพ์ซองจดหมาย
2.3 ) จัดพิมพ์รายงานต่างๆ เช่น
(1) รายงานผู้ที่ไม่มายื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือน และที่ดิน แยกตามตัวอักษร
และยอดรวมทั้งหมด
(2) รายงานผู้ค้างชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน แยกตามตัวอักษร และยอดรวม ทั้งหมด
(3) รายงานแสดงยอดภาษีที่เก็บได้แล้วในปีงบประมาณ เปรียบเทียบกับยอด ภาษีที่ตั้งไว้
แยกตามตัวอักษร และยอดรวมทั้งหมด


3. ส่วนบริหารจัดการข้อมูลภาษีป้าย อาทิ
3.1 ) รายงานผู้อยู่ในข่ายที่ต้องชำระภาษีป้ายแยกตามตัวอักษร และยอดรวม ทั้งหมด
(1) จัดทำหนังสือแจ้งให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีทราบ เพื่อยื่นแบบแสดงรายการ ภาษีป้าย
- บันทึกการรับยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1)
(2) จัดทำใบรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายให้ผู้มาติดต่อยื่นแบบ
- หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินภาษีป้าย โดยสามารถเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข
การคำนวณภาษี และอัตราเงินเพิ่มได้
(3) จัดทำหนังสือแจ้งการประเมิน (ภ.ป.3)
- บันทึกการแจ้งการประเมินเพื่อเสียภาษีป้าย โดยใช้ใบตอบรับทางไปรษณีย์ (ใบเหลือง)
(4) จัดพิมพ์ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีป้าย
- จัดพิมพ์รายงานต่างๆ เช่น
1) รายงานผู้ที่ไม่มายื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย แยกตามตัวอักษร และยอด รวมทั้งหมด
2) รายงานผู้ค้างชำระภาษีป้าย แยกตามตัวอักษร และยอดรวมทั้งหมด
3) จัดทำทะเบียนการเตือนผู้ค้างชำระภาษีป้าย แยกตามตัวอักษร
4) รายงานแสดงยอดภาษีที่เก็บได้แล้วในปีงบประมาณเปรียบเทียบกับยอด ภาษีที่ตั้งไว้
แยกตามตัวอักษร และยอดรวมทั้งหมด


4. ส่วนบริหารจัดการข้อมูลค่าธรรมเนียมเก็บขนขยะมูลฝอย อาทิ
4.1 ) รายงานจำนวนบ้าน, ห้างร้าน และบริษัท ซึ่งจะต้องชำระค่าธรรมเนียมเก็บ
4.2 ) การกำหนดอัตราที่ใช้จัดเก็บค่าธรรมเนียมเก็บขนขยะมูลฝอยสำหรับแต่ละ บ้าน, ห้างร้าน
และบริษัทโดยสามารถเปลี่ยนแปลงอัตราในการจัดเก็บได้
(1) จัดทำใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมเก็บขนขยะมูลฝอย
4.3 ) บันทึกการรับชำระค่าธรรมเนียมเก็บขนขยะมูลฝอยในแต่ละเดือน จัดทำจดหมาย แจ้งเจ้าของบ้าน,
ห้างร้าน และบริษัทที่ค้างชำระค่า ธรรมเนียมเก็บขนขยะมูลฝอยในแต่ละเดือน
4.4 ) จัดพิมพ์รายงานต่างๆ เช่น
(1) รายงานแสดงจำนวนเงิน และจำนวนบ้าน, ห้างร้าน และบริษัทที่ทำการจัด
เก็บค่าธรรมเนียมเก็บขนขยะมูลฝอยได้ในแต่ละเดือน
(2) รายงานแสดงจำนวนบ้าน, ห้างร้าน และบริษัทที่ยังไม่มีการชำระค่า
ธรรมเนียมเก็บขนขยะมูลฝอยในแต่ละเดือน
(3) รายงานแสดงยอดค่าธรรมเนียมเก็บขนขยะมูลฝอยที่จัดเก็บรายได้ในแต่ละเดือน
เปรียบเทียบกับยอดที่ตั้งไว้


5. ส่วนบริหารจัดการข้อมูลทะเบียนทรัพย์สิน อาทิ
5.1 ) ทะเบียนทรัพย์สิน (ผ.ท.4)
5.2 ) ทะเบียนคุมผู้ชำระภาษี (ผ.ท.5)
5.3 ) บัญชีคุม
(1) ทะเบียนทรัพย์สินและบัญชีคุมผู้ชำระภาษี (ผ.ท.6)
(2) แปลงที่ดิน และประมาณการชำระภาษี (ผ.ท.17)
5.4 ) การค้นหาข้อมูลการประกอบกิจการค้าประเภทต่างๆ
(1)พร้อมการจัดพิมพ์ใบอนุญาตต่างๆ ตามแบบฟอร์ม
(2) รวมทั้งใบเสร็จรับเงิน, การส่งเงินตามใบ ส่งเงิน
5.5 ) จัดพิมพ์รายงานต่างๆ เช่น
1) รายงานแสดงทะเบียนทรัพย์สิน (ผ.ท.4)
2) รายงานแสดงทะเบียนคุมผู้ชำระภาษี (ผ.ท.5)
3) รายงานบัญชีคุมทะเบียนทรัพย์สินและบัญชีคุมผู้ชำระภาษี (ผ.ท.6)
4) รายงานบัญชีคุมแปลงที่ดิน และประมาณการชำระภาษี (ผ.ท.17)
5) รายงานการปรับข้อมูลประจำเดือน (แบบ 1 )
6) รายงานการปรับข้อมูลแผนที่ภาษี และทะเบียนทรัพย์สิน (แบบ 2)
7) รายงานสืบค้นข้อมูล
- ตำแหน่งที่ตั้งป้ายโฆษณาขนาดใหญ่
- จำนวนบริษัท ขนาดพื้นที่ของแต่ละบริษัท
- จำนวนคอนโด แยกแต่ละคอนโดมีกี่ห้อง ที่ตั้งของคอนโด
- จำนวนหอพัก แยกตามหมู่ ถนน ตำบล จำนวนห้องในหอพัก
- จำนวนหมู่บ้าน พร้อมชื่อหมู่บ้าน และที่ตั้ง ระบุบ้านเลขที่
- จำนวนโรงเรือน ของแต่ละหมู่บ้าน
- ห้างสรรพสินค้า
- โรงภาพยนตร์
- สถานพยาบาลของเอกชน
- มูลนิธิ สถานที่ตั้ง ถนน ตำบล
- วัดสถานที่ตั้ง สถานที่เก็บกิน เช่น ชุมชนต่างๆ ที่วัดให้เช่าที่
- ธนาคาร แยกตามชื่อธนาคาร ที่ตั้ง ถนน ตำบล
- สมาคม สถานที่ตั้ง ถนน ตำบล
- โรงงาน แยกตามประเภทโรงงาน หมู่ ถนน ตำบล
- สถานบริการน้ำมัน แยกตามถนน ตำบล
- สถานที่หน่วยงานราชการ แยกตามถนน ตำบล



http://www.inthai.info/tms.php

20 กุมภาพันธ์ 2553

รวมปัญหาด้านแผนที่

1. ความผิดพลาดของแผนที่ตัวเลขมีมาตรฐานอย่างไร

level 0 มาตราส่วน 1: 1 000 000 ความผิดพลาดทางราบ +/- 500 เมตร ทางดิ่ง +/- 30 เมตร

level 1 มาตราส่วน 1: 250 000 ความผิดพลาดทางราบ +/- 50 เมตร ทางดิ่ง +/- 30 เมตร

level 2 มาตราส่วน 1: 50 000 ความผิดพลาดทางราบ +/- 15เมตร ทางดิ่ง +/- 10 เมตร

2. พิกัดภูมิศาสตร์และพิกัด UTM ต่างกันอย่างไร

พิกัดภูมิศาสตร์คือพิกัดที่สำหรับอ้างอิงตำแหน่งที่กว้างไกล แต่พิกัด UTM ใช้สำหรับอ้างอิงตำแหน่งที่ไม่กว้างไกลนัก เพราะพิกัด UTM เป็นพิกัดบนพื้นราบ ถ้าพื้นที่กว้างมากจะเกิดข้อผิดพลาดทางตำแหน่ง จึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยน ZONE ฉะนั้นในกองทัพอากาศและกองทัพเรือจึงใช้ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ เพราะพื้นที่ปฎิบัติการกว้างและไกลมาก ขณะที่กองทัพบกใช้ระบบ UTM เพราะพื้นที่ปฎิบัติการไม่กว้างไกลมากนัก

3. จะหาแผนที่ของต่างประเทศได้จากไหน

www.omnimap.com

4.จะหาซื้อแผนที่ของประเทศไทยได้ที่ไหน

แผนกบริการแผนที่ กรมแผนที่ทหาร ถนนกัลยาณไมตรี จะดีที่สุด และราคาถูกที่สุด โทร. 2228844

5.GPS มีค่าความถูกต้องทางราบเท่าไร

นับจากมีการยกเลิกสัญญาน SA ความถูกต้องในการรังวัดแบบ absolute เท่าที่มีการรายงานเป็นรายลักษณ์อักษรคือ ต่ำกว่า 10 เมตร และจากรายงานต่างประเทศคือประมาณ +/- 2-4 เมตรขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องมือ ส่วนแบบ DGPS มีความถูกต้องต่ำกว่า +/- 1 เมตร

6.เมื่อมีการยกเลิกสัญญาน SA


จะมีผลต่อเครื่อง GPS เดิมก่อนมีการยกเลิกสัญญาน SA ใหม

ตามข้อกำหนดเครื่อง GPS เดิมจะสามารถใช้งานได้ตามปกติ โดยไม่ต้องมีการ upgrade เครื่องมือ

7.จะหารายละเอียดทั้งข้อมูล โปรแกรม และความรู้ทางด้าน GIS ภาคภาษาไทยได้ที่ไหน

www.gistda.or.th

8.ขอทราบการใช้คำสั่ง GPS

โดยปกติ เราจะใช้คำสั่ง GPS ได้ เครื่อง GPS ต้องมีตัวเชื่อมต่อกับ RS232 (Interface) คำสั่งหรือข้อมูลที่ผ่านทาง RS232 จะอยู่ภายใต้มาตรฐานของ NMEA ซึ่งปัจจุบันมาตรฐานของเครื่อง GPS จะอยู่ในรูปแบบ NMEA 0183 เป็นลักษณะข้อความภาษา Ascii ทำให้เราสามารถรู้ข้อความหรือคำสั่งได้โดยง่าย ฉะนั้นการเขียนโปรแกรมให้รับ NMEA 0183 จึงง่าย ทำให้ปัจจุบัน มีโปรแกรมประเภท นำทาง โดยมี GPS ติดกับรถยนต์และมีคอมพิวเตอร์ตัวเล็กๆ แสดงผลบนแผนที่ตัวเลขทำให้เราไม่หลงทาง
ตัวอย่างคำสั่ง NMEA 0183

GLL,2028.1678,N,09918.2884,E,120000,A

คือ GLL = geographic location
2028.1678 = latitude ที่ 20 องศา 28.1678 ฟิลิบดา
N = เหนือ
09918.2884 = longtitude ที่ 99 องศา 18.2884 ฟิลิปดา
E = ตะวันออก
120000 = เวลาที่รับสัญญาน
A = checksum

ยังมีคำสั่งอีกมาก ของ NMEA 0183 เช่น RMC หารายละเอียดได้จาก www.kh-gps.de/nmea-faq.htm

9. มีเทคโนโลยี่ ใหม่อะไรบ้างที่นอกจาก ดาวเทียม

เรดาห์ ซึ่งมีตัวส่งคลื่นในระบบ ทำให้ไม่ต้องพึ่งพลังงานจากดวงอาทิตย์ ทำให้สามารถบินสำรวจได้ในเวลากลางคืนและไม่จำเป็นต้องถ่ายในลักษณะเครื่องบินอยู่แบบดิ่งจริง
นอกจากจะผลิตภาพถ่ายได้แล้วยังสามารถคำนวณหาระดับสูงของพื้นดินเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง แต่ปัจจุบันคุณภาพภาพถ่ายยังสู้ภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายดาวเทียมไม่ได้

Hypersprectrum ภาพภ่ายแบบมากช่วงคลื่นที่จะทำให้ภาพในช่วงคลื่นต่างที่ถี่ย่อยมาก ทำให้สามารถตีความหรือแปลความได้ดีขึ้น

ทั้งสองระบบเริ่มมีการนำมาใช้ด้านพาณิชย์มากขึ้น แต่ควรฟังหูไว้หู เพราะยังเป็นเทคโนโลยี่ ที่ยังต้องผ่านการพิสูจน์อีกยาวนาน

10ความละเอียดของดาวเทียมมีความหมายว่าอย่างไร

ความละเอียดของดาวเทียมหมายถึงใน 1 จุดภาพหรือ 1 pixel สามารถแทนรายละเอียดของพื้นโลกในขนาดเท่าใด เช่นดาวเทียม spot มีความละเอียด 10 เมตร หมายถึงจุดภาพ 1 จุดภาพแทนรายละเอียดผิวโลกขนาด 10 x 10 เมตร ฉะนั้นถ้าวัตถุใดบนผิวโลกที่มีขนาดน้อยกว่า 10 เมตร จะถูกแทนที่ด้วยวัตถุที่มีขนาดใหญ่สุดบนบริเวณนั้น หรือในความหมายง่ายๆ คือ วัตถุที่มีขนาดน้อยกว่า 10 เมตรจะไม่สามารถมองเห็นได้ ยกเว้นจะมีขนาดใหญ่สุดในบริเวณ 10 x 10 เมตรนั้น

11.ภาพถ่ายทางอากาศมีความคลาดเคลื่อนอะไรบ้าง ซึ่งเมื่อขจัดแล้วจะเป็นแผนที่ภาพถ่ายได้เลย

มีความคลาดเคลื่อน 2 อย่างคือ
1.ความคลาดเคลื่อนของการเอียงของกล้องขณะบินถ่าย ภาพถ่ายที่ขจัดความคลาดเคลื่อนนี้เรียกว่า ภาพ rectify ใช้แทนแผนที่ได้ถ้าบริเวณนั้นเป็นพื้นราบ
2.ความคลาดเคลื่อนเนื่องจากความสูงหรือ relief displacement ความคลาดเคลื่อนนี้จะเกิดขึ้นบริเวณภูเขาสูง และจะมีค่าน้อยมากบริเวณกลางภาพถ่ายทางอากาศ และสามารถลดค่าได้เมื่อถ่ายภาพบริเวณที่มีความสูงบินมากๆ
ภาพถ่ายที่ขจัดความคลาดเคลื่อนทั้งสองอย่างเรียกว่า ภาพ orthophoto

12.จะหาโปรแกรมด้าน GIS ที่เป็น freeware ได้ที่ไหน

freegis.org

13.ช่วยแนะนำโปรแกรมGIS ที่น่าสนใจ

GRASS เป็น freeware ที่วิ่งบน ระบบปฎิบัติการ LINUX และกำลังจะพัฒนาลง Windows ในเร็วๆนี้ ถูกพัฒนาโดยทุนวิจัยของทางกองทัพสหรัฐอเมริกา เป็นopen system ที่ทำให้พวกมีความรู้พัฒนาเพิ่มเติมความสามารถขึ้นมาเรื่อยๆ ภายใต้ GNU ซึ่งผู้พัฒนาพัฒนาแล้วต้องเผยแพร่และไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ เป็นระบบ raster GIS แต่สามารถแสดงผล vector แต่เวลานำมาวิเคราะห์ต้องแปลงเป็น raster ก่อน

14.สถานะของหมุดหลักฐาน GPS ในประเทศไทย

กรมแผนที่ทหารได้เริ่มสำรวจและวางหมุดหลักฐานโดยวิธีการ GPS ตั้งแต่ปี 2534 ปัจจุบัน ได้วางหมุดหลักฐานGPS ในลักษณะเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ ไปเป็นจำนวน600 กว่าหมุด และได้จัดเก็บข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับหมุดหลักฐานในลักษณะ CD-ROM ในลักษณะข้อมูลสาระสนเทศทางภูมิศาสตร์(GIS) ให้บริการแก่หน่วยราชการ

15.หมุดหลักฐานคืออะไร

หมุดหลักฐานในประเทศไทยที่สำคัญ มีอยู่ 2 ประเภท คือหมุดหลักฐานทางดิ่ง และหมุดหลักฐานทางราบ หมุดหลักฐานทางดิ่ง คือหมุดหลักฐานที่ให้ค่าความสูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลางที่เกาะหลัก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่วนหมุดหลักฐานทางราบคือหมุดหลักฐานที่ให้ค่าพิกัดทางราบ (latitude ,longtitude) ก่อนนี้การหาค่าของหมุดหลักฐานทางราบใช้การสำรวจโดยวิธีการ งานสามเหลี่ยม และวงรอบ ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาใช้วิธีการทาง GPS โดยวิธีการ รังวัดแบบสัมพันธ์(relative)

16.หมุดหลักฐานมีความสำคัญอย่างไร

เป็นสิ่งที่ประกันความถูกต้องของแผนที่ และงานทางด้านวิศวกรรม เพราะ งานเหล่านี้ต้องนำค่าจากหมุดหลักฐานเพื่อออกงาน ฉะนั้นถ้าค่าที่ได้จากหมุดหลักฐานมีความถูกต้องไม่เพียงพอ งานเหล่านั้นก็จะได้รับความเสียหายตามไปด้วย ปัจจุบัน ผู้คนมักไม่ค่อยเห็นความสำคัญของหมุดหลักฐาน มักมีการทำลาย ทำให้ กรมแผนที่ทหารต้องเสียทั้งเงินและเวลาในการซ่อมแซมหมุดหลักฐานเหล่านั้น

17. DATUM คืออะไร


18.WGS84 คืออะไร

เนื่องจาก แต่ละประเทศหรือแต่ละภูมิภาศภายในโลกเรานี้ ใช้ ลูกโลกสมมุติ(ellipsoid)แทนลูกโลกจริงไม่เหมือนกัน ทำให้เกิดปัญหาเวลานำแผนที่มาต่อกัน สหรัฐอเมริกาเลยเป็นผู้นำให้ทั่วโลกใช้ลูกโลกสมมุติตัวดียวกันคือลูกโลกสมมุติที่ชื่อว่า WGS84 คือลูกโลกสมมุติที่ได้มาจากการสำรวจด้วยดาวเทียมฉะนั้น แผนที่ของโลกเราก็ใช้ระบบเดียวกัน ไม่มีปัญหาเรื่องการเชื่อมต่อกัน และค่าพิกัดที่ได้จากการสำรวจด้วย GPS ก็ใช้ WGS84

19. แหล่งความรู้ด้าน GPS ตลอดจนการวิจัยการใช้ประโยชน์จาก GPS ที่เป็นภาษาไทยหาได้จากที่ไหน

เชิญท่าน ผู้รู้ อื่นๆ ช่วยให้คำแนะนำด้วยครับ และถ้าต้องการเผยแพร่ attach file มาให้ผมด้วยผม จะนำเผยแพร่ให้ครับ แต่ถ้าเป็นภาษาอังกฤษหาอ่านได้ครับจาก www.gpsworld.com

20. การแสดงลักษณะภูมิประเทศในลักษณะตัวเลขสามารถแสดงหรือจัดเก็บในรูปลักษณะใด

สามารถแสดงหรือจัดเก็บได้ 3 ลักษณะคือ
1.ในลักษณะเส้น contour
2.ในลักษณะช่องตารางรูป matrix หรือ regular square การจัดเก็บแบบนี้ค่าจุดความสูงจัดถูกจัดเก็บในระยะห่างเท่ากันทั้ง การเก็บลักษณะนี้อาจเรียกอีกแบบว่า DTM (Digital Terrain Model) หรือ DEM(Digital Elevation Model)
3.ในลักษณะของรูปสามเหลี่ยมที่มีรูปไม่คงที่(Iregular) การจัดเก็บจะเป็นการเชื่อมโยงเส้นให้อยู่ในลักษณะสามเหลี่ยมการเก็บลักษณะนี้อาจเรียกว่า TIN(Triangulation Iregular Network)

21.ปัจจุบันนิยมจัดเก็บและเผยแพร่ข้อมูลภูมิประเทศตัวเลขอยู่ในลักษณะใด

ในลักษณะช่องตารางรูป matrix หรือ DTM เช่นในสหรัฐอเมริกา ถ้าเป็นหน่วยพลเรือน หน่วยงานที่จัดทำและเผยแพร่คือ USGS ข้อมูลจะมีชื่อเป็นทางการคือ DEM ถ้าเป็นทางทหาร หน่วยงานที่จัดทำเผยแพร่คือ NIMA ข้อมูลจะมีชื่อเป็นทางการว่า DTED

22. มาตรฐานของข้อมูลความสูงภูมิประเทศตัวเลข(DTM)มีอย่างไร

Level 0 มาตรส่วน 1: 1 000 000 ระยะห่างระหว่างจุดความสูงประมาณ 1 กม.(.0083 องศา) ความถูกต้องทางดิ่ง +/- 30 เมตร
Level 1 มาตรส่วน 1: 250 000 ระยะห่างระหว่างจุดความสูงประมาณ 90 เมตร(.00083 องศา) ความถูกต้องทางดิ่ง +/- 30 เมตร
Level 2 มาตรส่วน 1: 50 000 ระยะห่างระหว่างจุดความสูงประมาณ 30 ม.(1 ฟิลิบดา) ความถูกต้องทางดิ่ง +/- 10 เมตร

18 กุมภาพันธ์ 2553

ไอซีทีเปิดตัวเว็บไซต์เตือนภัยพิบัติ

นายวิริยะ มงคลวีระพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า กระทรวงไอซีที ได้เปิดเว็บไซต์ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติภายใต้แนวคิดมั่นใจ ปลอดภัย ฉับไว เตือนภัยกับ www.ndwc.go.th เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลแบบเจาะลึก ทุกความเคลื่อนไหวของภัยพิบัติทุกชนิดที่เกิดขึ้นทั่วโลกรวมทั้งจะช่วยแจ้งเตือนภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทั่วทุกภาคส่วนของประเทศไทย รวมทั้งการเกิดภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในต่างประเทศที่อาจจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย

"เว็บไซต์เตือนภัยจะมีการอัปเดตข้อมูลเกี่ยวกับภัยพิบัติทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมงรวมทั้งจะมีการแจ้งเตือนภัยอย่างต่อเนื่อง และจะเป็นการสร้างการเตือนภัยในรูปแบบชุมชนออนไลน์อีกด้วย'"

นอกจากแจ้งเตือนผ่านเว็บไซต์แล้วยังจะมีการแจ้งเตือนด้วยข้อความสั้น (SMS) ผ่านมือถือได้อีกด้วยโดยประชาชนที่สนใจสามารถพิมพ์ u ndwc บนมือถือ แล้วส่งข้อความไปยังหมายเลข 4849333 จากนั้นจะมี SMS ตอบรับการเป็นสมาชิกกลับมาหลังจากนั้นสมาชิกจะได้รับ SMS เตือนภัยเช่นเดียวกับบนเว็บไซต์ทุกครั้งที่จะเกิดภัยพิบัติในแต่ละภูมิภาคหรือทุกครั้งที่เกิดภัยพิบัติในต่างประเทศ

ทั้งนี้ ศูนย์เตือนภัยต้องการให้เว็บไซต์นี้เป็นแหล่งข้อมูลด้านภัยพิบัติทุกประเภท รวมทั้งเป็นการเปิดช่องทางสื่อสารในการเฝ้าระวังภัยในลักษณะรูปแบบชุมชนออนไลน์ โดยภายในเว็บไซต์จะมีการอัปเดตข้อมูลและสถานการณ์ด้านภัยพิบัติอย่างทันท่วงที ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินหรือเกิดเหตุการณ์ที่เข้าข่ายต้องแจ้งเตือนให้กับประชาชน

สำหรับทิศทางการทำงานของศูนย์เตือนภัยในปีหน้า ในวันนี้ (14 ธ.ค.) จะมีการลงนามในสัญญาเกี่ยวกับโครงการติดตั้งทุ่นลอยน้ำลึกเพื่อตรวจสอบหาคลื่นสึนามิอีก 2 ทุ่นในทะเลฝั่งอันดามันจากเดิมมีแล้ว 1 ทุ่นซึ่งสหรัฐอเมริกาบริจาคให้ นอกจากนี้ยังมีโครงการติดตั้งหอเตือนภัยเพิ่มเติมในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน และบริเวณฝั่งอ่าวไทยและทะเลตะวันออกเพื่อให้สามารถเตือนภัยได้ครบถ้วนทุกภัยพิบัติ

ทีมา

http://www.bangkokgis.com/modules.php?m=newsupdate_b&op=detailnewsupdate&NUID=97

17 กุมภาพันธ์ 2553

Kohjinsha ที่พี่เค้าไปฝึกงานมา...


KOHJINSHA Ultra Mobile PC ใหม่ ชีวิตอิสระไร้ขีดจำกัด...ในมือคุณ
เหมือนรวมทั้ง notebook และ tablet ไว้ในเครื่องขนาด mini เครื่องเดียว

Ultra-Mobile PC เป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่สมบูรณ์แบบที่สุด โดย Ultra-Mobile PC ใช้ซอฟท์แวร์เวอร์ชั่นเต็มของระบบปฏิบัติการ Windows XP และ Vista และอาจจะมาพร้อมกับเวอร์ชั่นเต็มของแอพพลิเคชั่นของซอฟท์แวร์ของ Microsoft ต่างๆ ซึ่งเป็นที่นิยมกันเช่น Office ซึ่งรวมถึง Word, Excel, PowerPoint และ Outlook

Ultra Mobile PC ถือเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่ซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างเครื่อง Tablet PC ขนาดใหญ่และเครื่อง PDA Phone ขนาดเล็ก

ด้วยประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุดสำหรับซอฟท์แวร์ของระบบปฏิบัติการ Windows vista ทำให้ Ultra Mobile PC ทำงานได้เหนือกว่าอุปกรณ์ PDAPhone ซึ่งเล็กกว่า และใช้ระบบปฏิบัติการ Windows Mobile ที่จำเป็นต้องอาศัยผู้พัฒนาซอฟท์แวร์เพื่อสร้างซอฟท์แวร์เพื่อการใช้งานสำหรับจอขนาดที่เล็กลงและระบบ Windows Mobile เบื้องต้น


Ultra Mobile PC นั้นไม่ใช่ทั้งคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะและไม่ใช่เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค หากแต่เป็นคอมพิวเตอร์ที่สามารถพกติดมือได้ตลอดเวลา ทั้งด้วยขนาดที่เล็กและน้ำหนักที่เบา ทำให้คุณสามารถพกพาไปที่ใดก็ได้เช่นเดียวกับการพกหนังสือเล่มหนึ่งแล้วเดินไปมาได้ตามต้องการ และด้วยจอแบบ Touch screen ทำให้การใช้งานไม่ว่าจะแบบที่ง่ายดายหรือซับซ้อนเป็นไปได้ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส

สำหรับการเชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นก็ง่ายและสะดวกเช่นกัน ด้วย Internet Explorer หรือเว็บบราวเซอร์อื่นๆ คุณก็สามารถเข้าถึงพื้นที่ที่มี Wi-Fi hotspots การ์ดข้อมูลแบบ 3G หรือแม้แต่ใช้โทรศัพท์มือถือที่เชื่อมต่อกับ Bluetooth ในการท่องไปในโลกอินเตอร์เน็ต และสำหรับการส่งอีเมลล์ ดาวน์โหลดหรืออัพโหลดไฟล์ทั้งภาพและเสียง หรือการส่งข้อความโดยทันที (Instant Messaging) ทั้งหมดนั้นเป็นไปได้ด้วยเครื่อง Ultra Mobile PC ซึ่งให้การเชื่อมต่อแบบไร้พรมแดนที่รวดเร็วได้ในทุกที่ที่คุณไป

เช่นเดียวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพาอื่นๆ Ultra Mobile PC สามารถเป็นที่ทำงานของคุณในขณะเดินทางได้ เพียงแค่คุณซิงค์เครื่อง Ultra Mobile PC กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านหรือที่ทำงานก็สามารถนำเอาเอกสาร ตารางข้อมูล ไฟล์ภาพและเสียง อีเมล์ ปฏิทิน และข้อมูลในการติดต่อผู้คนต่างๆ เดินทางไปกับคุณด้วยได้ นอกจากนั้น คุณยังสามารถเล่นเกมส์ในระหว่างเดินทางเพื่อความบันเทิงที่เพิ่มเป็นทวีคูณได้อีกด้วย

สำหรับข้อมูลจำเพาะทางเทคนิค เครื่อง Ultra Mobile PC นั้นมีจอแสดงผล LCD ขนาด 7 นิ้ว (ประมาณ 18 ซม.) พร้อมความละเอียดต่ำสุด 800x480 การใช้งานสามารถทำได้โดยผ่านจอ Touch screen ซึ่งมีคีย์บอร์ดปรากฏอยู่ ส่วนระบบปฏิบัติการคือ Windows vista ซึ่งทำให้คุณสามารถใช้งานทุกๆ แอพพลิเคชั่นและอื่นๆ ที่คุณโปรดปรานได้ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ มาพร้อมกับน้ำหนักเพียง 2 ปอนด์หรือเพียงประมาณไม่ถึง 1 กิโลกรัมเท่านั้น

เครื่อง Ultra Mobile PC พร้อมระบบปฏิบัติการ Windows vista นั้นมาพร้อมกับจอสี TFT ซึ่งคุณสามารถขีดเขียนและวาดภาพได้ด้วยปากกา Stylus ซึ่งติดมากับเครื่อง เครื่อง Ultra Mobile PC เหล่านี้นั้นใช้ระบบจอสัมผัสซึ่งหมายความว่าคุณสามารถใช้ปากกาหรือแม้แต่นิ้ว หรือวัตถุใดๆ ที่คล้ายคลึงในการเขียนหรือชี้ไปที่ไอคอนบนหน้าจอ โดยการทำงานของเครื่อง Ultra Mobile PC ก็จะคล้ายคลึงกับเครื่อง Wacom Digitizer (กราฟิก) โดยคุณเพียงปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับหน้าจอแทนที่จะใช้อุปกรณ์ที่เป็นสื่อกลาง นอกจากนั้น คุณยังสามารถใช้ปากกา Stylus ซึ่งทำหน้าที่เช่นเดียวกับเมาส์ในการชี้ไปที่หน้าจอ คลิกปุ่ม ทำเครื่องหมายเพื่อเน้นข้อความต่างๆ หากคุณไม่พึงพอใจกับการใช้งาน Trackpad และแท่งยางลบที่มาพร้อมกับสมุดจด คุณอาจจะหลงใหลในปากกา Stylus ที่ควบคู่มากับเครื่อง Ultra Mobile PC ก็เป็นได้

เหตุผลอีกประการหนึ่งที่ทำให้เครื่อง Ultra Mobile PC นั้นน่าสนใจสำหรับผู้ใช้ก็คือแอพพลิเคชั่นซึ่งสนับสนุนการทำงานของหมึกแบบดิจิตอล ด้วย Microsoft Office 2003 & 2007 และOneNote 2003 & 2007 ทำให้คุณสามารถเขียนเพื่อใส่ข้อมูลลงไปในเครื่องได้ ดังนั้นคุณจึงสามารถเขียนข้อมูลลงในเซลล์ของโปรแกรม Excel เขียนด้วยลายมือและทำหมายเหตุประกอบลงเอกสารในโปรแกรม Word วงกลมหรือทำเครื่องหมายเน้นจุดต่างๆ เมื่อนำเสนอด้วย PowerPoint และอื่นๆ ได้อีกมากมาย ยิ่งไปกว่านั้น Office 2003 & 2007 ยังช่วยให้คุณสามารถเขียนตามคำบอกหรือให้เครื่องอ่านเอกสารด้วยเสียงให้คุณฟังได้ โดยฟังก์ชันดังกล่าวนั้นจะสามารถทำงานได้ก็ต่อเมื่อมีไมโครโฟนและลำโพงสำหรับการสั่งด้วยเสียง (Voice Command) อยู่ในตัวเครื่อง

OneNote
เป็นแอพพลิเคชั่นที่ยอดเยี่ยมซึ่งทำให้คุณสามารถจัดเก็บโฟลเดอร์มากมายซึ่งเต็มไปด้วยโน้ตที่มีการจดบันทึกด้วยลายมือสำหรับโปรเจคที่คุณกำลังทำอยู่ โดยโปรแกรม OneNote ดังกล่าวถือเป็นซอฟต์แวร์ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายสำหรับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฎิบัติการ XP ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะเดินทางไปที่ใด Ultra-Mobile PC ก็สามารถให้ประสิทธิภาพในการใช้งานได้เช่นเดียวกับ Windows XP

เครื่อง UMPC เหมาะกับผู้ใช้งานประเภทใด?

เครื่อง UMPC นั้นเหมาะกับผู้ใช้ประเภทใดและเหมาะสำหรับการใช้งานในลักษณะใด? คำตอบคือเหมาะสำหรับผู้ใดก็ตามที่ไม่ต้องการที่จะแบกเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คไปมาเพียงเพื่อจะเข้าชมเว็บต่างๆ ส่งอีเมลล์ เปิดโปรแกรมเอกสาร Microsoft Office และเล่นเกมส์ทั่วๆ ไป ยิ่งไปกว่านั้น เครื่อง UMPC นั้นยังเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ไม่ค่อยพึงพอใจกับการใช้งานปุ่มควบคุมลูกศรบนหน้าจอ (Touch pad) หรือแท่งสำหรับลบข้อมูลเท่าใดนักเนื่องจากเครื่อง UMPC สามารถให้อิสระแก่คุณอย่างเต็มที่ในการใช้เพียงนิ้วมือหรือปากกา Stylus ในการเดินทางของคุณไปบนหน้าจอที่ไร้ขีดจำกัด
หากว่าคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการความสะดวกสบายในการพกพา แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องเผชิญกับปัญหาที่เกิดจากการที่เครื่อง PDA นั้นไม่สามารถตอบโจทย์สำหรับทุกความต้องการในการใช้งานของคุณได้ อีกทั้งคุณยังต้องการที่จะมีห้องสมุดเพลงและภาพยนตร์ที่จะคอยให้ความเพลิดเพลินกับคุณในระหว่างการเดินทางพร้อมกับต้องการที่จะวาดภาพร่างหรือสร้างงานศิลปะแบบดิจิตอลลงบนหน้าจอ เครื่อง UMPC ก็นับได้ว่าเป็นคำตอบสุดท้ายที่สมบูรณ์แบบที่สุดสำหรับคุณ

และหากว่าคุณต้องการประสิทธิภาพการใช้งานในแบบของระบบปฏิบัติการ Windows XP แต่มีข้อแม้ว่าน้ำหนักของเครื่องจะต้องไม่มากไปกว่า 990 กรัม ซึ่งเรียกได้ว่าไม่ต้องการให้ใหญ่ไปกว่าหนังสือหนึ่งเล่มซึ่งหุ้มด้วยปกกระดาษแข็ง เครื่อง UMPC ก็เป็นเสมือนเพื่อนคู่กายที่พร้อมจะอยู่เคียงข้างคุณในทุกๆ การเดินทาง

เครื่อง UMPC นี้มีไว้สำหรับผู้ใช้ในแบบใด?

เครื่อง UMPC เป็นเสมือนหัวใจแห่งวิถีชีวิตในแบบ “Ultra Mobile” ของคุณ
วิถีชีวิตแบบ “Ultra Mobile” หมายถึงการที่ผู้คนสามารถทำในทุกสิ่งที่พวกเขาต้องการได้โดยมีอุปกรณ์ที่มีฟังก์ชั่นการทำงานแบบเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ โดยสามารถพกพาทั้งสองสิ่งนี้ไว้ในกระเป๋าไม่ว่าจะเดินทางไปที่ใด ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะกำลังมุ่งหน้าไปยังที่ใด ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน ที่ทำงาน หรือไปเที่ยวในวันหยุดพักผ่อน ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด โดยอาจจะเป็นโดยรถไฟ รถประจำทาง รถไฟใต้ดิน รถยนต์ เครื่องบินหรือแม้แต่ด้วยการเดิน และไม่ว่าคุณจะกำลังทำอะไร กำลังทำงาน เดินทางไปท่องเที่ยว ออกกำลังกาย เรียนหนังสือ สนุกกับงานปาร์ตี้ พักผ่อนหย่อนใจ เดินช็อปปิ้งหรือรับประทานอาหาร คุณก็จะยังสามารถเชื่อมต่อ ได้รับข้อมูลข่าวสาร ได้รับความบันเทิง และสามารถผลิตผลงานส่วนตัวได้ในทุกเวลาและทุกสถานที่ในโลกใบนี้ เครื่อง UMPC จึงเป็นเทคโนโลยีที่ให้อิสรภาพแด่คุณในการที่จะสนุกและเพลิดเพลินกับวิถีชีวิตแบบ “Ultra Mobile” ได้อย่างแท้จริง


ที่มา http://www.kohjinsha.co.th/what_umpc_p01.html

16 กุมภาพันธ์ 2553

หนังสือคู่มือโปรแกรม SKETCHUP

สามารถหาได้จากร้านหนังสือ

http://www.se-ed.com/eShop/

อยู่ในหมวดของหนังสือประเภท กราฟิก+มัลติมีเดีย+พิมพ์ นะคะ

โคตรเพชรบนยูเรนัสและเนปจูน

รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย

อยากเจอเพชรเป็นตัน ๆ ไหม?
ไปอยู่บนดาวยูเรนัสหรือดาวเนปจูนสิ
ณ ห้องทดลองแห่งชาติลอเรนซ์ลิเวอร์มอร์ นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองยิงเลเซอร์กำลังสูงไปยังเพชรขนาดกว้าง 2 มิลลิเมตร หนา 0.5 มิลลิเมตร การยิงนี้ทำให้ความร้อนพุ่งขึ้นสูงถึง 110,000 เคลวิน และมีความดันถึง 4,000 กิกะปาสคาลหรือ 40 ล้านเท่าของความดันปกติที่ผิวโลก
ปฏิบัติการนี้เป็นผลงานของคณะนักวิทยาศาสตร์นำโดย โจน เอกเกิร์ต เป็นการทดลองเพื่อศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับจุดหลอมเหลวของเพชร ซึ่งเป็นวัสดุที่แข็งที่สุดในธรรมชาติ และยังอาจช่วยไขปริศนาเรื่องทิศทางสนามแม่เหล็กที่แปลกประหลาดของดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนได้อีกด้วย
จากการทดลองพบว่า ขณะที่ความดันลดลง อุณหภูมิจะสูงขึ้น ซึ่งแปลความได้ว่ามีพลังงานส่วนหนึ่งถูกใช้ไปในการทำละลายเพชร การทดลองนี้สามารถวัดอุณหภูมิและความดันของเพชรขณะที่หลอมเหลวบางส่วนได้ในช่วงกว้างตั้งแต่ 6-11 ล้านบรรยากาศ ในช่วงความดันนี้เพชรแสดงพฤติกรรมคล้ายกับน้ำซึ่งส่วนที่เป็นของแข็งมีความหนาแน่นน้อยกว่าส่วนที่เป็นของเหลว แต่ในการทดลองนี้แทนที่จะเป็นน้ำแข็งลอยบนน้ำกลับเป็นก้อนเพชรขนาดจิ๋วลอยอยู่บนคาร์บอนเหลว
นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า สภาพความดันสูงที่ทำให้เพชรแสดงพฤติกรรมน่าสนใจเช่นนี้อาจเกิดขึ้นในดาวเคราะห์ยักษ์อย่างดาวเนปจูนและดาวยูเรนัสก็ได้
"อาจเป็นไปได้ว่าที่นั่นอาจมีแกนดาวที่เป็นคาร์บอนเหลวและมีเพชรลอยปริ่มอยู่บนนั้นเหมือนกับภูเขาน้ำแข็งที่ลอยอยู่ในทะเลบนโลก" เอกเกิร์ตอธิบาย
มหาสมุทรเพชรที่ไหลวนอยู่ในแกนของดาวเคราะห์นี้อาจอธิบายปริศนาที่มีมาอย่างยาวนานข้อหนึ่งได้ นักดาราศาสตร์สงสัยมาเป็นเวลานานแล้วว่า เหตุใดขั้วแม่เหล็กของดาวเคราะห์น้ำแข็งยักษ์เช่นยูเรนัสและเนปจูนจึงทำมุมห่างจากขั้วการหมุนของดาวมากถึง 60 องศา สนามแม่เหล็กของดาวเคราะห์เกิดขึ้นจากการไหลอันซับซ้อนของของเหลวในบริเวณนำไฟฟ้าของดาวเคราะห์ และเพชรก็สามารถเบี่ยงเบนเส้นแรงแม่เหล็กจนขั้วแม่เหล็กเลื่อนเหลื่อมจากขั้วการหมุนดังที่พบจากการสำรวจก็ได้


ที่มา http://thaiastro.nectec.or.th/news/viewnews.php?newsid=21

Swiss Style Relief Shading

ประเทศสวิสเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีชื่อเสียงด้านการทำแผนที่มานาน ความสงบและเยือกเย็นทำให้คนสวิสเป็นคนที่ทำอะไรด้วยความประณีต และแผนที่ในลักษณะแสดงความสูงด้วยแสงเงาหรือ ที่เรียกว่า Relief Shading ในแบบที่เป็นเอกลักษณและเป็นประเทศแรกที่คิดค้นวิธีการและทำให้ Swiss Style Relief Shading เป็นที่รู้จักและยอมรับในวงการการทำแผนที่

ลักษณะของ Swiss Style Relief Shading ที่ทำให้แผนที่ relief shading แห่งภูมิประเทศเป็นเขาเป็นเงาขึ้นมีลักษณะดังนี้

1.บริเวณที่เป็นภูเขา จะมีความสว่างอีกด้านจะมีเงาดำอีกด้าน เพื่อแสดงแนวเขา

2.บริเ วณที่เป็นพื้นราบจะมี โทนสีสว่างแต่ บริเวณพื้นราบตามแนวเขา โทนจะออกกลางๆ ขาวกับดำ ทำให้มองเห็น ที่ราบตามแนวเขาได้ชัดเจน

3.บริเวณยอดสูงสุดของเขา จะมีความแตกต่าง(Contrast) สูงกว่าบริเวณที่ไม่ใช่ยอดเขา

หลักการนี้ ได้ถูกคิดค้นโดยศาสตราจารย์ Fridorin Becker (1854-1922) และผู้ที่ทำให้เกิดผลอย่างมากมายคือ Eduard lmhof (1895-1986) ลองมาดูตัวอย่างrelife shading map ซึ่งถูกจัดทำโดย Becker ปี 1889 ดูนะคะ






ภาพจาก http://www.reliefshading.com/history/pictures/becker_glarus.jpg

ลองดูภาพแล้ว ดูข้อกำหนด ในข้อ 1-3 จะเห็นได้ว่า เมื่อใช้ข้อกำหนดเหล่านั้น จะทำให้แผนที่เห็นทรวดทรงได้ดียิ่งขึ้น

สมัยนั้นเทคนิคการพิมพ์ยังใช้วิธีการที่เรียกว่า chromolithography ที่เป็นการพิมพ์สีได้ ทำให้การพิมพ์แผนที่ในลักษณะนี้ต้องมีความแม่นยำ มิฉะนั้นจะเกิดสีเหลื่อมขึ้นได้(ปัจจุบัน พัฒนาเป็นระบบพิมพ์แบบ Offset)

ปัจจุบันเทคนิคการทำ relief shading ก็พัฒนามาตามลำดับแต่ก็คงใช้หลักการของ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์นั่นเอง เทคนิึคปัจจุบันได้อาศัยโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ แล้วนำไปซ้อนกับแผนที่ ปรับการมองเห็นหรือ opaque ให้มองเห็นส่วนที่เป็นแสงเงา วิธีการที่น่าจะเป็นตัวอย่าง ได้ก็คือการใช้โปรแกรม photoshop มาปรับ วิธีการทำอย่างไร อ่านได้จาก http://www.shadedrelief.com/shading/Swiss.html

15 กุมภาพันธ์ 2553

Geoinformatics and Cartography

ในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา การเรียนการสอนที่เกี่ยวกับภูมิสารสนเทศ เราจะเกี่ยวกับ เทคโนโลยี 3 S คือ GIS , Remote sensing และ GPS แต่การนำเสนอในรูปแบบผลการวิเคราะห์ในรูปแบบแผนที่ ซึ่งอาจจะเป็นแผนที่กระดาษ หรือแผนที่ในเครือข่ายอินเตอร์เนทในรูปแบบ interactive map เราจะไม่ค่อยมีการสอนกัน



Geoinformatics คือภูมิสาระสนเทศ ส่วน Cartography คือวิชาว่าด้วยการเขียนแผนที่ ทั้งสองวิชาเป็นส่วนที่เสริมซึ่งกันและกัน โดยถ้าแผนที่มีลักษณะโต้ตอบกับผู้ใช้เราก็เรียกว่า Mutimedia Cartography หรือ Interactive Map ขณะที่แผนที่กระดาษเราจะเรียกว่า Static map

หลายปีที่ผ่านมา ก็เป็นอาจารย์สอนวิชา Mutimedia Cartography ซึ่งจะเน้นหนักไปทางด้านของ Interactive map บนเครือข่าย Internet เทคโนโลยีของ สามมิติ ตลอดจน การบริการแผนที่ทางInternet หรือ WMS และ WFS

มีลูกศิษย์หลายคนที่เรียนวิชาด้าน Geoinformatic มาปรึกษาด้านการทำวิทยานิพนธ์ หลายคนและก็แนะนำให้ทำด้าน Mutimedia Cartography แต่อาจารย์ที่ปรึกษามักจะบอกว่า ไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งไม่ค่อยเห็นด้วยนัก เพราะโลกก้าวหน้า บางทีเราต้องยอมเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ เสียบ้าง

เผอิญปีนี้ เข้าร่วมการประชุม ICC2009 มีการนำเสนอหลักสูตร Geoinformatics and Cartography ซึ่งเป็นผลจากการประชุมระหว่าง นักทำแผนที่และนัก Geoinformatic มองเห็นความจำเป็นที่สองวิชาต้องเสริมงานซึ่งกันและกัน

รายละเอียดของหลักสูตร ใช้เวลาเรียน 2 ปี เป็นหลักสูตรปริญญาโทโดยเทอมแรกเป็นการปูพื้นความรู้พื้นฐาน เทอมที่สองเป็นเทคโนโลยี interactive map เทอมที่สามเป็นการนำเทคโนโลยี Geoinformatic และ Cartography มาใช้งานจริง และเทอมที่สี่จะเป็นการทำวิทยานิพนธ์ รายละเอียดหาอ่านได้จาก www.carto-tum.de

ถึงตอนนี้แล้ว ที่แนวทางการสอนเป็นแนวทางที่ชุมชนด้านนี้ คิดตรงกัน ก็อยากให้ อาจารย์มหาวิทยาลัยลองปรับปรุงหลักสูตร Geoinformatic ให้ทันสมัยมากขึ้น เพื่อประโยชน์ของลูกศิษย์....

ที่มา
http://www.resgat.net/modules.php?name=News&file=article&sid=146

Map Gallery

Map Gallery หรือห้องแสดงภาพแผนที่ ในความหมายหนึ่งก็คือ การแสดงข้อมูลเกี่ยวกับประเทศใด ประเทศหนึ่ง หรือทั้งทวีป หรือทั้งโลก ภายใต้แผ่นกระดาษแผ่นเดียวหรือหลายแผ่นต่อ ภาพแผนที่นอกจากจะแสดงถึงศิลปะตลอดจนวิทยาการในการถ่ายทอดข้อมูลทั้งในปัจจุบันและอดีตแล้ว ยังเป็นเสมือนภาพนิ่งแสดงถึงข้อมูลภูมิประเทศหรือเหตุการณ์ที่ผ่านมา ฉะนั้นแผนที่จึงมีความสำคัญและมีคุณค่าต่อการเก็บรักษาไว้เป็นอย่างยิ่ง

ดูห้องแสดงภาพแผนที่ ทั่วโลกได้ที่

http://www.lib.utexas.edu/maps/

GPS และ INS (Inertial navigation sensors)

เป็นที่ทราบกันดีว่า ระบบ GPS จะบอกค่าตำแหน่งได้เมื่อสามารถรับสัญญาณดาวเทียมได้อย่างน้อยที่สุด 3 ดวง สิ่งสำคัญที่สุดคือเมื่อเครื่องรับสัญญาณ GPS ไปอยู่ในบริเวณอับสัญญาณ เช่นบริเวณตึกสูง บริเวณต้นไม้ที่มีใบหนาทึบ ก็จะทำให้ไม่สามารถบอกตำแหน่งพิกัดได้

ระบบ INS หรือ Inertial navigation sensors คือเครื่องมือที่ช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว กล่าวคือ ระบบ INS จะประกอบด้วยเครื่องมือ 2 ชนิดก็คือ เครื่องมือวัดความเร็วและเครื่องวัดมุม(Accelerometers and Gyros) เครื่องมือดังกล่าวจะติดตั้งอยู่บนแกนทั้ง 3 แกน(แกน X, แกน Y และ แกน Z) ซึ่งเรียกกันในภาษาเทคนิคว่า IMU(Inertial Measurement Unit)

โดยการทำงาน เมื่อเกิดภาวะอับสัญญาณขึ้นมา ระบบ INS จะทำงานด้วยการวัดความเร็วและมุม ทั้งสามแกน เพื่อคำนวณหาค่า ความเร็วและตำแหน่งของเครื่องรับสัญญาณ โดยหลักการแล้วไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร แต่ปัญหาที่ทำให้ระบบนี้มีราคาแพงอยู่ที่ อุปกรณ์เครื่องมือ ยิ่งได้ค่าที่ถูกต้องและละเอียดมากก็จะราคาแพงมาก และเวลาในห้วงอับสัญญาณยิ่งเวลาอับสัญญาณมาก ความถูกต้องก็จะน้อยลง

นอกจากนี้การประยุกต์งานในระบบ INS เท่าที่ผมเคยรับฟังมาคือการใช้ระบบนี้ติดตั้งกับกล่องถ่ายภาพทางอากาศ เพื่อหาตำแหน่งการหมุนของกล้องถ่ายภาพทางอากาศ โดยจุดเปิดถ่ายภาพสามารถหาได้อยู่แล้วจากการติดตั้งระบบ DGPS บนกล้องถ่ายภาพทางอากาศ ซึ่งถ้าใช้ระบบนี้ก็จะทำให้การสำรวจหาจุดควบคุมหรือ Ground control ลดน้อยลงหรือแทบจะไม่ต้องสำรวจอีกเลย ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายไปอีกมาก

ระบบนี้น่าจะเป็นประโยชน์และเป็นหัวข้อที่เหมาะสำหรับงานวิจัย ที่นักวิชาการประเทศไทยน่าจะนำมาคิดเผื่อ ในวันข้างหน้าเราจะสามารถจัดสร้าง INS ที่มีราคาถูกขึ้นมาได้ครับ

งานวิจัยที่ผมนำมาแนบเป็นตัวอ้างอิงสำหรับบทความนี้มาจาก วารสาร GISDEVELOPMENT April 2005
Vol. 9 Issue 4 เรื่อง Inertial navigation sensors for mobile mapping บทความโดย
Khurram Shaikh, Rashid Shariff, Hishamuddin Jamaluddin, Farrukh Nagi, Shattri Mansor


ที่มา พ.อ.ศุภฤกษ์ ชัยชนะ

WMS web mapping servics บริการข้อมูลแผนที่ผ่านทาง web

ในการบริการข้อมูลแผนที่ผ่านทาง web หรือ OGC Web Service (OWS) จะประกอบด้วย

-Web Mapping Service (WMS) คือส่วนที่ให้บริการข้อมูลในส่วนของข้อมูลภาพ อันได้แก่ภาพถ่ายดาวเทียมภาพถ่ายทางอากาศ หรือการให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทั้งในรูปแบบ vector และ raster ในรูปแบบของภาพแบบ JPEG หรือ PNG ฯลฯ แล้วจึงนำออก web

-Web Feature Service (WFS) คือส่วนที่ให้บริการข้อมูลในส่วนของข้อมูลที่เป็น Vector

ที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีก็คือ เทคโนโลยี WMS นี่แหละ ไม่ว่าจะเป็น การใช้ UMN Mapserver หรือ Google Maps ฯลฯ ล้วนแต่แสดงภาพข้อมูลแผนที่ออกมาในลักษณะ WMS

ขณะที่ เทคโนโลยี WFS ที่เป็นมาตรฐานจะส่งออกข้อมูลแผนที่ที่เป็น Vector มาในรูปแบบของ GML

แนวทาง WMS นั้นปัจจุบัน หลายๆที่ เราสามารถจะดึงข้อมูลจาก web server ของเขาเข้ามาร่วมแสดงผลกับ การประยุกต์ใช้งานของเรา

กล่าวคือ ถ้าเราจะสร้างระบบข้อมูลแผนที่ขึ้นมาแสดงใน web เราสามารถจะนำข้อมูลที่เป็น Free WMS มาแสดงร่วมกับข้อมูลของเราได้ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการจัดเตรียมข้อมูล ลดแรงพลังงานของเครื่อง web server ลงไปแยะ

เป็นประโยชน์มากใช่ไหม แล้วเราจะหา Free WMS ได้จากที่ไหนล่ะ นี่คือคำถาม ก็ขอตอบได้เลยว่า ไปที่ http://www.skylab-mobilesystems.com/en/wms_serverlist.html จะเห็นได้ว่า มี Free WMS อยู่มากมาย

ส่วนด้านการพัฒนา ก็มีสองแนวทาง แนวทางของ ภาษา C/C++ เช่น พวก UMN Mapserver หรือแนวทาง ของภาษา JAVA เช่น Geotools Openlayers ส่วนพวกที่ผสานความเด่นของทั้งสองแนวทางน่าจะเป็น Ka-map นี่แหละ

หรือถ้าต้องการให้ใช้งานแบบ Stand alone แนวทางในตอนนี้ เห็น จะมี QGIS หรือ Quantum GIS ( http://download.qgis.org/qgis/ )ที่น่าสนใจมาก เพราะสามารถใช้งานร่วมกับ ข้อมูลที่อยู่ในเครื่องของเรา ข้อมูลที่เป็น WMS ที่อยู่ใน internet หรือแม้กระทั่งข้อมูลที่เป็น Object Database อย่าง Postgres ได้

ปัญหาตอนนี้ก็คือ จะโน้มน้าวให้ประเทศเรา หรือหน่วยงาน ราชการ จัดทำ WMS มากๆ จะทำอย่างไรดี

14 กุมภาพันธ์ 2553

วันวาเลนไทน์

วันนักบุญวาเลนไทน์ (Saint Valentine's Day) หรือที่เป็นที่รู้จักว่า วันวาเลนไทน์ (Valentine's Day) ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันประเพณีที่คู่รักบอกให้กันและกันทราบเกี่ยวกับความรักของพวกเขา โดยการส่งการ์ดวาเลนไทน์ ซึ่งโดยมากจะไม่ระบุชื่อ วันนี้เริ่มเกี่ยวข้องกับความรักแบบชู้สาวในช่วงยุค High Middle Ages เมื่อประเพณีความรักแบบช่างเอาใจ (courtly love) แผ่ขยาย

ประวัติ
วันวาเลนไทน์นั้นมีมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน ในกรุงโรมสมัยก่อนนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ จะเป็นวันเฉลิมฉลองของจูโน่ซึ่งเป็นราชินีแห่งเหล่าเทพและเทพธิดาของโรมัน ชาวโรมันรู้จักเธอในนามของเทพธิดาแห่ง อิสตรีและการแต่งงาน และในวันถัดมาคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ก็จะเป็นวันเริ่มต้นงานเลี้ยงของ Lupercalia การดำเนินชีวิตของเด็กหนุ่มและเด็กสาวในสมัยนั้นจะถูกแยกจากกันอย่างเด็ดขาด แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีประเพณี อย่างนึง ซึ่งเด็กหนุ่มสาวยังสืบทอดต่อกันมา คือ คืนก่อนวันเฉลิมฉลอง Lupercalia นั้นชื่อของเด็กสาวทุกคนจะถูกเขียนลงในเศษกระดาษเล็ก ๆ และจะใส่เอาไว้ในเหยือก เด็กหนุ่มแต่ละคนจะดึงชื่อของเด็กสาวออกจากเหยือก แล้วหลังจากนั้นก็จะจับคู่กันในงานเฉลิมฉลอง บางครั้งการจับคู่นี้ ท้ายที่สุดก็จะจบลงด้วยการที่เด็กหนุ่มและเด็กสาวทั้งสองนั้นได้ตกหลุมรักกันและแต่งงานกันในที่สุด

ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง (Claudius II) นั้น กรุงโรมได้เกิดสงครามหลาย ครั้ง และคลอดิอุสเองก็ประสบกับปัญหาในการที่จะหาทหารจำนวนมากมายมหาศาลมาเข้าร่วมในศึกสงคราม และเขาเชื่อว่าเหตุผลสำคัญก็คือ ผู้ชายโรมันหลายคนไม่ต้องการจากครอบครัวและคนอันเป็นที่รักไป และด้วยเหตุผลนี้เอง ทำให้จักรพรรดิคลอดิอุสประกาศให้ยกเลิกงานแต่งงานและงานหมั้นทั้งหมดในกรุงโรม ถึงกระนั้นก็ตาม ยังมีนักบุญผู้ใจดีคนหนึ่งซึ่งชื่อว่า ท่านนักบุญวาเลนไทน์ ท่านเป็นพระที่กรุงโรมในสมัยของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง ท่านนักบุญวาเลนไทน์และนักบุญมาริอุส ได้จัดตั้งกลุ่มองค์กรเล็ก ๆ เพื่อช่วยเหลือชาวคริสเตียนที่ตกทุกข์ได้ยากเหล่านี้ และได้จัดให้มีการแต่งงานของคู่รักอย่างลับ ๆ ด้วย

และจากการกระทำเหล่านี้เอง ทำให้นักบุญวาเลนไทน์ถูกจับและถูกตัดสินประหารโดยการตัดศีรษะ ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ประมาณปีคริสต์ศักราชที่ 270 ซึ่งถือเป็นวันที่ท่านได้ทนทุกข์ทรมานและเสียสละเพื่อเพื่อนมนุษย์


การส่งดอกไม้วันวาเลนไทน์
มนุษย์ได้ใช้ดอกไม้เป็นสื่อในการแสดงความรักต่อกันมานานแล้ว เราอาจจะคิดว่าดอกไม้เป็นสิ่งที่สามารถใช้สื่อความหมายเฉพาะความรักของหนุ่มสาวเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วดอกไม้แต่ละชนิดสามารถสื่อความรักได้หลายรูปแบบ ทั้งยังไม่จำกัดอายุและเพศอีกด้วย

กุหลาบแดง (Red Rose) : จะใช้ในความหมายแทน ประโยคที่ว่า "ฉันรักเธอ"

กุหลาบขาว (White Rose) : กุหลาบขาวแทนความหมายแห่งความรักอันบริสุทธิ์

กุหลาบชมพู (Pink Rose) : มักถูกใช้แทนความรักแบบโรแมนติก และความเสน่หาต่อกัน

กุหลาบเหลือง (Yellow Rose) : สีเหลืองเป็นสีแห่งความสดใส แทนความรักแบบเพื่อน

ที่มา http://th.wikipedia.org/

การพิจารณาภูมิประเทศจากเส้นชั้นความสูงบนแผนที่

ลักษณะเส้นชั้นความสูงแบ่งออกเป็นหลายลักษณะตามภูมิประเทศดังนี้


1. เส้นชั้นความสูงที่มีระยะห่างมาก ๆ และมีระยะห่าง เท่า ๆ กัน แสดงว่าเป็นพื้นที่พื้นลาดน้อย และสม่ำเสมอ ดังรูป





2 . เส้นชั้นความสูงที่มีระยะประชิด และระยะห่าง ๆ เท่า ๆ กัน แสดงว่า เป็นพื้นที่ชั้นและสม่ำเสมอ





3 . เส้นความสูงที่มีระยะชิดกันในตอบบนและห่าง กันมากขึ้นในตอนล่าง แสดงว่าพื้นที่บริเวณนั้นเป็นพื้นลาดเว้า





4 . เส้นชั้นความสูงที่มีระยะห่างในตอนบนและชิดกันมากขึ้นในตอนล่าง ๆ แสดงว่าบริเวณนั้นเป็นพื้นที่แบบลาดนูน





5 . เส้นชั้นความสูงที่มีวงเข้าบรรจบกัน แสดงว่าเป็นภูเขาเป็นลูกโดด หรือยอดเขา




6 . เส้นชั้นความสูงที่วงรอบ ยอดภูเขาแสดงให้เห็นเป็นตำแหน่งของยอดเขา หรือคอเขา คือส่วนที่ต่ำสุดระหว่างยอดเขาสองยอด





7 . เส้นชั้นความสูงที่เป็น รูปตัว U ซ้อนๆ กัน แสดงว่าบริเวณนั้นเป็นสันเขา หรือ เขาย่อย





8 . เส้นชั้นความสูงที่มีลักษณะ ซ่อนทับกัน แสดงว่าเป็นหน้าผาชัน





9 . เส้นชั้นที่ความสูงวงบรรจบกัน และมีท่อเส้นสั้นๆ ขีดไว้ในแนวตั้งฉาก แสดงว่าบริเวณนั้นยุบตัวลงปลายท่อนเส้นจะชี้ไปจุดที่ต่ำกว่า





10 . เส้นชั้นความสูงที่ลักษณะเป็นรูปตัว V แสดงว่าเป็นบริเวณทางน้ำไหล โดยปลายตัว V จะชี้ไปทางต้นน้ำ





ที่ผ่านมานั้นเป็นตัวอย่างของเส้นชั้นความสูงในลักษณะต่างที่จะได้พบบนแผนที่บ่อย ๆ

บทที่ 2 ขั้นตอนการดำเนินงานสำหรับการสร้างแผนที่ตัวเลข

ขั้นตอนระเบียบวิธีการจัดสร้างแผนที่ตัวเลข ไม่ค่อยจะต่างจากการออกแบบระบบข่าวสาร(Information System)เท่าไหรนัก เพราะข้อมูลแผนที่ที่จัดเก็บก็ถือว่าเป็น ข่าวสาร(Information)เช่นเดียวกัน เพียงแต่ต้องมีข้อมูลภาพ(Graphic)เกี่ยวข้องด้วย ฉะนั้นอุปกรณ์ที่นำเข้าข้อมูลแผนที่จึงเป็นอุปกรณ์ที่ค่อนข้างจะมีมากมายและพิเศษกว่าการนำเข้าข้อมูลเพื่อจัดเก็บในฐานข้อมูลธรรมดา ยกตัวอย่างการนำเข้าข้อมูลที่ได้มาจากภาพถ่ายทางอากาศ หรือภาพถ่ายดาวเทียม ที่ต้องมีการดำเนินกรรมวิธีทางหลักของการสำรวจด้วยภาพถ่าย(Photogrammetry) ซึ่งอาจจะต้องมีอุปกรณ์จำพวก scanner ฟิลม์ภาพถ่ายหรือเครื่องอ่าน ข้อมูลภาพจากดาวเทียม ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตแผนที่ตัวเลขมีค่าสูงขึ้นตามลำดับ

ในหลักการทั่วๆไปของขั้นตอนการดำเนินงานสำหรับการสร้างแผนที่ตัวเลข อาจจะแบ่งขั้นตอนได้ดังนี้

1.ขั้นตอนการกำหนดวัตถุประสงค์สำหรับการสร้างแผนที่ตัวเลข

2.ขั้นตอนในการรวบรวมข้อมูล ด้านแผนที่

3.ขั้นตอนการออกแบบฐานข้อมูล

4.ขั้นตอนการทำ data dictionary

5.ขั้นตอนการนำเข้าข้อมูลแผนที่ เพื่อให้อยู่ในรูปลักษณะตัวเลข

6.ขั้นตอนการจัดเก็บแผนที่ตัวเลข ในรูปของสื่อทางคอมพิวเตอร์ เช่น CD-ROM และแจกจ่ายต่อไป

1.ขั้นตอนการกำหนดวัตถุประสงค์สำหรับการสร้างแผนที่ตัวเลข
สำหรับขั้นตอนขั้นนี้นับเป็นส่วนสำคัญที่สุด ในการทำงาน เนื่องจากแผนที่ตัวเลข ไม่ได้เป็นสิ่งที่เป็นคำตอบทุกอย่าง บางคนอาจเข้าใจว่า เมื่อมีแผนที่ตัวเลขแล้ว เป็นสิ่งที่สามารถทำอะไรก็ได้ ต้องทำความเข้าใจว่า แผนที่ตัวเลขอาจถูกออกแบบมาสำหรับงานด้านนี้ แต่ไม่เหมาะสมหรือ อาจต้องมีการดัดแปลงเล็กน้อยเพื่อ ให้เหมาะแก่การทำ งานอีกประเภทหนึ่ง ยกตัวอย่าง แผนที่ตัวเลขที่ผลิตมาสำหรับงานด้าน การเขียนแผนที่ (Cartography) อาจจะถูกออกแบบมาไม่เหมาะสมต่อการทำงานด้าน GIS หรือ แผนที่ตัวเลขที่ใช้ด้านการทหารอาจจะมีข้อมูลน้อยไปสำหรับทางด้านพลเรือนหรือธุรกิจ ฉะนั้นในขั้นตอนนี้ โดยมากจะเป็นการประชุมระหว่างหน่วยงานที่สร้างแผนที่ กับผู้ที่จะใช้แผนที่ตัวเลขว่า วัตถุประสงค์ในการผลิตแผนที่ตัวเลขคือนำไปใช้ในงานประเภทใด

2.ขั้นตอนในการรวบรวมข้อมูล ด้านแผนที่

ขั้นตอนนี้ ต้องรวบรวมข้อมูลแผนที่ ซึ่งปกติจะอยู่ในรูปของสิ่งพิมพ์ ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม ตลอดจน เอกสารประกอบหลายอย่าง ซึ่งอาจจะได้มาจากการสำรวจภาคพื้นดิน หรือ การวิเคราะห์ภาพดาวเทียมทางคอมพิวเตอร์ (Supervised or Unsupervised Classification) หรืออาจเป็นข้อมูลทางแผนที่ที่เป็นตัวเลขที่หน่วยงานอื่น จัดทำไว้แล้ว เพื่อลดปริมาณงานซ้ำซ้อน ในการวางแผนงานที่ดี ผู้ที่เป็นหัวหน้าควบคุมงาน ต้องสามารถที่จะมีความรู้หลายด้าน เพื่อในการสั่งงาน ตลอดจนการตรวจสอบ เพื่อจะได้เป็นที่มั่นใจว่า ข้อมูลแผนที่ที่รวบรวมมาได้นั้น จะมีพอเพียงและมีความถูกต้องต่อมาตรฐานในการจัดทำแผนที่ตัวเลข และที่สำคัญคือตรงต่อ วัตถุประสงค์ของการสร้างแผนที่ตัวเลข

3.ขั้นตอนการออกแบบฐานข้อมูล

ในขั้นตอนนี้ค่อนข้างจะยากเพราะ ต้องมีการใช้ ทฤษฏีและความรู้ทางด้านการออกแบบฐานข้อมูล(Database Design)แต่ก็มีหลักการ ง่ายๆ คือ ประการแรก ให้ท่านแบ่งข้อมูลแผนที่ เป็นสองส่วนเสียก่อน คือส่วนแรก ในส่วนของข้อมูลภาพ ส่วนที่สองคือส่วนที่เป็นข้อมูลคำอธิบาย (Attribute) ในส่วนของที่เป็นข้อมูลภาพให้ท่านแบ่งข้อมูลภาพตามลักษณะเด่น(feature)ของข้อมูลภาพเช่น ข้อมูลภาพในส่วนที่เป็นถนน กับข้อมูลภาพในส่วนที่เป็นทางน้ำ ย่อมมีลักษณะเด่น(Feature) ของข้อมูลที่ต่างกัน แม้ว่าข้อมูลทั้งสองประเภทจะมีโครงสร้างข้อมูลที่เป็น เส้น(Line) เหมือนกัน หรือข้อมูลที่เป็นแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำ หรือ อ่างเก็บน้ำ แม้ว่าจะมีลักษณะเด่น(Feature)ทางข้อมูลเหมือนกับทางน้ำ แต่มีโครงสร้างข้อมูลที่ต่างกัน คือ ทางน้ำมีโครงสร้างข้อมูลเป็น เส้น (Line) แต่ ข้อมูลที่เป็นแหล่งน้ำจะมีโครงสร้างข้อมูลเป็น รูปเหลี่ยม(Polygon) จึงควรแยกข้อมูลออกจากกัน ข้อมูลที่แยกจากกันนี้เราเรียกว่า layer หรือ coverage ส่วนหลายๆ layer หรือ หลายๆ coverage รวมกันเราเรียกว่า 1 workspace จากนั้นในแต่ละ layer หรือ coverageให้มาพิจารณาถึงข้อมูลในส่วนที่เป็นข้อมูลคำอธิบาย(Attribute) เพราะแต่ละลักษณะเด่น(Feature) ของแต่ละ layer ต้องเชื่อมต่อกับ ฐานข้อมูลเพื่ออธิบายความแตกต่างข้อมูลทั้งหมดใน layer นั้น ขั้นตอนนี้จะเหมือนกับการออกแบบฐานข้อมูลที่เป็นตัวอักษรทั่วๆไป โดยในหลักการการออกแบบฐานข้อมูลตัวอักษรเพื่ออธิบาย ลักษณะเด่น(Feature) จะเป็นการออกแบบในลักษณะของ รูปแบบความสัมพันธ์(Relational Model) นั้นคือการนำข้อมูลมาผ่านกระบวนการ Normalize เพื่อแยกข้อมูลที่อยู่ในลักษณะของตาราง(Table) ออกเป็น หลายTable เพื่อให้เข้ากับกฎต่างๆของการออกแบบในลักษณะของรูปแบบความสัมพันธ์(Relational Model)

4.ขั้นตอนการทำ data dictionary

ขั้นตอนนี้ให้ผู้ใช้ เข้าใจในโครงสร้างของข้อมูลที่เราออกแบบไว้ทั้งในส่วนของข้อมูลแผนที่ที่เป็นภาพ(Graphic) ที่ถูกเราจัดแบ่งออกมาเป็น layer หรือ coverage โดยที่ส่วนของที่เป็นข้อมูลคำอธิบาย(Attribute)ของแต่ละลักษณะเด่น(feature) จะแสดงประกอบ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถรู้ถึง โครงสร้างข้อมูล ตัวอย่างของ data dictionary ได้แสดงไว้ ใน ดัชนี ก.

5.ขั้นตอนการนำเข้าข้อมูลแผนที่ เพื่อให้อยู่ในรูปลักษณะตัวเลข

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่เสียเวลาที่สุด และอาจต้องใช้เวลา เกือบ 60-70 เปอร์เซนต์ของโครงการทั้งหมด โดยจุดมุ่งหมายของในขั้นตอนนี้ก็คือ การนำเข้าข้อมูลแผนที่ให้อยู่ในรูปของตัวเลขในรูปแบบโครงสร้างข้อมูลที่ได้ผ่านการออกแบบไว้ทั้งในส่วนของข้อมูลที่เป็นภาพ(Graphic)และส่วนของข้อมูลที่เป็นคำอธิบาย(Attribute) ความรวดเร็วของการนำเข้าข้อมูลขึ้นอยู่กับ การควบคุมและบุคลากรที่มีความสามารถ และ อุปกรณ์เครื่องมือในการนำเข้า

6.ขั้นตอนการจัดเก็บแผนที่ตัวเลข ในรูปของสื่อทางคอมพิวเตอร์ เช่น CD-ROM และแจกจ่ายต่อไป

ปัจจุบันกระแสการจัดทำข้อมูลแผนที่ตัวเลข ให้อยู่ในรูปแบบของ metadata นั่นคืออยู่ในรูปแบบข้อมูลที่สามารถแลกเปลี่ยนและใช้ร่วมกันในระหว่าง โปรแกรม โดยไม่ต้องเสียเวลาในการ แปลง(Convert) เป็นสิ่งที่เป็นความต้องการของนักทำแผนที่ตัวเลขทั่วไป ในประเทศสหรัฐอเมริกาเอง ในทางทหารก็เกิดมาตรฐานข้อมูลที่เรียกว่า Digest เพื่อกำหนดโครงสร้างข้อมูลของแผนที่ตัวเลขที่ใช้ในวงการทหาร โดยในหลักการจะมีอยู่ 3 ระดับคือ

ระดับ 0 (Level 0) คือแผนที่ตัวเลขที่มีมาตรฐานในระดับมาตราส่วน 1: 1 000 000

ระดับ 1 (Level 1) คือแผนที่ตัวเลขที่มีมาตรฐานในระดับมาตราส่วน 1: 250 000

ระดับ 2 (Level 2) คือแผนที่ตัวเลขที่มีมาตรฐานในระดับมาตราส่วน 1: 50 000

ในประเทศไทยเองก็มีการพยายามให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลแผนที่ตัวเลขสร้างข้อมูล(Meta data)ออกมาในลักษณะมาตรฐานใช้ร่วมกัน ทางกรมแผนที่ทหาร เองก็มีความพยายามทีจะทำแผนที่ตัวเลขให้ออกมาในลักษณะ Meta data โดยตั้งรูปแบบข้อมูลแผนที่ตัวเลขออกมาใน 7 รูปแบบคือ

ส่วนที่เป็น Vector มีรูปแบบข้อมูลดังต่อไปนี้

Vmap อยู่ในมาตรฐานของ Digest

Shape file มาตรฐานข้อมูลที่ใช้ใน software ส่วนมาก

Dgnหรือ DXF มาตรฐานข้อมูลที่ใช้ใน software ส่วนมาก

ส่วนที่เป็น Raster มีรูปแบบข้อมูลดังต่อไปนี้

DTED อยู่ในมาตรฐานของ Digest

ADRG อยู่ในมาตรฐานของ Digest

Geotiff มาตรฐานข้อมูลที่ใช้ใน software ส่วนมาก

ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศหรือภาพแผนที่ที่มิได้ผ่านกระบวนการตรึงให้เข้ากับพิกัดโลก(Georeference)ในส่วนของที่เป็นตัวเลข ปัจจุบันจะผลิตออกมาในลักษณะ ของ Tiff

โดยที่มีการตกลงกันว่า กรมแผนที่ทหารจะผลิตข้อมูลออกมาในลักษณะ 7 รูปแบบ หน่วยราชการที่มีความต้องการข้อมูลแผนที่ตัวเลข ต้องมีเครื่องมือหรือโปรแกรมที่จะรับข้อมูลทั้ง 7 รูปแบบได้

เรื่องราวของ แผนที่ตัวเลข เป็น ข้อมูลที่เราสามารถจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ในหลายรูปแบบ ข้อมูลแผนที่ตัวเลขที่ผ่านการออกแบบมาเป็นอย่างดี และผลิตเพื่อแจกจ่ายที่เป็นในรูปแบบข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน นอกจากจะเป็นการลดความไม่เข้ากันในระหว่างขั้นตอนการแลกเปลี่ยนข้อมูลแล้ว ยังเป็นการลดความซ้ำซ้อนในการจัดทำข้อมูล จึงเป็นสิ่งที่หน่วยงานที่ใช้ข้อมูลแผนที่ตัวเลขควรคำนึงถึง ก่อนที่จะจัดทำระบบ ในอดีตที่ผ่านมา หลายหน่วยงานที่จัดทำระบบขึ้นมา มักจะคำนึงถึงเฉพาะเรื่อง ที่เกี่ยวกับ Hardware และ Software มากกว่าที่จะคำนึงในส่วนของ บุคลากรและข้อมูล เมื่อจัดหาระบบขึ้นมาใช้งาน มักจะทำงานออกมาเป็นผลผลิตไม่ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อหน่วยงานเอง จึงเป็นส่วนที่นักวิเคราะห์ระบบต้องคำนึงไว้








แผนที่ไขปริศนาใครพบอเมริกาก่อน





ที่ปักกิ่ง ‘กลุ่มหนอนหนังสือ’ ร่วมกับพิพิธภัณฑ์ทางทะเลแห่งชาติของอังกฤษ จัดแสดงแผนที่ซึ่งเชื่อว่าเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่แสดงว่า ‘เจิ้งเหอ’ เป็นผู้ค้นพบทวีปอเมริกา ลบล้างทฤษฎีเดิมที่เชื่อว่า คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสเป็นคนแรกที่ค้นพบ ‘โลกใหม่’ ในปี 1492 หากพิสูจน์ได้ว่าแผนที่ฉบับนี้อ้างอิงมาจากต้นฉบับในปี 1481

บนกระดาษแผนที่ที่บางกรอบและเต็มไปด้วยร่องรอยกัดกินของแมลง ความยาว 60 เซนติเมตรและกว้าง 41 เซนติเมตร แสดงที่ตั้งของทุกทวีปอย่างชัดเจน และที่มุมด้านล่างมีข้อความเป็นภาษาจีน ใจความว่า “ แผนที่นี้บันทึกโดยม่ออี้ถง รัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิง ( ซึ่งตรงกับ ค.ศ. 1763) โดยลอกมาจากจากแผนที่ต้นฉบับเดิมในปี 1481 ซึ่งประเทศอื่นถวายแด่จักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิง”

ขณะเดียวบนแผนที่ยังมีคำอธิบายอย่างชัดเจนว่า ส่วนที่อยู่ในวงกลมสีแดงเป็นส่วนที่เพิ่มเติมโดยม่ออี้ถงและพื้นที่อยู่นอกว งกลมแดง เป็นการบันทึกที่เกิดขึ้นในปี 1481


ในปี 2001 หลิวกัง ทนายความและนักสะสม ได้ซื้อแผนที่ดังกล่าวมาจากคนขายหนังสือรายหนึ่งในราคา 500 เหรียญสหรัฐ (ราว 18,500 บาท ) หลิว กล่าวว่า ในช่วงแรกเขารู้สึกไม่แน่ใจว่าแผนที่ดังกล่าวจะเป็นแผนที่ที่ทำขึ้นในสมัยจั กรพรรดิเฉียนหลงจริง เนื่องจากมีบางจุดที่อยู่เหนือการค้นพบในยุคนั้น

อย่างไรก็ตาม ต่อมาหลิวกัง พบว่า ในหนังสือชื่อ ‘ซิงฉาหลัน’ ซึ่งรวบรวมโดยเฟ่ยซิ่น ในปี 1436 มีการอ้างอิงถึงแผนที่ดังกล่าว นอกจากนี้ ยกเว้นตัวหนังสือจีน 3 คำ ที่อ่านว่า ‘หม่าซันเป่า’ ซึ่งเป็นแซ่เดิมและชื่อรองของแม่ทัพเรือเจิ้งเหอ แล้ว ทุกคำของประโยคที่ปรากฏบนแผนที่ดังกล่าวบริเวณที่ตั้งของมหาสมุทรแปซิฟิก ล้วนเหมือนกับที่ปรากฏในบันทึกของเฟ่นซิ่น ผู้ซึ่งเคยติดตามแม่ทัพขันทีเจิ้งเหอหรือที่ชาวไทยคุ้นหูในนามท่าน ‘ซำปอกง’ ร่วมเดินทางล่องเรือสำรวจดินแดนไปด้วยกันถึง 4 ครั้ง

อนึ่ง ข้อความดังกล่าวระบุว่า “ ปีที่ 13 แห่งการครองราชย์ของจักรพรรดิหย่งเล่อ ติดตามขันธีเจิ้ง (หม่าซันเป่า) เดินทางไปเมืองบังคลาเทศ เป็นต้น เพื่อนำเครื่องราชบรรณาการจากจักรพรรดิจีนไปถวายยังที่ต่างๆ และได้กลับสู่เมืองหลวงในปีที่ 16 แห่งแห่งการครองราชย์ของจักรพรรดิหย่งเล่อ”

ด้านกาวิน เมนซีส์ อดีตผู้บัญชาการราชนาวีอังกฤษ ผู้ประพันธ์ “ 1421: The Year China Discovered The World” ตีพิมพ์ในปี 2003 เขาเชื่อว่าเจิ้งเหอเป็นผู้นำกองทัพเรือขนาดมหึมาแห่งราชวงส์หมิงออกท่องโลก กว้าง เมนซี่ส์ยังเป็นผู้จุดประกายให้เกิดการถกเถียงเกี่ยวกับผู้ที่ค้นพบทวีปอเมร ิกาเป็นคนแรกอย่างกว้างขวาง เขากล่าวว่า “ไม่ต้องสงสัยเลยว่า แผนที่ (ของหลิวกัง) เป็นแผนที่จริง”

เมนซี่ส์ชี้ว่า มีแผนที่จำนวนหนึ่งของชาวยุโรปที่อ้างอิงจากแผนที่ดังกล่าวและถ้าแผนที่นี้ท ำปลอมขึ้นมา แผนที่พวกนั้น (ของยุโรป) ก็หลอกลวงด้วย นอกจากนี้ทุกอย่างที่ปรากฏบนแผนที่ดังกล่าวก็ยังปรากฏตามบันทึกต่างๆของจีน

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ แผนที่ดังกล่าวยังอยู่ระหว่างรอการพิสูจน์ว่าเป็นแผนที่ทำขึ้นในปี 1763 จริงหรือไม่ และแม้ว่าจะพิสูจน์ได้แล้วว่า ‘ใช่’ ในขณะนี้ก็ยังไม่สามารถยืนยันถึงการมีอยู่จริงของแผนที่ต้นแบบในปี 1418 ได้

ขณะที่หลิว เชื่อว่ายังมีแผนที่ที่คล้ายคลึงกันกับแผ่นที่เขามีอยู่ในมือบุคคลอื่น และการนำแผนที่ดังกล่าวให้ปรากฏต่อสาธารณะ จะช่วย ‘ปลุก’แผนที่ฉบับอื่นๆที่กำลังรอการพิสูจน์เกี่ยวกับผู้ที่ค้นพบทวีปอเมริกา คนแรกต่อไป .


โดย ผู้จัดการออนไลน์

บทที่ 1 แผนที่ตัวเลข(Digital Map)

ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์ แนวความคิดที่จะเปลี่ยนทุกอย่างเข้าสู่ระบบข่าวสารข้อมูล(Information System) เป็นสิ่งสุดยอดปรารถนา ของทุกองค์กร เพื่อผลของความรวดเร็วของการได้มาซึ่งข่าวสารตลอดจนการวิเคราะห์ของข้อมูล หลายหน่วยงานได้เริ่มที่จะนำข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในรูปของกระดาษ มาสู่ในลักษณะของตัวเลข บันทึกหรือจัดเก็บในสื่อทางคอมพิวเตอร์เช่น cd-rom ยกตัวอย่างง่ายๆ ในส่วนราชการ เราสามารถสืบค้นข้อมูลประชากร ผ่านทางหมายเลขประจำตัวประชาชน ยังผลให้การทำธุรกรรมเกี่ยวกับตัวเราใช้เวลาแค่เพียง 10-20 นาที แทนที่ต้องใช้เวลาเกือบครึ่งวันเมื่อเปรียบเทียบการดำเนินการที่ต้องใช้คนเป็นผู้ดำเนินการ เพราะข้อมูลที่เป็นตัวเลขเหล่านั้นถูกประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางโปรแกรมทำให้มีความรวดเร็วและถูกต้องกว่าการดำเนินการด้วยคน นอกจากนี้ข้อมูลที่จัดเก็บในลักษณะตัวเลข ยังมีความง่ายที่จะปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้มีความทันสมัยได้ตลอดเวลา ท่ามกลางยุคแห่งการแข่งขัน การได้มาของข้อมูล และความทันสมัยของข้อมูล เป็นสิ่งที่ต้องแข่งขันกัน ถึงกับมีคำกล่าวไว้ว่า “ ในยุคคลื่นลูกที่สาม ผู้ใดมีข้อมูล ข่าวสารและเทคโนโลยี ผู้นั้นครองโลก” และสิ่งที่จะทำให้ เราได้มาซึ่งความอยู่รอดขององค์การในยุคข่าวสารก็คือ เราต้องทำระบบข้อมูลให้อยู่ในลักษณะตัวเลขเพื่อจัดเก็บเป็นลักษณะ ฐานข้อมูล เพื่อเรียกใช้ผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันในวงการ ระบบข่าวสารข้อมูล(Information System)

ในวงการการทำแผนที่ ก็หนีไม่พ้นวัฎจักรเหล่านั้น ก่อนอื่น ขอให้เรามาทำความเข้าใจว่า แผนที่คืออะไรเสียก่อน แผนที่คือ สิ่งที่แทนลักษณะของภูมิประเทศ บนพื้นผิวโลก ด้วย รูปร่าง สี สัญลักษณ์ ฉะนั้นแผนที่คือแหล่งข้อมูล หรือ ข่าวสารที่แสดงข้อมูลภูมิประเทศ ถ้าเราสามารถนำแผนที่มาออกแบบเป็นฐานข้อมูล(Database) เพื่อนำเข้าข้อมูลแผนที่ที่อยู่ในรูปกระดาษ ให้เป็นในลักษณะของตัวเลข เพื่อสามารถเรียกใช้ ในคอมพิวเตอร์ได้ ก็คือเราได้สามารถที่จะสร้าง แผนที่ตัวเลข หรือแผนที่เชิงเลขขึ้นมา หรือถ้าจะพูดเป็นภาษาทางการ แผนที่ตัวเลขก็คือ ข้อมูลแผนที่ที่ผ่านการออกแบบเป็นระบบ โดยจัดเก็บในลักษณะตัวเลขผ่านทางสื่อทางคอมพิวเตอร์เช่น CD-ROM เทป ฯลฯ เพื่อให้สามารถเรียกใช้ ให้ได้โดยผ่านทาง เครื่องคอมพิวเตอร์

โดยทั่วไปแล้วข้อมูลแผนที่ ที่จะจัดเก็บเป็นลักษณะตัวเลขประกอบด้วยข้อมูล สองลักษณะคือ

ข้อมูลแผนที่ในส่วนที่เป็นภาพหรือ Graphic
ข้อมูลแผนที่ในส่วนที่เป็นคำอธิบาย หรือ Attribute
การจัดเก็บข้อมูลทั้งสองส่วนนี้ ต้องผ่านการออกแบบฐานข้อมูล ซึ่งจะกล่าวกันต่อไปในขั้น การจัดทำระบบแผนที่ตัวเลข แต่ในที่นี้ขอขยายความในส่วนของข้อมูลแผนที่ดังนี้

1. ข้อมูลแผนที่ในส่วนที่เป็นภาพหรือ Graphic

การจัดเก็บข้อมูลในส่วนนี้เราสามารถจัดเก็บได้ในสองลักษณะคือ

1.1 เก็บในลักษณะ RASTER หรือข้อมูลที่เป็นจุดภาพ

การจัดเก็บในลักษณะนี้คือการนำเอาข้อมูลแผนที่ในส่วนที่เป็นภาพ มาจัดเก็บในลักษณะจุดภาพ เปรียบเทียบเหมือนกับการนำเอาตารางกริดมาครอบตัวภาพ ส่วนไหนที่เป็นข้อมูลที่ต้องการก็ใส่ข้อมูลไปให้รู้ในรูปของเลขระหัส ดังแสดงในรูป 1.1 ความสมจริงของข้อมูลขึ้นอยู่กับ จำนวนหรือ ขนาดของตารางกริด โดยอาจจะใช้คำว่า resolution แทน ขนาดของตารางกริด หรือ dot per inch แทนจำนวนของตารางกริด อุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูล raster ที่เรารู้จักกันดี เช่น scanner







การจัดเก็บข้อมูลแผนที่แบบ raster ข้อดี คือ จัดเก็บได้ง่าย โครงสร้างของข้อมูลไม่ซับซ้อน แต่ข้อเสียคือต้องใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บค่อนข้างมาก ยิ่งมี resolution ที่สูงก็จะใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บมาก

1.2 เก็บในลักษณะ VECTOR หรือข้อมูลที่เป็นจุดพิกัด

การจัดเก็บข้อมูลแผนที่ในส่วนที่เป็นภาพแบบ vector คือการจัดเก็บในลักษณะเป็นเชิงพิกัดแบบ 2 แกน คือ X,Y หรือ 3 แกน X,Y,Z ในโครงสร้างข้อมูลแบบ จุด (POINT) เส้น (LINE) และ รูปเหลี่ยม (POLYGON)โดยที่การเก็บลักษณะแบบ จุด จะเป็นการจัดเก็บของจุดพิกัดในส่วนที่เรียกว่า NODE ส่วนการเก็บข้อมูลในโครงสร้างข้อมูลแบบ เส้น(LINE) คือการเก็บข้อมูลเชิงพิกัดในส่วนที่เรียกว่า NODE และ VERTEX โดยจะถือว่า NODE คือจุดพิกัดที่แสดงถึงส่วนที่เริ่มต้นและสิ้นสุดของเส้น ในขณะที่ VERTEX คือจุดพิกัดที่อยู่ระหว่าง NODE และสุดท้ายคือโครงสร้างการเก็บข้อมูลแบบรูปเหลี่ยม(POLYGON)ที่ประกอบด้วยโครงสร้างข้อมูลทั้งแบบจุด และเส้น โดยที่โครงสร้างข้อมูลแบบจุดจะแทนด้วยจุดศูนย์กลาง(CENTROID)ของรูปเหลี่ยม ในขณะที่โครงสร้างข้อมูลแบบเส้นแทนด้วยเส้นรอบรูปที่ล้อมรอบจุดศูนย์กลาง(CENTROID)ของรูปเหลี่ยม ดังแสดงในรูป 1.2 ที่แสดงโครงสร้างข้อมูลของจุด (POINT) เส้น(LINE) และ รูปเหลี่ยม(POLYGON)









อุปกรณ์ที่ใช้จัดเก็บข้อมูลแบบ VECTOR ที่เรารู้จักกันดีได้แก่ digitizer ข้อดีของการจัดเก็บข้อมูลแบบ VECTOR คือ ใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บค่อนข้างน้อยกว่าแบบ RASTER แต่ข้อเสียคือการประมวลผลบนเครื่องคอมพิวเตอร์จะใช้เวลาค่อนข้างมากกว่าแบบ RASTER

2.ข้อมูลแผนที่ในส่วนที่เป็นคำอธิบาย หรือ Attribute

ในการจัดเก็บข้อมูลแผนที่ในส่วนที่เป็นคำอธิบายนี้ จะใช้ได้เฉพาะ การเก็บข้อมูลแผนที่ในลักษณะของ VECTOR เท่านั้น เพราะการเก็บข้อมูลแผนที่ในส่วนของภาพแบบ VECTOR สามารถที่จะเชื่อมข้อมูลในส่วนที่เป็นข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ที่จัดเก็บในลักษณะของ ฐานข้อมูล(DATABASE) เพราะการจัดเก็บข้อมูลแผนที่ในส่วนของภาพแบบ VECTOR คือการจัดเก็บเชิงพิกัด หรือการจัดเก็บที่มีลักษณะเป็น ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์(Relational Database) นั้นคือ ทำให้สามารถที่จะเชื่อมต่อระหว่าง ข้อมูลที่เป็นพิกัดของจุดภาพกับฐานข้อมูลที่เป็นตัวอักษรที่จัดเก็บใน โปรแกรมฐานข้อมูลเช่น Dbase หรือ Oracle ได้โดยผ่านทาง ข้อมูลที่มีข้อมูลร่วมกันเช่น หมายเลขประจำตัว(ID) ของแต่ละชุดของข้อมูลดังแสดงในรูป 1.3







ในส่วนของการเก็บข้อมูลแผนที่ในส่วนของภาพแบบ RASTER เนื่องจากไม่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลในส่วนของภาพเข้ากับข้อมูลในส่วนที่เป็นตัวอักษรเนื่องจากข้อจำกัดในส่วนของโครงสร้างข้อมูลแบบ RASTER แต่การเก็บข้อมูลแบบ RASTER ก็สามารถจะใช้ข้อมูลเชิงระหัส เป็นตัวแทนอธิบายความแตกต่างระหว่างกลุ่มของข้อมูลในตัวมันเอง ฉะนั้นเราอาจเรียกการเก็บข้อมูลแผนที่ในส่วนของภาพแบบ RASTER ว่า เป็น การเก็บข้อมูลแบบ one-field attribute เพราะใช้เลขระหัสแสดงความแตกต่างของข้อมูล ดังแสดงไว้ที่รูป 1.4






ในแผนที่ในรูปแบบกระดาษโดยทั่วไปวิธีที่จะแสดงความแตกต่างกันระหว่าง วัตถุที่มีรูปแบบ(Feature)เหมือนกันก็คือ สี และขนาด เช่น ถนนที่เป็นถนนสายหลัก ก็จะมีสี ที่มีลักษณะเด่นชัด เช่น สีแดง แตกต่างกับถนนที่เป็นถนนที่ไม่ใช่ถนนสายหลัก ก็คือ ถนนเหล่านั้นอาจเป็นสีแดงเช่นเดียวกันแต่ ขนาดอาจจะเล็กกว่า ถนนที่เป็นถนนสายหลัก แต่การจัดเก็บของแผนที่ตัวเลขถนนทั้งสองจะไม่มีลักษณะแตกต่างกันในด้านของภาพในส่วนของ VECTOR แต่ข้อมูลทั้งสองมีความแตกต่างกันกันที่ ข้อมูลที่จัดเก็บในส่วนของคำอธิบายหรือ Attribute ในส่วนของฐานข้อมูลตัวอักษร ดังแสดงไว้ที่รูป 1.5






แผนที่ตัวเลข คือ นวัตกรรม ใหม่ในด้านการจัดเก็บข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของตัวเลข เป็นศาสตร์ที่ต้องเกี่ยวข้องกับ การออกแบบฐานข้อมูล ความรู้ทางด้านแผนที่ ตลอดจนความรู้ทางด้านการทำงานกับระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งต้องอาศัย องค์ประกอบของ บุคลากร Hardware และ Software ในการจัดสร้างแผนที่ตัวเลขขึ้นมา หลายท่านอาจจะมีข้อสงสัย ระหว่างคำว่า Digital Map กับคำว่า GIS ก็ขอบอกว่า Digital Map หรือแผนที่ตัวเลขคือจุดเริ่มต้นของ GIS นั่นคือ GIS คือระบบทางคอมพิวเตอร์ที่นำข้อมูลภูมิศาสตร์หรือข้อมูลที่ปรากฏบนพื้นผิวโลกมาจัดเก็บเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่งานด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลภูมิศาสตร์ ทั้งทางด้านของการบริหาร การวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น และแผนที่ตัวเลขคือส่วนที่บอกความเป็นไปของข้อมูลบนผิวโลก ฉะนั้น GIS จึงเป็นการนำข้อมูล Digital Map ไปใช้เพื่อให้ก่อเกิดประโยชน์ในสาขาของงานด้านต่างๆมากมาย กล่าวโดยสรุปก็คือ แผนที่ตัวเลขหรือ Digital Map เน้นเรื่องข้อมูล คือการแปลงข้อมูลแผนที่ในรูปของสิ่งพิมพ์ ไปสู่ในรูปของตัวเลขตามที่ได้ออกแบบไว้แล้ว ขณะที่ GIS คือเน้นที่การนำข้อมูลแผนที่ตัวเลขไปใช้เพื่อให้เป็นระบบข้อมูลภูมิศาสตร์ เพื่อนำมาใช้ให้ก่อประโยชน์แก่สาขางานในด้านต่างๆ

ที่มา

http://resgat.net/digital/digimap.html

http://www.healthmap.org/en


น่าจะมีภาษาไทยแปลด้วย....

การใช้ประโยชน์จากระบบแผนที่บน OGC web services

ระบบ internet จะเป็นระบบที่มีการเจริญเติบโตมากที่สุด จากการเริ่มเป็นแค่เพียงระบบติดต่อในหมู่ชนในมหาวิทยาลัย จนปัจจุบันเป็นสิ่งที่จับต้องได้ในหมู่ชนทุกชั้นชน

จากการเริ่มเป็นระบบข้อความธรรมดามาสู่ระบบสื่อหลากหลาย(Multimedia) และก้าวไปสู่ความเป็น dynamic ในลักษณะของ web programming

ปัจจุบันมองไปว่า internet คงจะเป็นระบบที่จะต้องเป็นปัจจัยที่ 5 ของมนุษย์ แทนที่จะเป็นรถยนต์อย่างแน่นอน ตราบใดที่โลกของเรามีทรัพยากรธรรมชาติอันจำกัดเช่นนี้ คาดว่า อีกไม่เกิน 10 ปีต่อไปนี้ เราคงต้องทำงานผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย
การเปิดตัวของระบบ OWS หรือ OGC Web Services หรือการให้บริการข้อมูล spatial ผ่านทางระบบอินเตอร์เนท ทำให้ข้อมูลบน web มีตำแหน่งให้เห็นปรากฏบนโลกของเรา ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในรูปแบบของ Google Maps หรือ Google earth ในรูปแบบของการแสดงผลแบบสามมิติ หรือ OWS ของหน่วยงานทั้งภาครัฐหรือเอกชนในต่างประเทศ ส่งผลต่อการรับรู้ข้อมูลมีมิติที่กว้างขึ้นและรวดเร็ว ตลอดจนการเปิดเสรีให้ผู้ใช้สามารถพัฒนาความสามารถเพิ่มขึ้นทำให้การแสดงผลแผนที่บน web ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

มองไปในอนาคต ข้อมูลในลักษณะเป็น spatial data คงจะมีลักษณะเป็นแบบเปิดกว้าง คือเป็นลักษณะที่ไม่มีใครปิดกั้นได้ แต่จะอยู่ในรูปแบบ ที่ใครมีข้อมูลที่ทันสมัยและมีเทคโนโลยีมากกว่ากัน ถึงจะอยู่รอดได้

ปัจจุบันถ้า จะมีการพัฒนาใช้ประโยชน์จากระบบแผนที่บน OGC web services ในประเทศไทย ในความคิดของผมน่าจะเป็นเรื่องจราจร เพราะถ้ามีข้อมูลข่าวสารจราจร ในประเทศไทย ก็จะสามารถลดการสูญเสียในด้านพลังงาน อย่างที่มีการจัดทำข้อมูลจราจร ใน web ของต่างประเทศอย่าง http://www.google.com/apis/maps/documentation/examples/trafficOverlay.html แทนที่จะต้องมาฟัง จส.100 ซึ่งรายงานอย่างไร ก็ไม่ทั่วถึง

หรืออีกด้านหนึ่งคือระบบเตือนภัย แผ่นดินไหว น้ำท่วม ดินถล่ม น่าจะมีการแสดงออกทางแผนที่บน web และเป็นด้วยความรวดเร็ว อย่างที่มีการจัดทำข้อมูลแผ่นดินไหว ในโลกใน web ของต่างประเทศอย่าง http://earthquake.googlemashups.com

การนำข้อมูล GIS มาทำเป็นภาพสามมิติ

ทุกวันนี้การแสดงภาพสามมิติที่จำลองภูมิประเทศเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอที่น่าตื่นเต้นขึ้น หรือทำให้การแสดงผลในงาน GIS มีความสมจริงมากยิ่งขึ้น หลายๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ GIS เริ่มที่จะพัฒนาที่จะนำ GIS เข้าไปสู่ระบบสามมิติกันมากขึ้น จนกลายเป็น 3DGIS

ผมเคยพัฒนา ระบบ สามมิติในลักษณะ Virtual GIS ในขณะนั้นผมนำข้อมูล GIS ที่เป็นจุด มาแสดงผลบนข้อมูล DEM ที่ทาบด้วยภาพถ่ายดาวเทียม โดยข้อมูลที่เป็นจุดต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะอาคาร ขนาด ฯลฯ การพัฒนาเริ่มจากการไม่รู้อะไร เขียนเพิ่มเติมไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเมื่อ Google Earth ได้คลอดมา ผมก็หยุดการพัฒนา เพราะรู้สึกว่า คงจะสู้เขาไม่ได้แน่นอน

แต่เมื่อไม่นานมานี้ มีคนให้ผมทำภาพจำลองภูมิประเทศ ผมใช้เวลาในการทดลองทำประมาณ หกชั่วโมง ผลลัพธ์ที่ออกมา ก็ดูดี พอสมควร เมื่อทำเสร็จทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับ ข้อมูล การสร้างอาคาร ซึ่งถ้าผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับ OpenGL ก็จะเข้าใจหลักการได้เป็นอย่างดี

ในการทำภาพจำลองสามมิติ ผมได้ใช้โปรแกรมที่เป็นระหัสเปิด คือ QGIS (http://www.qgis.org/ )ในการสร้างข้อมูล GIS ที่เป็นสองมิติ จากนั้นก็ใช้โปรแกรม VTP หรือ Virtual Terrain Project ( http://vterrain.org ) ในการแก้ไขข้อมูล GIS ที่เป็นสองมิติ เป็น 3D ทำให้ เกิด อาคารหรือบ้าน ถนน หรือต้นไม้ ตลอดจน สิ่งของ เช่น รั้ว เสาไฟฟ้า ที่เป็นสามมิติ

ตัวอย่าง ผลลัพธ์ที่ออกมา เป็นดังตัวอย่างภาพที่แสดง ออกมาครับ










ก็คงเป็นตัวอย่าง ในการรู้จัก การดัดแปลง สิ่งที่มีอยู่แล้ว มาให้ก่อเกิดประโยชน์ อาจจะอ้อมไป อ้อมมาไปบ้าง แต่ผลลัพธ์ ก็ออกมาก็ไม่ด้อยกว่า การใช้โปรแกรม ราคาแพง จัดทำเลยที่เดียว
ที่มา

พ.อ.ศุภฤกษ์ ชัยชนะ