28 พฤศจิกายน 2552

gis เพื่ออุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล

ระบบภูมิสารสนเทศเพื่ออุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล วัตถุประสงค์หลักของการประยุกต์ใช้ระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) ในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล อาจจำแนกออกได้เป็น 3 ส่วนหลัก อันได้แก่
1. เพื่อการวิเคราะห์เพิ่มผลผลิต (Increse Production)
2. ลดค่าใช้จ่ายของวัตถุดิบ (Reduce Input Cost)
3. การบริหารจัดการแปลง ไร่ ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น (Manage Farmland Efficiently)
ข้อมูลอันเกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมน้ำตาลที่อยู่อย่างกระจัดกระจาย ในหลากหลายรูปแบบสามารถนำมารวมในระบบเดียวได้

ข้อมูลดังกล่าวอันได้แก่

• • ข้อมูลแปลงไร่อ้อยของเกษตรกรแต่ละราย ที่ถูกจัดเก็บด้วย GPS
• • ข้อมูลจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
• • ข้อมูลสภาวะอากาศ
• • ข้อมูลคุณภาพดิน
• • ข้อมูลภูมิประเทศบริเวณเพาะปลูก
• • ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน
• • ข้อมูลจำนวนประชากร
• • ภาพถ่ายทางอากาศ
• • ภาพถ่ายจากดาวเทียม


เมื่อข้อมูลจากหลากหลายแหล่งที่ครั้งหนึ่งอยู่อย่างแยกกัน สามารถนำเข้ามารวมกันในระบบเดียวกันได้ จะทำให้วัตถุประสงค์ 3 ประการข้างต้นสามารถบรรลุผลได้ ข้อมูลจะถูกนำมาวิเคราะห์ด้วย Software และบุคลากร ทำให้เกิดคำตอบใหม่ๆ ช่วยแก้ ปัญหาอันเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลได้

การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม Data Collection in the Field

เกษตรกรผู้เพาะปลูก และเจ้าของโรงงานน้ำตาล จะเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดกับการผลิต, เพาะปลูกได้ดีที่สุด อย่างไรก็ตามการขาดข้อมูลเชิงพื้นที่ของบริเวณไร่ จะทำให้การตัดสินใจใดๆ ทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร การเก็บข้อมูลภาคสนามจึงมีความจำเป็น ข้อมูลดังกล่าวอันได้แก่

• • ขนาดของพื้นที่
• • เจ้าของที่และเกษตรกร
• • จำนวนสินเชื่อ
• • ข้อมูลคุณภาพดินภาคสนาม
• • จำนวนผลผลิตที่ได้
• • ประวัติโรคทางพืช

เมื่อข้อมูลเชิงพื้นที่ได้ถูกจัดเก็บรวบรวมอย่างเป็นระบบและทำอย่างต่อเนื่อง การตัดสินใจใดๆจะมีข้อมูลรองรับอย่างสมบูรณ์ครบถ้วน ทำให้ตัดสินใจไม่ผิดพลาด
การวิเคราะห์ข้อมูลและทำความเข้าใจผลของการวิเคราะห์ (Data Analysis and Interpretation Using GIS)
ข้อมูลภาคสนามและข้อมูลจัดหาจากแหล่งอื่นนำมาซ้อนทับ (Overlay) เพื่อสร้างแผนที่ใหม่ที่บอกข่าวสารใหม่ให้แก่เราได้

• ตำแหน่งการเพาะปลูกของเกษตรกรและผลผลิตต่อไร่
• การให้สินเชื่อแก่เกษตรกร และการติดตามผลผลิต
• การวิเคราะห์ผลผลิตโดยใช้หลักทางสถิติ
• การวางแผนการขนส่งสินค้าเกษตร
• การวางแผนป้องกันวัชพืชและโรคพืช
• การวางแผนการผลิตและกำลังการผลิตของโรงงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น