23 มกราคม 2553

ฮิสโตแกรม (Histogram)

ฮิสโตแกรม (Histogram)
คือ กราฟแท่งแบบเฉพาะ โดยแกนตั้งจะเป็นตัวเลขแสดง “ ความถี่ ” และมีแกนนอนเป็นข้อมูลของคุณสมบัติของสิ่งที่เราสนใจ โดยเรียงลำดับจากน้อย ที่ใช้ดูความแปรปรวนของกระบวนการ โดยการสังเกตรูปร่างของฮิสโตแกรมที่สร้างขึ้นจากข้อมูลที่ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่าง
เมื่อไรจึงจะใช้แผนภาพฮิสโตแกรม
• เมื่อต้องการตรวจสอบความผิดปกติ โดยดูการกระจายของกระบวนการทำงาน
• เมื่อต้องการเปรียบเทียบข้อมูลกับเกณฑ์ที่กำหนด หรือค่าสูงสุด-ต่ำสุด
• เมื่อต้องการตรวจสอบสมรรถนะของกระบวนการทำงาน (Process Capability)
• เมื่อต้องการวิเคราะห์หาสาเหตุรากเหง้าของปัญหา (Root Cause)
• เมื่อต้องการติดตามการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการในระยะยาว
• เมื่อข้อมูลมีจำนวนมากๆ
วิธีการเขียนฮิสโตแกรม (Histogram)
• เก็บรวบรวมข้อมูล (ควรรวบรวมประมาณ 100 ข้อมูล)
• หาค่าสูงสุด (L) และค่าต่ำสุด (S) ของข้อมูลทั้งหมด
• หาค่าพิสัยของข้อมูล (R-Range)
สูตร R = L - S
• หาค่าจำนวนชั้น (K)
สูตร K = Square root of (n) โดย n คือ จำนวนข้อมูลทั้งหมด
• หาค่าความกว้างช่วงชั้น (H-Class interval)
สูตร H = R/K หรือ พิสัย / จำนวนชั้น
• หาขอบเขตของชั้น (Boundary Value)
ขีดจำกัดล่างของชั้นแรก = S – หน่วยของการวัด / 2
ขีดจำกัดบนของชั้นแรก = ขีดจำกัดล่างชั้นแรก + H
• หาขีดจำกัดล่างและขีดจำกัดบนของชั้นถัดไป
• หาค่ากึ่งกลางของแต่ละชั้น (Median of class interval)
ค่ากึ่งกลางชั้นแรก = ผลรวมค่าขีดจำกัดชั้นแรก / 2
ค่ากึ่งกลางชั้นสอง = ผลรวมค่าขีดจำกัดชั้นสอง / 2
• บันทึกข้อมูลในรูปตารางแสดงความถี่
• สร้างกราฟฮิสโตแกรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น