10 มีนาคม 2553

ทบทวนเทคนิคการปรับแก้ข้อมูลภาพถ่ายเชิงเลขเพื่อให้เป็นแผนที่

ปัจจุบันข้อมูลภาพถ่ายเชิงเลขไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายทางอากาศหรือภาพถ่ายดาวเทียม ในความที่เป็นตัวเลขทำให้ง่ายต่อการดัดแก้เพื่อแก้ไขข้อมูลเชิงภาพให้มีความถูกต้องเหมือนแผนที่ กล่าวกันว่าความผิดภาพของภาพถ่ายเชิงเลขอยู่ที่การแปลงข้อมูลให้มีการกำเนิดภาพแบบ orthoprojection การดัดแก้ดังกล่าวจะมีความสะดวกหลายประการเมื่อกระทำผ่านโปรแกรมที่ต้องการข้อมูลเป็นลักษณะเชิงเลข

การปรับแก้ข้อมูลภาพถ่ายเชิงเลขแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่คือ การดัดแก้แบบมีไม่มีระบบ และการดัดแก้แบบมีระบบ การดัดแก้แบบไม่มีระบบ เราไม่ต้องการข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับตัว sensor ในการรับภาพ แต่การดัดแก้แบบมีระบบเราต้องการข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับตัว sensor ในการรับภาพ

เทคนิคการดัดแก้แบบไม่มีระบบ ที่ใช้เป็นส่วนใหญ่จะเป็นการสมการ polynomial เป็นหลัก ส่วนปรับแก้แบบมีระบบต้องทราบคุณลักษณะของตัว sensor ว่าเป็นภาพดาวเทียมหรือภาพถ่ายทางอากาศ ซึ่งการกำเนิดภาพก็ไม่เหมือนกัน ภาพถ่ายทางอากาศมีการกำเนิดภาพแบบ central projection ขณะที่ภาพถ่ายดาวเทียมมีการกำเนิดภาพแบบ scanline หรือ multi central projection เหล่านี้ล้วนทำให้การดัดแก้ภาพมีความซับซ้อนและยุ่งยากมากในทางทฤษฏี

มีการเสนองานวิจัยเทคนิคที่นำไปสู่การปรับแก้แบบมีระบบและสามารถใช้ได้กับ sensor ข้อมูลภาพถ่ายเชิงเลขจากดาวเทียมนี้เรียกว่า RMF หรือ the Rational Function sensor Model และการนำข้อมูล DEM เข้าร่วมการดัดแก้ก็ทำให้ข้อมูลภาพถ่ายเชิงเลข ก้าวไปสู่การดัดแก้ที่สมบูรณ์

เหล่านี้ล้วนจะทำให้ข้อมูลภาพถ่ายเชิงเลข ดัดแก้ได้อย่างสมบูรณ์และมีความรวดเร็ว ส่งผลต่อข้อมูลความเป็นไปบนโลกได้รับการปรับแก้ด้วยความรวดเร็ว

หาอ่านเทคนิดการปรับแก้ข้อมูลภาพถ่ายเชิงเลข ได้จาก


http://www.gisdevelopment.net/magazine/years/2006/july/36_1.htm


พ.อ.ศุภฤกษ์ ชัยชนะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น