06 มีนาคม 2553

การสำรวจทาง GEODETIC

การสำรวจต่างๆที่กระทำบนพื้นโลกในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานแผนที่ จะต้องมีการทอนค่าที่รังวัดลงพื้นหลักฐานที่สามารถนำไปคำนวณได้เนื่องจาก พื้นผิวโลกของเรามีรูปทรงที่ไม่แน่นอนและมิใช่รูปทรงทางเรขาคณิต ที่มีสูตรและการคำนวณที่แน่นอน การสำรวจที่มีการทอนลงพื้นผิวหลักฐานที่แน่นอนเช่น รูปทรงรี WGS84 เราเรียกว่า การสำรวจทาง GEODETIC

การสำรวจทาง GEODETIC ก็คือ การสำรวจ หมุดหลักฐานทางราบ การสำรวจทางดิ่ง และการสำรวจค่า แรงโน้มถ่วงของโลกหรือ Gravity

การสำรวจหมุดหลักฐานทางราบ ปัจจุบัน จะเป็นการสำรวจด้วย เครื่องรังวัดด้วยดาวเทียม GPS การสำรวจทางดิ่ง ก็เป็นการสำรวจโยงยึดจากจุดน้ำทะเลปานกลาง การสำรวจที่กล่าวมานี้ เป็นการสำรวจที่ต้องสำรวจอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากพื้นผิวโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

เหล่านี้ ทำให้เกิดข้อสงสัยหลายประการเนื่องจาก ผิวโลกมีการเปลี่ยนแปลง ค่าน้ำทะเลปานกลางบริเวณเกาะหลัก ก็อาจจะไม่ใช่น้ำทะเลปานกลาง เมื่อ ห้าสิบปีที่แล้ว หมุดหลักฐานทางราบ ที่เขาสะแกกรัง ก็มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีการเลื่อนตัว ของเปลือกโลก

ทั้งหมดนี้ ทำให้การสำรวจค่าแรงโน้มถ่วงของโลกหรือ Gravity มีความสำคัญขึ้นมา เนื่องจาก ค่าแรงโน้มถ่วงของโลก มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ถึงจะมีการเปลี่ยนแปลงบนผิวโลกมากมาย เพราะมวลสารที่อยู่ใต้ผิวโลก ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

ถ้ามีการสำรวจค่าแรงโน้มถ่วงของโลกมากขึ้นในประเทศไทย ค่าเหล่านี้ จะเป็นหลักสำคัญในการหาค่า ความต่างระหว่าง ผิว ellipsoid และผิว Geoid นำไปสู่การสำรวจทางดิ่ง จากค่าที่ได้จากการรังวัดด้วยดาวเทียม GPS และลดการสำรวจทางดิ่ง ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วกว่าค่าแรงโน้มถ่วง อ่านเรื่อง แนวทางการหาความสูงยีออยจากการรังวัดด้วยเครื่องมือ GPS แบบรังวัดจาก http://www.resgat.net/modules.php?name=News&file=article&sid=131

ปัจจุบันเครื่องมือการรังวัด แรงโน้มถ่วง เป็นการรังวัดแบบสัมพันธเป็นส่วนมาก ซึ่งเป็นการรังวัดจุดอื่นแล้วต้องมาบรรจบที่จุดแรกออก ภายในระยะเวลาอันจำกัด อ่านการรังวัด Gravity ที่ http://www.rtsd.mi.th/Geodesy/pdf/4.pdf ทำให้การสำรวจค่าแรงโน้มถ่วงในเมืองไทย ไม่ค่อยมีค่าสำรวจบริเวณป่า ภูเขา ซึ่งถ้ามีการเพิ่มการรังวัดบริเวณป่าภูเขา ในประเทศไทย ย่อมนำไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางแน่นอน


พ.อ.ศุภฤกษ์ ชัยชนะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น