20 กุมภาพันธ์ 2553

รวมปัญหาด้านแผนที่

1. ความผิดพลาดของแผนที่ตัวเลขมีมาตรฐานอย่างไร

level 0 มาตราส่วน 1: 1 000 000 ความผิดพลาดทางราบ +/- 500 เมตร ทางดิ่ง +/- 30 เมตร

level 1 มาตราส่วน 1: 250 000 ความผิดพลาดทางราบ +/- 50 เมตร ทางดิ่ง +/- 30 เมตร

level 2 มาตราส่วน 1: 50 000 ความผิดพลาดทางราบ +/- 15เมตร ทางดิ่ง +/- 10 เมตร

2. พิกัดภูมิศาสตร์และพิกัด UTM ต่างกันอย่างไร

พิกัดภูมิศาสตร์คือพิกัดที่สำหรับอ้างอิงตำแหน่งที่กว้างไกล แต่พิกัด UTM ใช้สำหรับอ้างอิงตำแหน่งที่ไม่กว้างไกลนัก เพราะพิกัด UTM เป็นพิกัดบนพื้นราบ ถ้าพื้นที่กว้างมากจะเกิดข้อผิดพลาดทางตำแหน่ง จึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยน ZONE ฉะนั้นในกองทัพอากาศและกองทัพเรือจึงใช้ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ เพราะพื้นที่ปฎิบัติการกว้างและไกลมาก ขณะที่กองทัพบกใช้ระบบ UTM เพราะพื้นที่ปฎิบัติการไม่กว้างไกลมากนัก

3. จะหาแผนที่ของต่างประเทศได้จากไหน

www.omnimap.com

4.จะหาซื้อแผนที่ของประเทศไทยได้ที่ไหน

แผนกบริการแผนที่ กรมแผนที่ทหาร ถนนกัลยาณไมตรี จะดีที่สุด และราคาถูกที่สุด โทร. 2228844

5.GPS มีค่าความถูกต้องทางราบเท่าไร

นับจากมีการยกเลิกสัญญาน SA ความถูกต้องในการรังวัดแบบ absolute เท่าที่มีการรายงานเป็นรายลักษณ์อักษรคือ ต่ำกว่า 10 เมตร และจากรายงานต่างประเทศคือประมาณ +/- 2-4 เมตรขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องมือ ส่วนแบบ DGPS มีความถูกต้องต่ำกว่า +/- 1 เมตร

6.เมื่อมีการยกเลิกสัญญาน SA


จะมีผลต่อเครื่อง GPS เดิมก่อนมีการยกเลิกสัญญาน SA ใหม

ตามข้อกำหนดเครื่อง GPS เดิมจะสามารถใช้งานได้ตามปกติ โดยไม่ต้องมีการ upgrade เครื่องมือ

7.จะหารายละเอียดทั้งข้อมูล โปรแกรม และความรู้ทางด้าน GIS ภาคภาษาไทยได้ที่ไหน

www.gistda.or.th

8.ขอทราบการใช้คำสั่ง GPS

โดยปกติ เราจะใช้คำสั่ง GPS ได้ เครื่อง GPS ต้องมีตัวเชื่อมต่อกับ RS232 (Interface) คำสั่งหรือข้อมูลที่ผ่านทาง RS232 จะอยู่ภายใต้มาตรฐานของ NMEA ซึ่งปัจจุบันมาตรฐานของเครื่อง GPS จะอยู่ในรูปแบบ NMEA 0183 เป็นลักษณะข้อความภาษา Ascii ทำให้เราสามารถรู้ข้อความหรือคำสั่งได้โดยง่าย ฉะนั้นการเขียนโปรแกรมให้รับ NMEA 0183 จึงง่าย ทำให้ปัจจุบัน มีโปรแกรมประเภท นำทาง โดยมี GPS ติดกับรถยนต์และมีคอมพิวเตอร์ตัวเล็กๆ แสดงผลบนแผนที่ตัวเลขทำให้เราไม่หลงทาง
ตัวอย่างคำสั่ง NMEA 0183

GLL,2028.1678,N,09918.2884,E,120000,A

คือ GLL = geographic location
2028.1678 = latitude ที่ 20 องศา 28.1678 ฟิลิบดา
N = เหนือ
09918.2884 = longtitude ที่ 99 องศา 18.2884 ฟิลิปดา
E = ตะวันออก
120000 = เวลาที่รับสัญญาน
A = checksum

ยังมีคำสั่งอีกมาก ของ NMEA 0183 เช่น RMC หารายละเอียดได้จาก www.kh-gps.de/nmea-faq.htm

9. มีเทคโนโลยี่ ใหม่อะไรบ้างที่นอกจาก ดาวเทียม

เรดาห์ ซึ่งมีตัวส่งคลื่นในระบบ ทำให้ไม่ต้องพึ่งพลังงานจากดวงอาทิตย์ ทำให้สามารถบินสำรวจได้ในเวลากลางคืนและไม่จำเป็นต้องถ่ายในลักษณะเครื่องบินอยู่แบบดิ่งจริง
นอกจากจะผลิตภาพถ่ายได้แล้วยังสามารถคำนวณหาระดับสูงของพื้นดินเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง แต่ปัจจุบันคุณภาพภาพถ่ายยังสู้ภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายดาวเทียมไม่ได้

Hypersprectrum ภาพภ่ายแบบมากช่วงคลื่นที่จะทำให้ภาพในช่วงคลื่นต่างที่ถี่ย่อยมาก ทำให้สามารถตีความหรือแปลความได้ดีขึ้น

ทั้งสองระบบเริ่มมีการนำมาใช้ด้านพาณิชย์มากขึ้น แต่ควรฟังหูไว้หู เพราะยังเป็นเทคโนโลยี่ ที่ยังต้องผ่านการพิสูจน์อีกยาวนาน

10ความละเอียดของดาวเทียมมีความหมายว่าอย่างไร

ความละเอียดของดาวเทียมหมายถึงใน 1 จุดภาพหรือ 1 pixel สามารถแทนรายละเอียดของพื้นโลกในขนาดเท่าใด เช่นดาวเทียม spot มีความละเอียด 10 เมตร หมายถึงจุดภาพ 1 จุดภาพแทนรายละเอียดผิวโลกขนาด 10 x 10 เมตร ฉะนั้นถ้าวัตถุใดบนผิวโลกที่มีขนาดน้อยกว่า 10 เมตร จะถูกแทนที่ด้วยวัตถุที่มีขนาดใหญ่สุดบนบริเวณนั้น หรือในความหมายง่ายๆ คือ วัตถุที่มีขนาดน้อยกว่า 10 เมตรจะไม่สามารถมองเห็นได้ ยกเว้นจะมีขนาดใหญ่สุดในบริเวณ 10 x 10 เมตรนั้น

11.ภาพถ่ายทางอากาศมีความคลาดเคลื่อนอะไรบ้าง ซึ่งเมื่อขจัดแล้วจะเป็นแผนที่ภาพถ่ายได้เลย

มีความคลาดเคลื่อน 2 อย่างคือ
1.ความคลาดเคลื่อนของการเอียงของกล้องขณะบินถ่าย ภาพถ่ายที่ขจัดความคลาดเคลื่อนนี้เรียกว่า ภาพ rectify ใช้แทนแผนที่ได้ถ้าบริเวณนั้นเป็นพื้นราบ
2.ความคลาดเคลื่อนเนื่องจากความสูงหรือ relief displacement ความคลาดเคลื่อนนี้จะเกิดขึ้นบริเวณภูเขาสูง และจะมีค่าน้อยมากบริเวณกลางภาพถ่ายทางอากาศ และสามารถลดค่าได้เมื่อถ่ายภาพบริเวณที่มีความสูงบินมากๆ
ภาพถ่ายที่ขจัดความคลาดเคลื่อนทั้งสองอย่างเรียกว่า ภาพ orthophoto

12.จะหาโปรแกรมด้าน GIS ที่เป็น freeware ได้ที่ไหน

freegis.org

13.ช่วยแนะนำโปรแกรมGIS ที่น่าสนใจ

GRASS เป็น freeware ที่วิ่งบน ระบบปฎิบัติการ LINUX และกำลังจะพัฒนาลง Windows ในเร็วๆนี้ ถูกพัฒนาโดยทุนวิจัยของทางกองทัพสหรัฐอเมริกา เป็นopen system ที่ทำให้พวกมีความรู้พัฒนาเพิ่มเติมความสามารถขึ้นมาเรื่อยๆ ภายใต้ GNU ซึ่งผู้พัฒนาพัฒนาแล้วต้องเผยแพร่และไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ เป็นระบบ raster GIS แต่สามารถแสดงผล vector แต่เวลานำมาวิเคราะห์ต้องแปลงเป็น raster ก่อน

14.สถานะของหมุดหลักฐาน GPS ในประเทศไทย

กรมแผนที่ทหารได้เริ่มสำรวจและวางหมุดหลักฐานโดยวิธีการ GPS ตั้งแต่ปี 2534 ปัจจุบัน ได้วางหมุดหลักฐานGPS ในลักษณะเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ ไปเป็นจำนวน600 กว่าหมุด และได้จัดเก็บข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับหมุดหลักฐานในลักษณะ CD-ROM ในลักษณะข้อมูลสาระสนเทศทางภูมิศาสตร์(GIS) ให้บริการแก่หน่วยราชการ

15.หมุดหลักฐานคืออะไร

หมุดหลักฐานในประเทศไทยที่สำคัญ มีอยู่ 2 ประเภท คือหมุดหลักฐานทางดิ่ง และหมุดหลักฐานทางราบ หมุดหลักฐานทางดิ่ง คือหมุดหลักฐานที่ให้ค่าความสูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลางที่เกาะหลัก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่วนหมุดหลักฐานทางราบคือหมุดหลักฐานที่ให้ค่าพิกัดทางราบ (latitude ,longtitude) ก่อนนี้การหาค่าของหมุดหลักฐานทางราบใช้การสำรวจโดยวิธีการ งานสามเหลี่ยม และวงรอบ ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาใช้วิธีการทาง GPS โดยวิธีการ รังวัดแบบสัมพันธ์(relative)

16.หมุดหลักฐานมีความสำคัญอย่างไร

เป็นสิ่งที่ประกันความถูกต้องของแผนที่ และงานทางด้านวิศวกรรม เพราะ งานเหล่านี้ต้องนำค่าจากหมุดหลักฐานเพื่อออกงาน ฉะนั้นถ้าค่าที่ได้จากหมุดหลักฐานมีความถูกต้องไม่เพียงพอ งานเหล่านั้นก็จะได้รับความเสียหายตามไปด้วย ปัจจุบัน ผู้คนมักไม่ค่อยเห็นความสำคัญของหมุดหลักฐาน มักมีการทำลาย ทำให้ กรมแผนที่ทหารต้องเสียทั้งเงินและเวลาในการซ่อมแซมหมุดหลักฐานเหล่านั้น

17. DATUM คืออะไร


18.WGS84 คืออะไร

เนื่องจาก แต่ละประเทศหรือแต่ละภูมิภาศภายในโลกเรานี้ ใช้ ลูกโลกสมมุติ(ellipsoid)แทนลูกโลกจริงไม่เหมือนกัน ทำให้เกิดปัญหาเวลานำแผนที่มาต่อกัน สหรัฐอเมริกาเลยเป็นผู้นำให้ทั่วโลกใช้ลูกโลกสมมุติตัวดียวกันคือลูกโลกสมมุติที่ชื่อว่า WGS84 คือลูกโลกสมมุติที่ได้มาจากการสำรวจด้วยดาวเทียมฉะนั้น แผนที่ของโลกเราก็ใช้ระบบเดียวกัน ไม่มีปัญหาเรื่องการเชื่อมต่อกัน และค่าพิกัดที่ได้จากการสำรวจด้วย GPS ก็ใช้ WGS84

19. แหล่งความรู้ด้าน GPS ตลอดจนการวิจัยการใช้ประโยชน์จาก GPS ที่เป็นภาษาไทยหาได้จากที่ไหน

เชิญท่าน ผู้รู้ อื่นๆ ช่วยให้คำแนะนำด้วยครับ และถ้าต้องการเผยแพร่ attach file มาให้ผมด้วยผม จะนำเผยแพร่ให้ครับ แต่ถ้าเป็นภาษาอังกฤษหาอ่านได้ครับจาก www.gpsworld.com

20. การแสดงลักษณะภูมิประเทศในลักษณะตัวเลขสามารถแสดงหรือจัดเก็บในรูปลักษณะใด

สามารถแสดงหรือจัดเก็บได้ 3 ลักษณะคือ
1.ในลักษณะเส้น contour
2.ในลักษณะช่องตารางรูป matrix หรือ regular square การจัดเก็บแบบนี้ค่าจุดความสูงจัดถูกจัดเก็บในระยะห่างเท่ากันทั้ง การเก็บลักษณะนี้อาจเรียกอีกแบบว่า DTM (Digital Terrain Model) หรือ DEM(Digital Elevation Model)
3.ในลักษณะของรูปสามเหลี่ยมที่มีรูปไม่คงที่(Iregular) การจัดเก็บจะเป็นการเชื่อมโยงเส้นให้อยู่ในลักษณะสามเหลี่ยมการเก็บลักษณะนี้อาจเรียกว่า TIN(Triangulation Iregular Network)

21.ปัจจุบันนิยมจัดเก็บและเผยแพร่ข้อมูลภูมิประเทศตัวเลขอยู่ในลักษณะใด

ในลักษณะช่องตารางรูป matrix หรือ DTM เช่นในสหรัฐอเมริกา ถ้าเป็นหน่วยพลเรือน หน่วยงานที่จัดทำและเผยแพร่คือ USGS ข้อมูลจะมีชื่อเป็นทางการคือ DEM ถ้าเป็นทางทหาร หน่วยงานที่จัดทำเผยแพร่คือ NIMA ข้อมูลจะมีชื่อเป็นทางการว่า DTED

22. มาตรฐานของข้อมูลความสูงภูมิประเทศตัวเลข(DTM)มีอย่างไร

Level 0 มาตรส่วน 1: 1 000 000 ระยะห่างระหว่างจุดความสูงประมาณ 1 กม.(.0083 องศา) ความถูกต้องทางดิ่ง +/- 30 เมตร
Level 1 มาตรส่วน 1: 250 000 ระยะห่างระหว่างจุดความสูงประมาณ 90 เมตร(.00083 องศา) ความถูกต้องทางดิ่ง +/- 30 เมตร
Level 2 มาตรส่วน 1: 50 000 ระยะห่างระหว่างจุดความสูงประมาณ 30 ม.(1 ฟิลิบดา) ความถูกต้องทางดิ่ง +/- 10 เมตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น