12 กุมภาพันธ์ 2553

ชื่อภูมิศาสตร์(Geographic name)

ชื่อภูมิศาสตร์ ( Geographical Names ) เป็นตัวอักษรกำกับรายละเอียดต่าง ๆ ที่แสดงไว้ภายในขอบระวางแผนทีเพื่อบอกให้ทราบว่าสถานที่นั้นหรือสิ่งนั้นมีชื่อเรียกอะไร กล่าวง่ายๆก็คือ ชื่อภูมิศาสตร์หรือ geographic name คือ ชื่อสถานที่ ที่เป็นทั้งที่เกิดตามธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้น ที่ปรากฏบนโลกของเราหรืออีกนัยหนึ่งบนแผนที่

การรวบรวมชื่อภูมิศาสตร์ ได้มีความพยายามกันมาค่อนช้างนานโข ที่เห็นเด่นชัดก็คือ web ของ NGA หรือ กรมแผนที่ของสหรัฐอเมริกา มี website เพื่อค้นหาชื่อภูมิศาสตร์ทั่วโลกที่ http://geonames.nga.mil/ggmaviewer/MainFrameSet.asp มีข้อมูลชื่อภูมิศาสตร์จัดเก็บในลักษณะของฐานข้อมูลทั่วโลก ซึ่งนอกจากจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ยังมีค่าพิกัดให้อีกด้วย แต่เป็นภาษาอังกฤษสะกดตาม romanize นะครับ

ประเทศไทยเองก็มีคณะกรรมการรวบรวมชื่อภูมิศาสตร์ในประเทศไทย รายละเอียดหาดูได้จาก http://www.rtsd.mi.th/new2009/04-52/index_trans.html และราชบัณฑิตยสถาน ได้มีการรวบรวมข้อมูลชื่อภูมิศาสตร์ที่ปรากฏบนแผนที่ และสามารถสืบค้นทาง website ได้ที่ http://rirs3.royin.go.th/akara/index.html ในรูปแบบภาษไทย เหล่านี้คงจะทำให้ชื่อภูมิศาสตร์ มีความเป็นมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับครับ

สุดท้ายนี้มีเกร็ดภูมิศาสตร์จากหนังสือพิมพ์บ้านเมืองมาฝากดังนี้ครับ

ชื่อยาวที่สุดในโลก
หมู่บ้าน เล็กๆ ที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก คงไม่มีที่ไหน ทำลายสถิติ LLAN FAIRWLLGWNYNGYLLGOGERYCH WYRNDROBWLLLLANTYSILIOGOGOGOCH ของ เวลส์ ไปได้ หมู่บ้านแห่งนี้ ขึ้นชื่อในเรื่องของตั๋วรถไฟ ซึ่งมีขนาดยาวเฟื้อย สมกับชื่อหมู่บ้านที่มีตัวอักษรถึง 58 ตัว ความหมายของชื่อแปลได้ว่า “โบสถ์เซนต์แมรี่ " ในโพรงของต้นเฮเซลสีขาวใกล้กับแอ่งน้ำวนอันเชี่ยวกรากของโบสถ์เซนต์ไทซิโอ ข้างๆ ถ้ำสีแดง”

แต่ถ้าเป็นชื่อของ เมืองหลวง แล้วละก้อ กรุงเทพมหานคร ของเราจัดเป็นเมืองหลวง และเมืองใหญ่ที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก เพราะชื่อเต็มๆ คือ “กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยามหาดิลก ภพนพรัตน์ราชธานี อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์” เมื่อเขียนเป็นภาษาอังกฤษจะมีตัวอักษรรวมกันถึง 167 ตัว

ชื่อสั้นที่สุดในโลก
เมืองที่มีชื่อสั้นที่สุดในโลก มีอยู่ 5 เมืองด้วยกัน คือ เมือง U อยู่ที่เกาะแคโรไลน์ กลางมหาสมุทรแปซิฟิก


เมือง Y เป็นเมืองเล็กๆ ในฝรั่งเศส ในขณะที่ นอร์เวย์ สวีเดน และ เดนมาร์ก ต่างก็มีเมืองชื่อ เมือง A เหมือนกันทั้ง 3 ประเทศ

ภูเขาชื่อย้าว ยาว
เนินเขา เตี้ยๆ ใน นิวซีแลนด์ ลูกนี้แทบจะไม่มีอะไรน่าสนใจเลย ทว่า ความที่มีชื่อย้าว ยาว ในภาษาเมารี ทำให้มันกลายเป็นภูเขาที่มีชื่อติดอันดับโลกกับเขาด้วย ในฐานะ ภูเขาที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก


ชื่อเต็มๆ ของมันคือ “TAUMATAWHAKA TANGIHANGA KOAUAUOTAMATEATURIPUKAKA PIKIMAUNGAHORONUKU POKAIWHENUAKITANATAHU” รวมตัวอักษรทั้งสิ้น 85 ตัว แปลได้ความว่า “สถานที่ซึ่งทามาเทอา ชายผู้มีเข่ามหึมา ผู้ซึ่งปีนป่ายและกลืนภูเขา รู้จักกันในชื่อของผู้กลืนแผ่นดิน ได้เคยมาเป่าขลุ่ยให้คนที่เขารักฟัง”

เหนือสุด และใต้สุด
แผ่นดินที่อยู่ เหนือสุด ของโลก คือ “OODAAQ Q” ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ ของ กรีนแลนด์ เกาะนี้มีความกว้างเพียง 100 ฟุต อยู่ห่างจากขั้วโลกเหนือเพียง 438.9 ไมล์เท่านั้น


ส่วนจุดที่อยู่ ใต้สุด ของโลกนั้น ไม่ใช่เกาะ เพราะขั้วโลกใต้มีสภาพทางภูมิศาสตร์เป็นแผ่นน้ำแข็งขนาดมหึมา ไม่ใช่ทะเลน้ำแข็งเหมือนขั้วโลกเหนือ ดังนั้น จุดที่อยู่ใต้สุดของโลก จึงเป็น สถานีตรวจอากาศอะมันด์เซน-สก็อตต์ ซึ่งสร้างบนความสูง 9,370 ฟุต สถานีตรวจอากาศแห่งนี้จะเคลื่อนที่ไปตามการเคลื่อนตัวของแผ่นน้ำแข็ง ซึ่งมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก โดยขยับจากจุดเดิมประมาณ 27-30 ฟุตต่อปี


ทั้งเกาะเหนือสุด และสถานีตรวจอากาศใต้สุดของโลก ล้วนมีแต่น้ำแข็งขาวโพลนทุกหนแห่ง ถ้าจะไปเที่ยว ต้องขนเสื้อหนาวไปเพียบ

หินงอก...หินย้อย
หินงอก สูงที่สุดในโลก อยู่ในถ้ำ กราสโนฮอร์สกา ของ สาธารณรัฐเช็ก ความสูงที่วัดได้ อยู่ที่ 105 ฟุต หรือ 31.5 เมตร ซึ่งเป็นความสูงเฉียดๆ ตึก 10 ชั้น ใกล้เคียงกับความสูงของหินงอกในถ้ำที่ เมืองโลแซร์ ประเทศฝรั่งเศส


หินย้อย ที่ยาวที่สุดในโลก วัดความยาวจากเพดานถึงพื้นได้ถึง 195 ฟุต อยู่ที่ถ้ำคูเอวา เด เนอร์ฮา ใน สเปน แต่ถ้าเอาเฉพาะหินย้อยที่ลอยเหนือพื้น สถิติโลกจะเป็นของหินย้อยในถ้ำพอล แอน ไอโอเนียน ใน ไอร์แลนด์ วัดความยาวได้ 21 ฟุต 6 นิ้ว

ลมฟ้าอากาศ
จุดที่ ลมแรง ที่สุดในโลก อยู่ที่ อ่าวคอมมอนเวลธ์ ใน แอนตาร์กติกา เพราะมีลมพัดผ่านด้วยความเร็ว 56-72 กม./ชม. ตลอดเวลา แต่ถ้าเป็นกระแสลมที่พัดเร็วที่สุดในโลกเพียงวูบเดียว สถิติจะเป็นของกระแสลมที่พัด ผ่านภูเขาวอชิงตัน ในนิวแฮมป์เชียร์ เมื่อปี 1934 ซึ่งพัดเร็วถึง 372 กม./ชม.


ฝนตกหนักที่สุด ได้แก่ เมือง เชราปุนจิ ในอินเดีย ปริมาณฝนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 498 นิ้ว แต่ถ้าเป็นบริเวณที่มี ฝนตกบ่อย ที่สุด สถิติจะเป็นของ ภูเขาไวอาเลอาเล ใน ฮาวาย ซึ่งมีฝนตกถึงปีละ 350 วัน


ร้อนที่สุด ได้แก่เมือง ดาลลอล ใน เอธิโอเปีย อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 34.6 องศาเซลเซียส ส่วน หนาวที่สุด ได้แก่ สถานีตรวจอวกาศพลาโตใน ทวีปแอนตาร์กติกา อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ -56.7 องศาเซลเซียส


พายุฟ้าคะนอง ที่สุด ได้แก่เมือง โตโรโร ในยูกันดา สถิติในรอบ 10 ปี พบว่าเมืองนี้มีพายุฟ้าคะนองเกิดขึ้นเฉลี่ยปีละ 251 วัน


แห้งแล้งที่สุด ทะเลทรายอะตาคามา ในชิลี น่าจะเป็นสถานที่ที่แห้งแล้งที่สุดในโลก เพราะปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยของที่นี่มีค่าเท่ากับ 0

ทะเลสาบนานาสารพัน
ลึกที่สุด ได้แก่ ทะเลสาบไบคาล ของ รัสเซีย ความลึกที่วัดได้คือ 1,637 เมตร แต่ถ้าจะดำลงไปแตะก้นทะเลสาบจริงๆ ต้องดำน้ำลงไปอีกไมล์เศษๆ เพราะบริเวณก้นทะเลสาบยังมีร่องเล็กๆ ที่ลึกลงไปอีก


ใหญ่ที่สุด ได้แก่ ทะเลสาบแคสเปียน ของ รัสเซีย อีกเช่นกัน ด้วยสถิติพื้นที่รวม 371,000 ตารางกิโลเมตร

สูงที่สุด ได้แก่ ทะเลสาบติติกากา ในเปรู ซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 3,810 เมตร


ต่ำที่สุด ได้แก่ ทะเลสาบเดดซี ในอิสราเอล ซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลถึง 400 เมตร

เพื่อนบ้านของสหรัฐอเมริกา
ใครๆ ก็รู้ว่า เพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดติดแนวพรมแดนสหรัฐอเมริกามีอยู่ 2 ประเทศ คือ แคนาดา ทางเหนือ และ เม็กซิโก ทางใต้ แต่ถ้าหยิบแผนที่มากางดูจะเห็นว่ายังมีอีก 2 ประเทศ ที่มีถิ่นฐานที่ตั้งใกล้กับสหรัฐอเมริกาชนิดหายใจรดต้นคอได้เช่นกัน 2 ประเทศที่ว่านี้คือ คิวบา ซึ่งอยู่ใกล้กับปลายติ่งแหลมฟลอริดา ทางตะวันออกเฉียงใต้ และ รัสเซีย ซึ่งอยู่ใกล้กับรัฐอลาสกาทางตะวันตกเฉียงเหนือ


คิวบาดูเหมือนจะอยู่ใกล้กับสหรัฐมากกว่ารัสเซีย ถ้าดูตามแผนที่ แต่จริงๆ แล้วใน ช่องแคบแบริ่ง ซึ่งกั้นระหว่างรัสเซียกับสหรัฐ จะมีเกาะเล็กๆ อยู่ 2 เกาะ ซึ่งทั้ง 2 ประเทศต่างก็ยึดครองกันชาติละเกาะ ที่สำคัญก็คือ เกาะทั้ง 2 นี้ อยู่ห่างกันแค่ 2 ฝ ไมล์เท่านั้น ดังนั้น ชายแดนรัสเซียจึงอยู่ห่างจากสหรัฐแค่ 2 ฝ ไมล์ ในขณะที่ คิวบา อยู่ห่างออกไปถึง 90 ไมล์


ที่มา http://www.resgat.net/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น