14 กุมภาพันธ์ 2553

การพิจารณาภูมิประเทศจากเส้นชั้นความสูงบนแผนที่

ลักษณะเส้นชั้นความสูงแบ่งออกเป็นหลายลักษณะตามภูมิประเทศดังนี้


1. เส้นชั้นความสูงที่มีระยะห่างมาก ๆ และมีระยะห่าง เท่า ๆ กัน แสดงว่าเป็นพื้นที่พื้นลาดน้อย และสม่ำเสมอ ดังรูป





2 . เส้นชั้นความสูงที่มีระยะประชิด และระยะห่าง ๆ เท่า ๆ กัน แสดงว่า เป็นพื้นที่ชั้นและสม่ำเสมอ





3 . เส้นความสูงที่มีระยะชิดกันในตอบบนและห่าง กันมากขึ้นในตอนล่าง แสดงว่าพื้นที่บริเวณนั้นเป็นพื้นลาดเว้า





4 . เส้นชั้นความสูงที่มีระยะห่างในตอนบนและชิดกันมากขึ้นในตอนล่าง ๆ แสดงว่าบริเวณนั้นเป็นพื้นที่แบบลาดนูน





5 . เส้นชั้นความสูงที่มีวงเข้าบรรจบกัน แสดงว่าเป็นภูเขาเป็นลูกโดด หรือยอดเขา




6 . เส้นชั้นความสูงที่วงรอบ ยอดภูเขาแสดงให้เห็นเป็นตำแหน่งของยอดเขา หรือคอเขา คือส่วนที่ต่ำสุดระหว่างยอดเขาสองยอด





7 . เส้นชั้นความสูงที่เป็น รูปตัว U ซ้อนๆ กัน แสดงว่าบริเวณนั้นเป็นสันเขา หรือ เขาย่อย





8 . เส้นชั้นความสูงที่มีลักษณะ ซ่อนทับกัน แสดงว่าเป็นหน้าผาชัน





9 . เส้นชั้นที่ความสูงวงบรรจบกัน และมีท่อเส้นสั้นๆ ขีดไว้ในแนวตั้งฉาก แสดงว่าบริเวณนั้นยุบตัวลงปลายท่อนเส้นจะชี้ไปจุดที่ต่ำกว่า





10 . เส้นชั้นความสูงที่ลักษณะเป็นรูปตัว V แสดงว่าเป็นบริเวณทางน้ำไหล โดยปลายตัว V จะชี้ไปทางต้นน้ำ





ที่ผ่านมานั้นเป็นตัวอย่างของเส้นชั้นความสูงในลักษณะต่างที่จะได้พบบนแผนที่บ่อย ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น