14 กุมภาพันธ์ 2553

Softcopy Photogrammetry หรือ Digital Photogrammetry#1

Photogrammetry คือวิชาที่ว่าด้วยการรังวัดจากภาพถ่าย ซึ่งหมายความรวมไปถึงทั้งภาพถ่ายทางอากาศ หรือ ภาพถ่ายบนพื้นดิน สมัยก่อนการถ่ายภาพเป็นในระบบฟิลม์ และการถ่ายภาพเพื่อทำการรังวัดก็ต้องใช้กล้องถ่ายภาพชนิดพิเศษที่เรียกว่า Metric camera ที่จะทำให้แสงเดินทางเป็นเส้นตรง หรือ ในตัวเลนส์ต้องมีค่าดัดแก้ หรือค่า calibrate เพื่อที่จะทำให้การเกิดภาพอยู่ในลักษณะแสงเดินทางเป็นเส้นตรง แม้จะผ่านเลนส์ก็ตาม

เมื่อวิวัฒนาการข่าวสารข้อมูลก้าวเข้าสู่ระบบตัวเลข ประกอบกับมีเครื่องสมองกลหรือที่เรียกว่า computer ทำให้มีการแปรเปลี่ยนเครื่องมือรังวัดภาพถ่ายที่ต้องใช้เฟืองหรือกลไกหรือที่เรียกว่า analog plotter ไปสู่เครื่องมือรังวัดที่ในจอคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกว่า softcopy photogrammetry หรือ Digital Photogrammetry และตัวข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศเองเมื่อจะนำมาใช้กับ Digital Photogrammetry ก็ต้องถูกแปรให้อยู่ในรูปของตัวเลขหรือ digital โดยกรรมวิธี การกราดภาพ(scan) หรือ ถ่ายด้วยกล้องถ่ายภาพทางอากาศแบบ digital

มีคำถามต่อไปว่า เมื่อเรามีภาพถ่ายทางอากาศ มาตราส่วนเท่านี้ต้อง scan ด้วย ขนาดของจุดภาพจำนวนเท่าใดจึงจะพอ และ เครื่องกราดภาพชนิดใดถึงจะใช้สำหรับการ scan ภาพที่ให้คุณภาพเพียงพอกับการรังวัด

สำหรับคำถามข้อแรกที่ว่า ต้อง scan ด้วยขนาดจุดภาพเท่าไร ต้องตอบว่า เราต้องการความละเอียดของจุดควบคุม หรือ ground control เท่าใด เช่น ภาพถ่ายทางอากาศ มีขนาดมาตราส่วนเท่ากับ 1:20 000 ต้องการมีความละเอียดของจุดควบคุมเท่ากับ 2 เมตร ฉะนั้น ต้อง scan ด้วยขนาดจุดภาพ 2/20 000 เมตร หรือ 1/100 ซม. หรือ 1/10 ม.ม. หรือ 100 ไมครอน*1

คำถามข้อที่สอง เครื่องกราดภาพชนิดใดถึงจะใช้สำหรับการ scan ภาพที่ให้คุณภาพเพียงพอกับการรังวัด มีเครื่อง กราดภาพจำนวนมากในท้องตลาด แต่เครื่องกราดภาพเหล่านั้นมีความผิดพลาดทางเรขาคณิต ทำให้รูปร่างของวัตถุที่ปรากฏบนภาพผิดรูปทรงไป(อาจจะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า) และบางยี่ห้อแม้จะบอกว่า scan ด้วยความละเอียดสูงแต่แท้จริงแล้วคือการใช้เทคนิคที่เรียกว่า resampling ฉะนั้นเครื่องกราดภาพที่จะนำมากราดภาพถ่ายทางอากาศควรเป็นเครื่องกราดภาพสำหรับภาพถ่ายทางอากาศโดยเฉพาะ

ปัจจุบันมีการวิจัยที่จะนำ กล้องถ่ายภาพตัวเลขธรรมดา มาใช้ในงานรังวัด โดยอาศัยวิธีการปรับแก้ หรือ calibarte*2 ซึ่งเป็นที่น่าสนใจ และถ้ากระทำได้เราอาจจะไม่ต้องพึ่งพากล้อง metric camera หรือกล้องถ่ายภาพทางอากาศระบบตัวเลขที่ราคาแพงแสนแพงเลย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น