12 กุมภาพันธ์ 2553

Terrain Model

Terrain Model คือแบบจำลองภูมิประเทศแบบสามมิติ ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในวงการทหาร สมัยปี ค.ศ.ประมาณ 1500 ใน ประเทศยุโรป หลักฐานที่ปรากฏส่วนมากจะเป็นแบบจำลองภายในเมืองเป็นส่วนใหญ่ การทำแบบจำลองสมัยนั้นจะเป็นการทำจากความชำนาญของนักทำแบบจำลองลองมาดูตัวอย่างของแบบจำลองสมัยนั้นดูนะครับ





Model of Munich (Germany) 1:616, 186 x 200 cm, painted linden wood, Jakob Sandtner, 1572

ภาพจาก http://www.terrainmodels.com/history.html

ประโยชน์ของแบบจำลองสมัยยุคนั้น ได้ถูกนำมาใช้ในด้านการศึกษาเกี่ยวกับโบราณคดีในสมัยนั้น

การพัฒนาแบบจำลองภูมิประเทศคงมีการพัฒนากันมาอย่างกว้างขวาง เทคนิคอย่างหนึ่งก็คือการจำลองภูมิประเทศในแบบสามมิติ ที่เป็นภูมิประเทศที่เป็นภูเขาที่มีชื่อเสียงคือแบบจำลอง ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ดินแดนแห่งเทือกเขา ในปี ค.ศ. 1700-1800 ตัวอย่างของแบบจำลองภูเขาประเทศสวิสเซอร์แลนด์ มีดังนี้ครับ






Relief of the Aletschglacier and its surroundings 1:50,000, 61 x 70 cm, Eduard Beck (1820 - 1895)

ภาพจาก http://www.terrainmodels.com/swiss.html

การจัดทำสมัยนั้น ใช้ความชำนาญของนักจำลองเป็นส่วนใหญ่ โดยการใช้เทคนิคการปั้น แต่ง ต่อมามีการประดิษฐเครื่องมือที่เรียกว่า pantograph ขึ้นมาทำให้แบบจำลองสามมิติ มีความละเอียดและถูกต้องสูงขึ้น






เครื่อง pantograph อาศัยหลักการ ลอกลายตามเส้นชั้นความสูงของแผนที่ภูมิประเทศในด้านซ้ายมือ ส่วนด้านขวาเป็นหัวกรอก ปูนเพื่อสร้างภูมิประเทศจำลอง เทคนิคนี้ได้นำมาใช้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

หลังจากยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวอเมริกา ได้ใช้เทคนิค สร้างแบบจำลองภูมิประเทศ ที่เรียกว่า vacuumformed plastic sheets โดยการพิมพ์ภาพแผนที่ลงบนแผ่นพาสติก ทำให้ร้อนแล้วนำไปวางทาบกับ แผ่นปูนจำลองภูมิประเทศที่จัดทำโดยเครื่อง pantograph เทคนิคนี้ทำให้ได้แผนที่สามมิติที่เป็นแผ่นนูนสามมิติ ได้ด้วยความรวดเร็ว ตัวอย่างแผนที่ชนิดนี้ดังภาพด้านล่าง






ปัจจุบัน มีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในการสร้างแบบจำลองภูมิประเทศมากขึ้น เทคนิคที่ทันสมัยปัจจุบันเรียกว่า Dynamic terrain table คือการใช้อุปกรณ์เป็นแผ่นยางมีหมุดสำหรับพองลมให้เกิดแบบจำลองภูมิประเทศโดยเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ อาจจะงงนะครับมาดูภาพเพื่อความเข้าใจดีกว่า






ภาพDynamic terrain table จาก http://www.terrainmodels.com/computer.html

เหล่านี้ คงจะทำให้ท่านผู้สนใจได้มองเ ห็นภาพการพัฒนา ของแบบจำลองภูมิประเทศ หรือ ถ้าภาษาทางทหารเราจะเรียกว่า โต๊ะทราย ได้ไม่มากก็น้อย และคงจะเป็นการจุดประกายในการผลิตแผนที่ชนิดนี้ขึ้นมาบ้างนะครับ





ที่มา พ.อ.ศุภฤกษ์ ชัยชนะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น