14 กุมภาพันธ์ 2553

การใช้ประโยชน์จากระบบแผนที่บน OGC web services

ระบบ internet จะเป็นระบบที่มีการเจริญเติบโตมากที่สุด จากการเริ่มเป็นแค่เพียงระบบติดต่อในหมู่ชนในมหาวิทยาลัย จนปัจจุบันเป็นสิ่งที่จับต้องได้ในหมู่ชนทุกชั้นชน

จากการเริ่มเป็นระบบข้อความธรรมดามาสู่ระบบสื่อหลากหลาย(Multimedia) และก้าวไปสู่ความเป็น dynamic ในลักษณะของ web programming

ปัจจุบันมองไปว่า internet คงจะเป็นระบบที่จะต้องเป็นปัจจัยที่ 5 ของมนุษย์ แทนที่จะเป็นรถยนต์อย่างแน่นอน ตราบใดที่โลกของเรามีทรัพยากรธรรมชาติอันจำกัดเช่นนี้ คาดว่า อีกไม่เกิน 10 ปีต่อไปนี้ เราคงต้องทำงานผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย
การเปิดตัวของระบบ OWS หรือ OGC Web Services หรือการให้บริการข้อมูล spatial ผ่านทางระบบอินเตอร์เนท ทำให้ข้อมูลบน web มีตำแหน่งให้เห็นปรากฏบนโลกของเรา ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในรูปแบบของ Google Maps หรือ Google earth ในรูปแบบของการแสดงผลแบบสามมิติ หรือ OWS ของหน่วยงานทั้งภาครัฐหรือเอกชนในต่างประเทศ ส่งผลต่อการรับรู้ข้อมูลมีมิติที่กว้างขึ้นและรวดเร็ว ตลอดจนการเปิดเสรีให้ผู้ใช้สามารถพัฒนาความสามารถเพิ่มขึ้นทำให้การแสดงผลแผนที่บน web ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

มองไปในอนาคต ข้อมูลในลักษณะเป็น spatial data คงจะมีลักษณะเป็นแบบเปิดกว้าง คือเป็นลักษณะที่ไม่มีใครปิดกั้นได้ แต่จะอยู่ในรูปแบบ ที่ใครมีข้อมูลที่ทันสมัยและมีเทคโนโลยีมากกว่ากัน ถึงจะอยู่รอดได้

ปัจจุบันถ้า จะมีการพัฒนาใช้ประโยชน์จากระบบแผนที่บน OGC web services ในประเทศไทย ในความคิดของผมน่าจะเป็นเรื่องจราจร เพราะถ้ามีข้อมูลข่าวสารจราจร ในประเทศไทย ก็จะสามารถลดการสูญเสียในด้านพลังงาน อย่างที่มีการจัดทำข้อมูลจราจร ใน web ของต่างประเทศอย่าง http://www.google.com/apis/maps/documentation/examples/trafficOverlay.html แทนที่จะต้องมาฟัง จส.100 ซึ่งรายงานอย่างไร ก็ไม่ทั่วถึง

หรืออีกด้านหนึ่งคือระบบเตือนภัย แผ่นดินไหว น้ำท่วม ดินถล่ม น่าจะมีการแสดงออกทางแผนที่บน web และเป็นด้วยความรวดเร็ว อย่างที่มีการจัดทำข้อมูลแผ่นดินไหว ในโลกใน web ของต่างประเทศอย่าง http://earthquake.googlemashups.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น