หลักการที่ว่า คือ การนำสมการ ร่วมเส้น หรือ colinearlity มาใช้ นั่นคือ ถ้ามีการกำหนดจุดรังวัด บนภาพคู่ซ้าย ต้องหาให้ได้ว่าคือบริเวณจุดไหนของภาพคู่ขวา เปรียบเทียบก็คือ ถ้าเราวางจุดที่ภาพคู่ซ้ายเราจะได้พิกัดภาพถ่าย(xL,yL)ของภาพคู่ซ้าย ฉะนั้นถ้าเราหาได้ว่า พิกัดบริเวณเดียวกันของภาพคู่ขวา(xR,yR) มีค่าเป็นเท่าไร เราสามารถคำนวณย้อนเพื่อหา พิกัด X,Y,Z ของภูมิประเทศจริงได้นั่นเอง เพราะเราได้ทราบแล้วว่า ค่าพารามิเตอร์ของภาพคู่คือ จุดเปิดถ่ายและอาการเอียงของกล้องมีค่าเท่าใด (ดูรายละเอียดได้จาก Softcopy Photogrammetry หรือ Digital Photogrammetry#2)
อธิบายได้ทางแผนภาพดังนี้

ฉะนั้น ถ้า เราทราบพิกัดภาพถ่ายของภาพคู่ซ้าย เราจะได้สมการร่วมเส้น 2 สมการ(จุด PL ในภาพ) และในขณะเดียวกันถ้าเราทราบพิกัดภาพถ่ายของภาพคู่ขวาเราก็จะได้สมการร่วมเส้นอีก 2 สมการ (จุด PR ในภาพ) รวมกันเป็น 4 สมการ เมื่อมีตัวไม่ทราบค่า 3 ตัวคือ P(X,Y,Z) ก็สามารถแก้สมการเพื่อหาค่า P(X,Y,Z) ได้
แต่สิ่งสำคัญที่สุดในการสร้าง DEM อัตโนมัติ หรือ ATM หรือ Automatic DEM คือการหาว่า จุดพิกัดภาพถ่ายคู่ขวาเป็นเท่าไร ซึ่งในหลักการแล้วเราจะใช้หลักการที่เรียกว่า Image Matching ซึ่งมีวิธีการหลายอย่าง อย่างหนึ่งที่พอจะกล่าวในที่นี้ก็คือการใช้ค่า ค่าตัวเลขของจุดภาพหรือค่า DN รอบๆบริเวณที่สนใจ แล้วหาค่าความสัมพันธ์เพื่อหาจุดที่ตรงกับภาพคู่ซ้าย หลักการมีหลายอย่าง
หลักจากนี้แล้วเมื่อเราได้ค่า DEM แล้วก็คงจะต้องมีการแก้ไขโดยการตรวจสอบจากผู้ปฏิบัติงาน เมื่อได้ค่า DEM ที่ถูกต้องตามที่ต้องการแล้วก็นำค่า DEM มาทำการดัดแก้ภาพถ่ายในส่วนที่ซ้อนกันให้เป็นภาพ ortho เพื่อนำไปคัดลอกเพื่อจัดทำเป็น แผนที่ระบบตัวเลข หรือ ข้อมูล GIS
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น