ลักษณะของ Swiss Style Relief Shading ที่ทำให้แผนที่ relief shading แห่งภูมิประเทศเป็นเขาเป็นเงาขึ้นมีลักษณะดังนี้
1.บริเวณที่เป็นภูเขา จะมีความสว่างอีกด้านจะมีเงาดำอีกด้าน เพื่อแสดงแนวเขา
2.บริเ วณที่เป็นพื้นราบจะมี โทนสีสว่างแต่ บริเวณพื้นราบตามแนวเขา โทนจะออกกลางๆ ขาวกับดำ ทำให้มองเห็น ที่ราบตามแนวเขาได้ชัดเจน
3.บริเวณยอดสูงสุดของเขา จะมีความแตกต่าง(Contrast) สูงกว่าบริเวณที่ไม่ใช่ยอดเขา
หลักการนี้ ได้ถูกคิดค้นโดยศาสตราจารย์ Fridorin Becker (1854-1922) และผู้ที่ทำให้เกิดผลอย่างมากมายคือ Eduard lmhof (1895-1986) ลองมาดูตัวอย่างrelife shading map ซึ่งถูกจัดทำโดย Becker ปี 1889 ดูนะคะ

ภาพจาก http://www.reliefshading.com/history/pictures/becker_glarus.jpg
ลองดูภาพแล้ว ดูข้อกำหนด ในข้อ 1-3 จะเห็นได้ว่า เมื่อใช้ข้อกำหนดเหล่านั้น จะทำให้แผนที่เห็นทรวดทรงได้ดียิ่งขึ้น
สมัยนั้นเทคนิคการพิมพ์ยังใช้วิธีการที่เรียกว่า chromolithography ที่เป็นการพิมพ์สีได้ ทำให้การพิมพ์แผนที่ในลักษณะนี้ต้องมีความแม่นยำ มิฉะนั้นจะเกิดสีเหลื่อมขึ้นได้(ปัจจุบัน พัฒนาเป็นระบบพิมพ์แบบ Offset)
ปัจจุบันเทคนิคการทำ relief shading ก็พัฒนามาตามลำดับแต่ก็คงใช้หลักการของ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์นั่นเอง เทคนิึคปัจจุบันได้อาศัยโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ แล้วนำไปซ้อนกับแผนที่ ปรับการมองเห็นหรือ opaque ให้มองเห็นส่วนที่เป็นแสงเงา วิธีการที่น่าจะเป็นตัวอย่าง ได้ก็คือการใช้โปรแกรม photoshop มาปรับ วิธีการทำอย่างไร อ่านได้จาก http://www.shadedrelief.com/shading/Swiss.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น