21 กุมภาพันธ์ 2553

ระบบทำแผนที่ภาษี

ระบบแผนที่ภาษีแบ่งรูปแบบเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ
1. ส่วนของข้อมูลที่เป็น ตัวหนังสือ (data)
2. ส่วนของข้อมูลที่เป็น รูปภาพแผนที่ (drawing)

ขั้นตอนการทำงานของระบบ จะแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้
1. การบันทึกข้อมูลพื้นฐาน จากการสำรวจ ได้แก่ทะเบียนทรัพย์สินต่างๆ
2. การรับชำระภาษีต่างๆ
3. การออกรายงานการเก็บภาษีและการค้างชำระต่างๆ

ซึ่งผู้บริหารสามารถเรียกดูรายงานการเก็บภาษีต่างๆ หรือการค้างชำระภาษีต่างๆแยกตามประเภท หรือเขตได้

ระบบแผนที่ภาษี TMS
1. ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยใช้เทคโนโลยีใหม่
2. ทำแผนที่ภาษีที่มีความซับซ้อนสูงได้
3. เชื่อมต่อ หรือขยายระบบ เพื่อให้เป็นระบบใหญ่ที่จะมีต่อไปในอนาคต
4. เป็นระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้อย่างง่าย
5. เป็นระบบที่มีความปลอดภัยสูง ในการรักษาข้อมูลจากไวรัสคอมพิวเตอร์ และบุคคลทั่วไป

ความพิเศษของระบบแผนที่ภาษี TMS นี้
1. ระบบพัฒนาด้วยโปรแกรม JAVA ซึ่งเป็นโปรแกรมสมัยใหม่ ที่ได้รับการยอมรับถึงเรื่องศักยภาพ
และประสิทธิภาพในการทำงาน
2. รูปแบบของระบบ JAVA จะเป็นเป็นระบบที่มีแม่ข่าย (Server) ซึ่งทำงานบน Linux
3. ใช้ระบบการแสกนลายนิ้วมือ เก็บประวัติผู้ชำระภาษี เพื่อความถูกต้องและแม่นยำ
4. ใช้ระบบBarcode บนเอกสารที่แจ้งเรียกเก็บภาษี เพื่อการค้นหาได้ง่ายและรวดเร็ว
5. รองรับการเชื่อมต่อกับส่วนงานอื่นๆของ อบต. เช่น ส่วนงานโยธา

สรุปรายงานการเก็บภาษี ประกอบด้วย

1. ส่วนบริหารจัดการข้อมูลภาษีบำรุงท้องที่ อาทิ
1.1 ) บันทึกรายการผู้ที่มาชำระภาษีบำรุงท้องที่แล้ว จัดทำหนังสือแจ้ง ให้ผู้มีกรรมสิทธิ์
ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน เพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับปีแรกของการตีราคาปานกลางของที่ดิน
หรือ ของปีที่มีการตีราคาปานกลางใหม่
1.2 ) บันทึกการรับยื่นแบบ แสดงรายการที่ดิน เพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่
จัดทำใบรับการยื่นแบบ แสดงรายการที่ดิน เพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่ให้แก่ผู้มา ติดต่อชำระ
1.3 ) จัดพิมพ์รายงานต่างๆ เช่น
(1) รายงานผู้อยู่ในข่ายที่ต้องชำระภาษีบำรุงท้องที่แยกตามตัวอักษร และยอดรวมทั้งหมด
(2) รายงานแสดงยอดภาษีที่เก็บได้แล้ว ในปีงบประมาณเปรียบเทียบ
กับยอดภาษีที่ตั้งไว้แยกตามตัวอักษร และยอดรวมทั้งหมด
(3) รายงานแสดงยอดภาษีที่เก็บได้ ในปีงบประมาณเปรียบเทียบกับยอดภาษีบำรุงท้องที่
ที่เก็บได้ในปีก่อนๆ


2. ส่วนบริหารจัดการข้อมูลภาษีโรงเรือนและที่ดิน อาทิ
2.1 ) บันทึกรายการผู้มาชำระภาษีโรงเรือน และที่ดินแล้ว จัดพิมพ์ใบรับเช็ค กรณีรับชำระค่าภาษีเป็นเช็ค
2.2 ) จัดทำหนังสือแจ้งให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีทราบ เพื่อยื่นแบบแสดงรายการ ทรัพย์สิน
(1) จัดทำทะเบียนการเตือนผู้ค้างชำระภาษีโรงเรือน และที่ดินแยกตามตัวอักษร
(2) จัดทำจดหมายแจ้งให้มายื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือน และ ที่ดิน
(3) จัดทำจดหมายเรียกผู้ค้างชำระภาษีโรงเรือน และที่ดินโดยแสดงจำนวนเงิน ค่าภาษีที่ค้างชำระ
และเงินเพิ่มจัดพิมพ์ซองจดหมาย
2.3 ) จัดพิมพ์รายงานต่างๆ เช่น
(1) รายงานผู้ที่ไม่มายื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือน และที่ดิน แยกตามตัวอักษร
และยอดรวมทั้งหมด
(2) รายงานผู้ค้างชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน แยกตามตัวอักษร และยอดรวม ทั้งหมด
(3) รายงานแสดงยอดภาษีที่เก็บได้แล้วในปีงบประมาณ เปรียบเทียบกับยอด ภาษีที่ตั้งไว้
แยกตามตัวอักษร และยอดรวมทั้งหมด


3. ส่วนบริหารจัดการข้อมูลภาษีป้าย อาทิ
3.1 ) รายงานผู้อยู่ในข่ายที่ต้องชำระภาษีป้ายแยกตามตัวอักษร และยอดรวม ทั้งหมด
(1) จัดทำหนังสือแจ้งให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีทราบ เพื่อยื่นแบบแสดงรายการ ภาษีป้าย
- บันทึกการรับยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1)
(2) จัดทำใบรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายให้ผู้มาติดต่อยื่นแบบ
- หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินภาษีป้าย โดยสามารถเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข
การคำนวณภาษี และอัตราเงินเพิ่มได้
(3) จัดทำหนังสือแจ้งการประเมิน (ภ.ป.3)
- บันทึกการแจ้งการประเมินเพื่อเสียภาษีป้าย โดยใช้ใบตอบรับทางไปรษณีย์ (ใบเหลือง)
(4) จัดพิมพ์ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีป้าย
- จัดพิมพ์รายงานต่างๆ เช่น
1) รายงานผู้ที่ไม่มายื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย แยกตามตัวอักษร และยอด รวมทั้งหมด
2) รายงานผู้ค้างชำระภาษีป้าย แยกตามตัวอักษร และยอดรวมทั้งหมด
3) จัดทำทะเบียนการเตือนผู้ค้างชำระภาษีป้าย แยกตามตัวอักษร
4) รายงานแสดงยอดภาษีที่เก็บได้แล้วในปีงบประมาณเปรียบเทียบกับยอด ภาษีที่ตั้งไว้
แยกตามตัวอักษร และยอดรวมทั้งหมด


4. ส่วนบริหารจัดการข้อมูลค่าธรรมเนียมเก็บขนขยะมูลฝอย อาทิ
4.1 ) รายงานจำนวนบ้าน, ห้างร้าน และบริษัท ซึ่งจะต้องชำระค่าธรรมเนียมเก็บ
4.2 ) การกำหนดอัตราที่ใช้จัดเก็บค่าธรรมเนียมเก็บขนขยะมูลฝอยสำหรับแต่ละ บ้าน, ห้างร้าน
และบริษัทโดยสามารถเปลี่ยนแปลงอัตราในการจัดเก็บได้
(1) จัดทำใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมเก็บขนขยะมูลฝอย
4.3 ) บันทึกการรับชำระค่าธรรมเนียมเก็บขนขยะมูลฝอยในแต่ละเดือน จัดทำจดหมาย แจ้งเจ้าของบ้าน,
ห้างร้าน และบริษัทที่ค้างชำระค่า ธรรมเนียมเก็บขนขยะมูลฝอยในแต่ละเดือน
4.4 ) จัดพิมพ์รายงานต่างๆ เช่น
(1) รายงานแสดงจำนวนเงิน และจำนวนบ้าน, ห้างร้าน และบริษัทที่ทำการจัด
เก็บค่าธรรมเนียมเก็บขนขยะมูลฝอยได้ในแต่ละเดือน
(2) รายงานแสดงจำนวนบ้าน, ห้างร้าน และบริษัทที่ยังไม่มีการชำระค่า
ธรรมเนียมเก็บขนขยะมูลฝอยในแต่ละเดือน
(3) รายงานแสดงยอดค่าธรรมเนียมเก็บขนขยะมูลฝอยที่จัดเก็บรายได้ในแต่ละเดือน
เปรียบเทียบกับยอดที่ตั้งไว้


5. ส่วนบริหารจัดการข้อมูลทะเบียนทรัพย์สิน อาทิ
5.1 ) ทะเบียนทรัพย์สิน (ผ.ท.4)
5.2 ) ทะเบียนคุมผู้ชำระภาษี (ผ.ท.5)
5.3 ) บัญชีคุม
(1) ทะเบียนทรัพย์สินและบัญชีคุมผู้ชำระภาษี (ผ.ท.6)
(2) แปลงที่ดิน และประมาณการชำระภาษี (ผ.ท.17)
5.4 ) การค้นหาข้อมูลการประกอบกิจการค้าประเภทต่างๆ
(1)พร้อมการจัดพิมพ์ใบอนุญาตต่างๆ ตามแบบฟอร์ม
(2) รวมทั้งใบเสร็จรับเงิน, การส่งเงินตามใบ ส่งเงิน
5.5 ) จัดพิมพ์รายงานต่างๆ เช่น
1) รายงานแสดงทะเบียนทรัพย์สิน (ผ.ท.4)
2) รายงานแสดงทะเบียนคุมผู้ชำระภาษี (ผ.ท.5)
3) รายงานบัญชีคุมทะเบียนทรัพย์สินและบัญชีคุมผู้ชำระภาษี (ผ.ท.6)
4) รายงานบัญชีคุมแปลงที่ดิน และประมาณการชำระภาษี (ผ.ท.17)
5) รายงานการปรับข้อมูลประจำเดือน (แบบ 1 )
6) รายงานการปรับข้อมูลแผนที่ภาษี และทะเบียนทรัพย์สิน (แบบ 2)
7) รายงานสืบค้นข้อมูล
- ตำแหน่งที่ตั้งป้ายโฆษณาขนาดใหญ่
- จำนวนบริษัท ขนาดพื้นที่ของแต่ละบริษัท
- จำนวนคอนโด แยกแต่ละคอนโดมีกี่ห้อง ที่ตั้งของคอนโด
- จำนวนหอพัก แยกตามหมู่ ถนน ตำบล จำนวนห้องในหอพัก
- จำนวนหมู่บ้าน พร้อมชื่อหมู่บ้าน และที่ตั้ง ระบุบ้านเลขที่
- จำนวนโรงเรือน ของแต่ละหมู่บ้าน
- ห้างสรรพสินค้า
- โรงภาพยนตร์
- สถานพยาบาลของเอกชน
- มูลนิธิ สถานที่ตั้ง ถนน ตำบล
- วัดสถานที่ตั้ง สถานที่เก็บกิน เช่น ชุมชนต่างๆ ที่วัดให้เช่าที่
- ธนาคาร แยกตามชื่อธนาคาร ที่ตั้ง ถนน ตำบล
- สมาคม สถานที่ตั้ง ถนน ตำบล
- โรงงาน แยกตามประเภทโรงงาน หมู่ ถนน ตำบล
- สถานบริการน้ำมัน แยกตามถนน ตำบล
- สถานที่หน่วยงานราชการ แยกตามถนน ตำบล



http://www.inthai.info/tms.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น